ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ก-แก้มลิง"
(สร้างหน้าใหม่: <div id="bg_g2t"> </div> <div id="bg_g2"> <h3>'''พระราชดำริ “แก้มลิง”'''</h3> ---- {{ดูเพิ่...) |
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
(ไม่แสดง 2 รุ่นระหว่างกลางโดยผู้ใช้คนเดียวกัน) | |||
บรรทัดที่ 1: | บรรทัดที่ 1: | ||
<div id="bg_g2t"> </div> | <div id="bg_g2t"> </div> | ||
<div id="bg_g2"> | <div id="bg_g2"> | ||
<h3>''' | <h3>'''แนวพระราชดำริ “แก้มลิง”'''</h3> | ||
<div style="color:white">แนวพระราชดำริแก้มลิง เป็นแนวทางบรรเทาปัญหาน้ำท่วมโดยจัดหาพื้นที่รองรับและกักเก็บน้ำในช่วงฝนตกมีน้ำมาก และระบายออกในช่วงที่น้ำลดลง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงนำลักษณะการเก็บอาหารของลิง เมื่อส่งกล้วยให้จะนำใส่ปากเคี้ยว และเก็บไว้ที่กระพุ้งแก้ม ก่อนนำออกมากลืนกินภายหลัง แนวพระราชดำรินี้เกิดขึ้นในช่วงกรุงเทพมหานครเผชิญปัญหาน้ำท่วมเมื่อพุทธศักราช ๒๕๓๘ | |||
</div> | |||
[[file:แก้มลิง1.png|center]] | |||
<div class="kindent">กรุงเทพมหานครประสบปัญหาน้ำท่วมใหญ่เมื่อพุทธศักราช ๒๕๓๘ และเกิดขึ้นต่อเนื่องในช่วงระหว่างพุทธศักราช ๒๕๑๘-๒๕๒๖ ครั้งหลังสุดนี้มีน้ำท่วมขังยาวนาน ๔ เดือน โดยเฉพาะฝั่งตะวันออกของเมือง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงติดตามความเดือดร้อนของราษฎรจากข่าวสารและข้าราชบริพาร ทรงคิดค้นวิธีบรรเทาปัญหาหลายรูปแบบ เช่น เร่งระบายน้ำ ทำคันกั้นและเมื่อพุทธศักราช ๒๕๓๘ ได้มีแนวพระราชดำริเกี่ยวกับการจัดหาแหล่งกักเก็บน้ำในลักษณะที่ทรงเรียกว่า '''แก้มลิง''' พร้อมทรงอธิบายว่าเมื่อส่งกล้วยให้ ลิงจะรับแล้วปอกเปลือกส่งเข้าปากเคี้ยวเก็บไว้ที่กระพุ้งแก้ม จนกล้วยหมดหวีหรือเต็มกระพุ้งแก้มจึงค่อยๆ นำออกมาเคี้ยวและกลืนกินภายหลัง ทรงเปรียบเทียบกับการหาพื้นที่เก็บน้ำในช่วงน้ำมาก ทรงวาดรูปประกอบและกำหนดสถานที่ลงในแผนที่ เพื่อกรุงเทพมหานครได้พิจารณาร่วมกับหน่วยงานเกี่ยวข้องอื่นๆ หาแหล่งกักเก็บน้ำ มีพระราชปรารภว่าแก้มลิงหรือแหล่งกักเก็บน้ำตามธรรมชาติลดลงเพราะการปลูกสร้างอาคารเพิ่มขึ้น บางแห่งสร้างขวางทางน้ำ ทำให้ระบายออกได้ลำบาก จึงเกิดน้ำท่วมขัง บางครั้งเครื่องสูบน้ำที่ราชการมีอยู่ไม่สามารถสูบน้ำได้ทัน การเตรียมแก้มลิงหรือคลองขุดและบ่อพัก เพื่อชักน้ำมารวมไว้ช่วยลดปริมาณน้ำท่วมชุมชนที่พักอาศัยและย่านการค้า เมื่อระดับน้ำท่วมลดลงจึงระบายน้ำลงทะเล นอกจากนี้ แก้มลิงยังสามารถทำหน้าที่เป็นบึงพักน้ำและบำบัดน้ำเสียก่อนผันสู่ทางระบายน้ำสาธารณะ | |||
แก้มลิงหรือแหล่งพักน้ำแบ่งเป็น ๓ ขนาดได้แก่ | |||
๑. '''แก้มลิงขนาดใหญ่''' คือ สระน้ำหรือบึงขนาดใหญ่ อ่างเก็บน้ำหรือฝาย เช่น โครงการแก้มลิงคลองมหาชัย-สนามชัย ส่วนที่อยู่ในความดูแลของกรุงเทพมหานคร กักเก็บน้ำ ๖,๐๐๐,๐๐๐ ลูกบาศก์เมตร บรรเทาปัญหาน้ำท่วมและน้ำเน่าเสียที่ฝั่งธนบุรีและปริมณฑล และบึงหนองบอนกักเก็บน้ำได้ ๕,๐๐๐,๐๐๐ ลูกบาศก์เมตร ช่วยบรรเทาปัญหาน้ำท่วมเขตพระโขนงและเขตประเวศ | |||
