ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การจัดหมวดหมู่"

จาก WIKI84
(New page: การจัดหมวดหมู่เนื้อหาบทความเป็นฟังก์ชันหนึ่งที่โดดเด่นในการใช้...)
 
ไม่มีความย่อการแก้ไข
 
(ไม่แสดง 1 รุ่นระหว่างกลางโดยผู้ใช้คนเดียวกัน)
บรรทัดที่ 37: บรรทัดที่ 37:


----
----
{{หมวดหมู่:คู่มือการใช้งาน}}
[[คู่มือการใช้งาน|กลับไปหน้าคู่มือการใช้งาน]]
 
[[หมวดหมู่:คู่มือการใช้งาน]]

รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 04:11, 27 กุมภาพันธ์ 2551

การจัดหมวดหมู่เนื้อหาบทความเป็นฟังก์ชันหนึ่งที่โดดเด่นในการใช้งานซอฟต์แวร์วิกิมีเดีย ซึ่งจะช่วยให้สามารถจัดการกลุ่มเนื้อหาจำนวนมากที่มีความสัมพันธ์ ทำให้ง่ายต่อการค้นหา หรือการศึกษาเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนั้นๆ เนื้อหาของการจัดหมวดหมู่ในวิกิพีเดียมีดังนี้


การจัดหมวดหมู่คืออะไร

การจัดหมวดหมู่ในวิกิพีเดียหมายความว่า การจัดกลุ่มบทความที่มีเนื้อหาสัมพันธ์กันอยู่ภายใต้กลุ่มเดียวกัน เพื่อง่ายต่อการค้นหาข้อมูลและดูเนื้อหาเรื่องที่เกี่ยวข้อง การจัดหมวดหมู่ในวิกิพีเดียสามารถทำได้โดยการใช้คำสั่งเพื่อระบุหมวดหมู่ของบทความนั้นๆ บทความที่มีการระบุหมวดหมู่จะไปอยู่รวมกันภายใต้เนื้อหาหัวข้อที่สัมพันธ์กัน โดยในหน้าหมวดหมู่นั้นๆ จะมีการจัดเรียงหัวข้อบทความตามรายชื่อตามตัวอักษรโดยอัตโนมัติ

การสร้างหมวดหมู่

ก่อนการสร้างหมวดหมู่ ควรพิจารณาความเหมาะสมที่เนื้อหาและความสัมพันธ์กันในเนื้อหา รวมถึงการตั้งชื่อหมวดหมู่ ในแต่ละบทความควรจะมีกลุ่มหมวดหมู่เนื้อหา และในแต่ละบทความอาจจะอยู่ได้ในหลายหมวดหมู่ เช่น บทความเรื่อง "นก" อาจจะอยู่ในหมวดหมู่ "สัตว์" และหมวดหมู่ย่อยของสัตว์อีก เป็น "สัตว์ปีก" เป็นต้น การเริ่มสร้างหมวดหมู่อาจจะเริ่มสร้างชื่อหมวดหมู่ไว้ที่หน้าหมวดหมู่เพื่อจะได้วางแผนจัดการเนื้อหาก่อน หรือจะใส่ชื่อหมวดหมู่ที่หน้าบทความนั้นๆ ซึ่งส่วนใหญ่จะนิยมสร้างไว้ท้ายบทความ การสร้างชื่อหมวดหมู่ใช้คำสั่งดังนี้


  • พิมพ์ชื่อหมวดหมู่ที่ต้องการหลัง category:
[[category:ชื่อหมวดหมู่]]
  • หรือพิมพ์ชื่อหมวดหมู่ที่ต้องการหลัง หมวดหมู่:
[[หมวดหมู่:ชื่อหมวดหมู่]]


การสร้างหมวดหมู่ย่อย

การสร้างหมวดหมู่ย่อยทำเช่นเดียวกับการสร้างหมวดหมู่บทความ แต่จะต้องกำหนดหมวดหมู่หลักก่อน เช่น ในบทความเรื่อง "นก" ก็จะสร้างชื่อหมวดหมู่ไว้สองชื่อที่บทความคือ [[หมวดหมู่:สัตว์]] และ [[หมวดหมู่:สัตว์ปีก]]

การตั้งชื่อหมวดหมู่

การตั้งชื่อบทความในวิกิพีเดียไทยก็จะมีแนวปฏิบัติคือตั้งตามนโยบายการตั้งชื่อบทความ หลักการหลักๆ เช่น ตั้งชื่อเป็นภาษาไทย และชื่อควรเป็นคำนามไม่เป็นคำกริยา เช่น รัก ควรเป็น ความรัก เป็นต้น

การจัดเรียงหัวข้อในหมวดหมู่

โดยปกติบทความที่มีการระบุหมวดหมู่ จะจัดลำดับหัวข้อตามลำดับพยัญชนะภายใต้หมวดหมู่นั้นๆ โดยอัตโนมัติ แต่ในบางกรณีเราอาจจะต้องกำหนดด้วยคำสั่งเป็นกรณีพิเศษหากต้องการให้หัวข้อบทความนั้นๆ อยู่ในส่วนที่เรากำหนด ตัวอย่างเช่น ภาษาอังกฤษ ภาษาพม่า หากไม่ได้กำหนดคำสั่งพิเศษ ก็จะถูกจำแนกให้อยู่ในหมวดอักษร ภ ตามพยัญชนะที่ขึ้นต้นคำ หากเราต้องการให้จัดอยู่ในหมวดหมู่ตามพยํญชนะที่ขึ้นต้นชื่อภาษาจะต้องคั่นด้วยเครื่องหมาย | แล้วตามด้วยชื่อภาษา บทความนั้นก็จะถูกจัดเข้าในหมวดหมู่พยัญชนะที่ต้องการ ตัวอย่างเช่น

[[หมวดหมู่:ภาษาอังกฤษ|อังกฤษ]] และ [[หมวดหมู่:ภาษาพม่า|พม่า]]

จากตัวอย่างคำสั่งนี้ ภาษาอังกฤษ และพม่า ก็จะอยู่ในกลุ่มอักษร อ และอักษร พ โดยอัตโนมัติ
ในภาษาไทย เนื่องจากโปรแกรมมีเดียวิกิย ังไม่รองรับการเรียงลำดับภาษาไทยอย่างเต็มที่ สระที่วางไว้หน้าตัวอักษร ได้แก่ สระ เ แ โ ไ ใ จะมีปัญหาในการจัดเรียง ซึ่ง ดังนั้นเมื่อชื่อบทความไหนขึ้นต้นด้วยสระดังกล่าวก็จะถูกจัดไว้ในหมวดหมู่สระเหล่านั้น วิธีที่ใช้แก้ปัญหาในตอนนี้ก็คือหลังชื่อบทความจะคั่นด้วยเครื่องหมาย | เช่นเดียวกัน แล้วตามด้วยพยัญชนะตัวแรกของชื่อและตามด้วยชื่อ ตัวอย่างเช่น

[[ประเทศไทย|ทไทย]]

เมื่อใช้คำสั่งดังกล่าวประเทศไทยก็จะถูกจัดไว้ในหมวด "ท"



กลับไปหน้าคู่มือการใช้งาน