ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การศึกษา"

จาก WIKI84
(Wikipedia python library)
 
ไม่มีความย่อการแก้ไข
 
(ไม่แสดง 49 รุ่นระหว่างกลางโดยผู้ใช้คนเดียวกัน)
บรรทัดที่ 1: บรรทัดที่ 1:
<div id="bg_g3t">&nbsp;</div>
<div id="bg_g3">
__NOTOC__
<div align="center">พระเจ้าอยู่หัวกับการพัฒนาการศึกษาของไทย


[[Category: สังคม]]
[[ภาพ:การศึกษา.jpg|center]]
</div>
 
=='''พุทธศักราช ๒๔๙๕ ทรงตั้งทุนภูมิพล : การศึกษาเป็นเครื่องกำหนดอนาคตของชาติ'''==
 
<div style="width:100%; display:table">
 
[[ภาพ:ทุนภูมิพล.jpg|200px|left]]
พระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูหัวด้านการศึกษาในระดับอุดมศึกษามีเป็นอเนกประการ ดังในปี พ.ศ.๒๔๙๕ โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งทุนภูมิพล เพื่อพระราชทานทุนแก่นิสิต นักศึกษาที่เรียนดีแต่ขาดแคลนทรัพย์
 
<span class="kgreen">"...ประเทศชาติของเราจะเจริญหรือเสื่อมลงนั้น ย่อมขึ้นอยู่กับการศึกษาของประชาชนแต่ละคนเป็นสำคัญ... ผลการศึกษาอบรมในวันนี้จะเป็นเครื่องกำหนดอนาคตของชาติในวันข้างหน้า"</span>
</div>
 
 
 
=='''พุทธศักราช ๒๕๐๘ : ส่งเสริมการศึกษาต่อต่างประเทศ'''**==
 
<div style="width:100%; display:table">
<div style="float:left">
[[ภาพ:ทุนเล่าเรียนหลวง.jpg]]</div><div style="float:left; padding-left:10px">
ทรงฟื้นฟูทุนเล่าเรียนหลวง (King's Scholarship) ที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานให้แก่<br />นักเรียนที่เรียนดีไปศึกษาต่อต่างประเทศ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๔๐ เป็นต้นมา<br />และได้ยุติไปเมื่อ พ.ศ.๒๔๗๖ ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง</div>
</div>
 
 
 
=='''พุทธศักราช ๒๕๐๙'''==
<div style="display:table; width:100%">
[[ภาพ:หน้าปกไทม์.jpg|left]] นิตยสาร TIME อันเชิญพระบรมฉายาลักษณ์ลงพิมพ์บนหน้าปก
</div>
 
<div style="display:table; width:100%">
=='''พุทธศักราช ๒๕๑๘ "โครงการพระดาบส" ''' ==
[[ภาพ:พระดาบส.jpg|left]]มิใช่เพียงการศึกษาในระบบโรงเรียนเท่านั้น ราษฎรที่ไม่ได้รับการศึกษาในโรงเรียนพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงให้การสนับสนุนในลักษณะการจัดการศึกษานอกระบบด้วย โดยทรงริเริ่มโครงการพระดาบสขึ้น เมื่อ ปี ๒๕๑๘ โดยใช้วิธีการประสิทธิ์ประสาทวิชาแบบลูกศิษย์ของพระดาบส กล่าวคือ ผู้เรียนจะต้องเป็นผู้ที่มีความตั้งใจศรัทธาอย่างแท้จริง ดังนั้น หากนำเอาวิธีการประสิทธิ์ประสาทวิชาการของพระดาบสมาประยุกต์ใช้ โดยจัดเป็นรูปการศึกษานอกระบบ นอกจากจะช่วยให้ผู้มาฝากตัวเป็นลูกศิษย์ได้รับความรู้สำหรับนำไปประกอบอาชีพในโอกาสต่อไปแล้ว ยังช่วยให้ผู้นั้นเป็นผู้ที่มีศีลธรรมจรรยา มีน้ำใจซึ่งจะส่งผลช่วยในการแก้ปัญหาสังคมส่วนรวมได้ผลยิ่งขึ้น เป็นที่น่ายินดีที่โรงเรียนผู้ใหญ่พระดาบส ได้รับความสนใจเพิ่มมากขึ้นเป็นลำดับ จากข้อมูลในรายงานประจำปี ๒๕๔๗ ระบุว่า เมื่อปีการศึกษา ๒๕๔๒ มีผู้เข้ารับการศึกษาเพียง ๔๐ คน แต่ในปีการศึกษา ๒๕๔๗ มีผู้เข้ารับการศึกษาเพิ่มขึ้นเป็น ๑๓๕ คน
</div>
 