๒. '''แก้มลิงขนาดกลาง''' ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ธรรมชาติ เช่น หนอง บึง คลอง เช่น บึงกุ่ม กักเก็บน้ำได้ ๑๔๘,๐๐๐ ลูกบาศก์เมตร บรรเทาปัญหาน้ำท่วมบริเวณหมู่บ้านเสรีนครพัฒนา หมู่บ้านทวีสุข เขตบึงกุ่ม และบึงสนามกอล์ฟรถไฟ กักเก็บน้ำได้ ๑๐๗,๐๐๐ ลูกบาศก์เมตร บรรเทาปัญหาน้ำท่วมเขตบางซื่อ | |||
๓. '''แก้มลิงขนาดเล็ก''' คือ พื้นที่สาธารณะ เช่น สนามเด็กเล่น ลานจอดรถ หรือสนามในบ้าน ซึ่งเชื่อมต่อกับระบบระบายน้ำหรือคลอง ได้แก่ บึงข้างโรงพยาบาลบุรฉัตรไชยากร (โรงพยาบาลรถไฟมักกะสัน) กักเก็บน้ำได้ ๑๒,๘๐๐ ลูกบาศก์เมตร ช่วยบรรเทาปัญหาน้ำท่วมเขตราชเทวี และบึงพระราม ๙ กักเก็บน้ำได้ ๑๐,๘๗๕ ลูกบาศก์เมตร บรรเทาปัญหาน้ำท่วมถนนพระราม ๙ | |||
โครงการแก้มลิงที่สำคัญในเขตกรุงเทพมหานคร ได้แก่ | |||
๑. '''โครงการแก้มลิงฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา''' รับน้ำในพื้นที่ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำตั้งแต่จังหวัดสระบุรี พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี นนทบุรี และกรุงเทพมหานคร ใช้คลองชายทะเลด้านจังหวัดสมุทรปราการ เป็นบ่อพักน้ำหรือรับน้ำเข้าร่วมกับหนองบึงหรือพื้นที่ว่างเปล่าอื่นๆ | |||
[[file:แก้มลิง2.png|left]] ๒. '''โครงการแก้มลิงฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา''' รับน้ำในพื้นที่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำ ตั้งแต่จังหวัดอ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี นครปฐม กรุงเทพมหานคร และจังหวัดสมุทรสาคร ไปลงคลองมหาชัย-สนามชัย และแม่น้ำท่าจีน เพื่อระบายออกสู่ทะเลด้านจังหวัดสมุทรสาคร | |||
นอกจากนี้ ยังมีโครงการแก้มลิงนอกเขตกรุงเทพมหานครที่ทำงานเอื้อประโยชน์กับในเขตกรุงเทพมหานครได้แก่ | |||
๑. '''โครงการแก้มลิงแม่น้ำท่าจีนตอนล่าง''' | |||
๒. '''โครงการแก้มลิงคลองมหาชัย-สนามชัย''' | |||
๓. '''โครงการแก้มลิงคลองสุนัขหอน''' | |||
ปัจจุบันในกรุงเทพมหานครมีบึงรับน้ำในลักษณะแก้มลิง ๒๑ แห่ง บางแห่งอยู่ในความดูแลของกรุงเทพมหานคร บางแห่งอยู่ในความดูแลของหน่วยงานราชการอื่นๆ หรือเอกชน ในภูมิภาคมีโครงการบรรเทาอุทกภัยตามพระราชดำริ (แก้มลิงหนองใหญ่) จังหวัดชุมพร และโครงการบรรเทาอุทกภัยพื้นที่ลุ่มน้ำคลองอู่ตะเภา อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา เป็นต้น | |||
</div> | |||
[[file:180253-16.jpg|center]] | |||
---- | ---- | ||
{{ดูเพิ่มเติม}} | {{ดูเพิ่มเติม|[[การแก้ไขปัญหาน้ำท่วม]]}} | ||
บรรทัดที่ 19: | บรรทัดที่ 47: | ||
[[หมวดหมู่:แนวพระราชดำริ]] | [[หมวดหมู่:ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม]][[หมวดหมู่:แนวพระราชดำริ]][[หมวดหมู่:การจัดการทรัพยากรน้ำ]] |
รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 04:39, 1 ตุลาคม 2561
แนวพระราชดำริ “แก้มลิง”
แก้มลิงหรือแหล่งพักน้ำแบ่งเป็น ๓ ขนาดได้แก่
๑. แก้มลิงขนาดใหญ่ คือ สระน้ำหรือบึงขนาดใหญ่ อ่างเก็บน้ำหรือฝาย เช่น โครงการแก้มลิงคลองมหาชัย-สนามชัย ส่วนที่อยู่ในความดูแลของกรุงเทพมหานคร กักเก็บน้ำ ๖,๐๐๐,๐๐๐ ลูกบาศก์เมตร บรรเทาปัญหาน้ำท่วมและน้ำเน่าเสียที่ฝั่งธนบุรีและปริมณฑล และบึงหนองบอนกักเก็บน้ำได้ ๕,๐๐๐,๐๐๐ ลูกบาศก์เมตร ช่วยบรรเทาปัญหาน้ำท่วมเขตพระโขนงและเขตประเวศ
๒. แก้มลิงขนาดกลาง ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ธรรมชาติ เช่น หนอง บึง คลอง เช่น บึงกุ่ม กักเก็บน้ำได้ ๑๔๘,๐๐๐ ลูกบาศก์เมตร บรรเทาปัญหาน้ำท่วมบริเวณหมู่บ้านเสรีนครพัฒนา หมู่บ้านทวีสุข เขตบึงกุ่ม และบึงสนามกอล์ฟรถไฟ กักเก็บน้ำได้ ๑๐๗,๐๐๐ ลูกบาศก์เมตร บรรเทาปัญหาน้ำท่วมเขตบางซื่อ
๓. แก้มลิงขนาดเล็ก คือ พื้นที่สาธารณะ เช่น สนามเด็กเล่น ลานจอดรถ หรือสนามในบ้าน ซึ่งเชื่อมต่อกับระบบระบายน้ำหรือคลอง ได้แก่ บึงข้างโรงพยาบาลบุรฉัตรไชยากร (โรงพยาบาลรถไฟมักกะสัน) กักเก็บน้ำได้ ๑๒,๘๐๐ ลูกบาศก์เมตร ช่วยบรรเทาปัญหาน้ำท่วมเขตราชเทวี และบึงพระราม ๙ กักเก็บน้ำได้ ๑๐,๘๗๕ ลูกบาศก์เมตร บรรเทาปัญหาน้ำท่วมถนนพระราม ๙
โครงการแก้มลิงที่สำคัญในเขตกรุงเทพมหานคร ได้แก่
๑. โครงการแก้มลิงฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา รับน้ำในพื้นที่ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำตั้งแต่จังหวัดสระบุรี พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี นนทบุรี และกรุงเทพมหานคร ใช้คลองชายทะเลด้านจังหวัดสมุทรปราการ เป็นบ่อพักน้ำหรือรับน้ำเข้าร่วมกับหนองบึงหรือพื้นที่ว่างเปล่าอื่นๆ
๒. โครงการแก้มลิงฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา รับน้ำในพื้นที่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำ ตั้งแต่จังหวัดอ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี นครปฐม กรุงเทพมหานคร และจังหวัดสมุทรสาคร ไปลงคลองมหาชัย-สนามชัย และแม่น้ำท่าจีน เพื่อระบายออกสู่ทะเลด้านจังหวัดสมุทรสาครนอกจากนี้ ยังมีโครงการแก้มลิงนอกเขตกรุงเทพมหานครที่ทำงานเอื้อประโยชน์กับในเขตกรุงเทพมหานครได้แก่
๑. โครงการแก้มลิงแม่น้ำท่าจีนตอนล่าง
๒. โครงการแก้มลิงคลองมหาชัย-สนามชัย
๓. โครงการแก้มลิงคลองสุนัขหอน
ปัจจุบันในกรุงเทพมหานครมีบึงรับน้ำในลักษณะแก้มลิง ๒๑ แห่ง บางแห่งอยู่ในความดูแลของกรุงเทพมหานคร บางแห่งอยู่ในความดูแลของหน่วยงานราชการอื่นๆ หรือเอกชน ในภูมิภาคมีโครงการบรรเทาอุทกภัยตามพระราชดำริ (แก้มลิงหนองใหญ่) จังหวัดชุมพร และโครงการบรรเทาอุทกภัยพื้นที่ลุ่มน้ำคลองอู่ตะเภา อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา เป็นต้น
ดูเพิ่มเติม | การแก้ไขปัญหาน้ำท่วม |
---|