<div style="display:table">
=='''โครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนโดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว''' ==
[[ภาพ:สารานุกรม.jpg|left]]
 
เป็นอีกโครงการหนึ่งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชประสงค์ให้ใช้หนังสือสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน เป็นตำราประกอบการเรียนการสอนในวิทยาการสาขาต่างๆ ของการศึกษาทั้งในระบบ นอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ด้วยทรงตระหนักว่าเด็กเป็นปัจจัยที่สำคัญ ดังพระราชดำรัสที่ได้พระราชทานไว้ เมื่อวันที่ ๒๕ กันยายน ๒๕๑๒ ความตอนหนึ่งว่า
<div style="color:darkgreen">"... คือ ให้เด็กเข้าใจและผู้ใหญ่เข้าใจว่า หลักวิชาการทุกสาขานั้นร่วมกัน อันนี้ก็เป็นหลักที่จะสร้างความสามัคคีและ สร้างพลังแก่ประเทศชาติ สร้างพลังแก่มวลมนุษย์ ...ในสารานุกรมจะเห็นว่าหลักวิชาเช่นว่าเศรษฐกิจกับวิทยาศาสตร์นี่เป็นวิชาที่ใหม่หรือว่าอะไร แต่ว่ามันรวมกันอย่างใกล้ชิดที่สุดเพราะสถิติ เพราะอะไรพวกนี้ก็ต้องใช้วิทยาศาสตร์ ใช้คำนวณ ใช้คอมพิวเตอร์ ใช้ประกอบกัน ...ต้องใช้ในด้านประวัติศาสตร์ ต้องใช้ในด้านภาษาศาสตร์ ใช้ด้านภูมิศาสตร์ ทุกสิ่งทุกอย่างมันรวมกันหมดในเรื่องนี้ สารานุกรมนี้จุดประสงค์อันแรกอันสำคัญที่สุดก็คือ ให้ผู้ที่ใช้สารานุกรมนี้เกิดความรู้สึกว่า โลกนี้มันเป้นอันหนึ่งอันเดียวกัน..."</div>
</div>
<div style="display:table; clear:both">
=='''พุทธศักราช ๒๕๓๘ โครงการศึกษาสายสามัญด้วยระบบทางไกลผ่านดาวเทียม'''==
[[ภาพ:ดาวเทียม.jpg|left]]ในพัฒนาการด้านการศึกษานั้นปัญหาสำคัญประการหนึ่งคือ การขาดแคลนครูอาจารย์ที่สอนในระดับมัธยมศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ โรงเรียนราชประชานุเคราะห์และโรงเรียนที่อยู่บริเวณชายแดน ก่อให้เกิดอุปสรรคต่อการเรียนการสอนอย่างมาก ดังนั้น จากการประสานงานของนายแก้วขวัญ วัชโรทัย รองเลขาธิการพระราชวังฝ่ายกิจกรรมพิเศษ ที่เสนอให้กรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการจัดการศึกษาด้วยระบบทางไกลผ่านดาวเทียม โดยการถ่ายทอดการเรียนการสอนจากโรงเรียนไกลกังวัล อันเป็นโรงเรียนราษฎร์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงได้รับการตอบสนองตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๑ ธันาวคม ๒๕๓๘ ซึ่งได้เห็นชอบในหลักการโครงการศึกษาสายสามัญด้วยระบบทางไกลผ่านดาวเทียม เพื่อเฉลิมฉลองในมหามงคลวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงครองสิริราชสมบัติครบ  ๕๐ ปี โดยมีการออกอากาศเป็นปฐมฤกษ์ เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๓๘
 
 
ต่อมาได้มีการก่อตั้งเป็นมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมเมื่อปี ๒๕๓๙ มีนายขวัญแก้ว วัชโรทัย รองเลขาธิการพระราชวังฝ่ายกิจกรรมพิเศษ เป็นประธานกรรมการบริหาร ในการดำเนินงานนอกจากทางมูลนิธิฯ จะได้ถ่ายทอดหลักสูตรมัธยมศึกษาไปยังโรงเรียนที่มีปัญหาขาดแคลนครูและได้ขยายไปยังโรงเรียนมัธยมประจำจังหวัด โรงเรียนเอกชนและโรงเรียนอื่นๆ ทั่วประเทศแล้ว ยังได้ถ่ายทอดการศึกษาชุมชน ตามหลักสูตรวิชาชีพของวิทยาลัยการอาชีพวังไกลกังวล (ระยะสั้นและปกติจนถึงระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง) และรายการของสถาบันเทคโนโลยีราชมงคลวิทยาเขตไกลกังวล ตลอดจนรายการของ[http://www.stou.ac.th มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช]
</div>
 
=='''ข้อมูลอื่นด้านการศึกษา'''==
 
*[http://www.onec.go.th/theking/k007.htm ในหลวงกับการศึกษาไทย-สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ]
*[http://www.dlf.ac.th/dltv/index.php มูลนิธีการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม]
*[http://www.stou.ac.th มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช]
 
 
 
 
----
<nowiki>**</nowiki>{{แม่แบบ:สำนักงาน กปร.2}}
</div>
 
[[หมวดหมู่:ทุน-มูลนิธิ-การศึกษา]][[Category: สังคม]]

รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 09:48, 7 พฤศจิกายน 2551

 
พระเจ้าอยู่หัวกับการพัฒนาการศึกษาของไทย

พุทธศักราช ๒๔๙๕ ทรงตั้งทุนภูมิพล : การศึกษาเป็นเครื่องกำหนดอนาคตของชาติ

พระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูหัวด้านการศึกษาในระดับอุดมศึกษามีเป็นอเนกประการ ดังในปี พ.ศ.๒๔๙๕ โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งทุนภูมิพล เพื่อพระราชทานทุนแก่นิสิต นักศึกษาที่เรียนดีแต่ขาดแคลนทรัพย์

"...ประเทศชาติของเราจะเจริญหรือเสื่อมลงนั้น ย่อมขึ้นอยู่กับการศึกษาของประชาชนแต่ละคนเป็นสำคัญ... ผลการศึกษาอบรมในวันนี้จะเป็นเครื่องกำหนดอนาคตของชาติในวันข้างหน้า"


พุทธศักราช ๒๕๐๘ : ส่งเสริมการศึกษาต่อต่างประเทศ**

ทรงฟื้นฟูทุนเล่าเรียนหลวง (King's Scholarship) ที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานให้แก่
นักเรียนที่เรียนดีไปศึกษาต่อต่างประเทศ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๔๐ เป็นต้นมา
และได้ยุติไปเมื่อ พ.ศ.๒๔๗๖ ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง


พุทธศักราช ๒๕๐๙

นิตยสาร TIME อันเชิญพระบรมฉายาลักษณ์ลงพิมพ์บนหน้าปก

พุทธศักราช ๒๕๑๘ "โครงการพระดาบส"

มิใช่เพียงการศึกษาในระบบโรงเรียนเท่านั้น ราษฎรที่ไม่ได้รับการศึกษาในโรงเรียนพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงให้การสนับสนุนในลักษณะการจัดการศึกษานอกระบบด้วย โดยทรงริเริ่มโครงการพระดาบสขึ้น เมื่อ ปี ๒๕๑๘ โดยใช้วิธีการประสิทธิ์ประสาทวิชาแบบลูกศิษย์ของพระดาบส กล่าวคือ ผู้เรียนจะต้องเป็นผู้ที่มีความตั้งใจศรัทธาอย่างแท้จริง ดังนั้น หากนำเอาวิธีการประสิทธิ์ประสาทวิชาการของพระดาบสมาประยุกต์ใช้ โดยจัดเป็นรูปการศึกษานอกระบบ นอกจากจะช่วยให้ผู้มาฝากตัวเป็นลูกศิษย์ได้รับความรู้สำหรับนำไปประกอบอาชีพในโอกาสต่อไปแล้ว ยังช่วยให้ผู้นั้นเป็นผู้ที่มีศีลธรรมจรรยา มีน้ำใจซึ่งจะส่งผลช่วยในการแก้ปัญหาสังคมส่วนรวมได้ผลยิ่งขึ้น เป็นที่น่ายินดีที่โรงเรียนผู้ใหญ่พระดาบส ได้รับความสนใจเพิ่มมากขึ้นเป็นลำดับ จากข้อมูลในรายงานประจำปี ๒๕๔๗ ระบุว่า เมื่อปีการศึกษา ๒๕๔๒ มีผู้เข้ารับการศึกษาเพียง ๔๐ คน แต่ในปีการศึกษา ๒๕๔๗ มีผู้เข้ารับการศึกษาเพิ่มขึ้นเป็น ๑๓๕ คน

โครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนโดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

เป็นอีกโครงการหนึ่งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชประสงค์ให้ใช้หนังสือสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน เป็นตำราประกอบการเรียนการสอนในวิทยาการสาขาต่างๆ ของการศึกษาทั้งในระบบ นอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ด้วยทรงตระหนักว่าเด็กเป็นปัจจัยที่สำคัญ ดังพระราชดำรัสที่ได้พระราชทานไว้ เมื่อวันที่ ๒๕ กันยายน ๒๕๑๒ ความตอนหนึ่งว่า

"... คือ ให้เด็กเข้าใจและผู้ใหญ่เข้าใจว่า หลักวิชาการทุกสาขานั้นร่วมกัน อันนี้ก็เป็นหลักที่จะสร้างความสามัคคีและ สร้างพลังแก่ประเทศชาติ สร้างพลังแก่มวลมนุษย์ ...ในสารานุกรมจะเห็นว่าหลักวิชาเช่นว่าเศรษฐกิจกับวิทยาศาสตร์นี่เป็นวิชาที่ใหม่หรือว่าอะไร แต่ว่ามันรวมกันอย่างใกล้ชิดที่สุดเพราะสถิติ เพราะอะไรพวกนี้ก็ต้องใช้วิทยาศาสตร์ ใช้คำนวณ ใช้คอมพิวเตอร์ ใช้ประกอบกัน ...ต้องใช้ในด้านประวัติศาสตร์ ต้องใช้ในด้านภาษาศาสตร์ ใช้ด้านภูมิศาสตร์ ทุกสิ่งทุกอย่างมันรวมกันหมดในเรื่องนี้ สารานุกรมนี้จุดประสงค์อันแรกอันสำคัญที่สุดก็คือ ให้ผู้ที่ใช้สารานุกรมนี้เกิดความรู้สึกว่า โลกนี้มันเป้นอันหนึ่งอันเดียวกัน..."

พุทธศักราช ๒๕๓๘ โครงการศึกษาสายสามัญด้วยระบบทางไกลผ่านดาวเทียม

ในพัฒนาการด้านการศึกษานั้นปัญหาสำคัญประการหนึ่งคือ การขาดแคลนครูอาจารย์ที่สอนในระดับมัธยมศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ โรงเรียนราชประชานุเคราะห์และโรงเรียนที่อยู่บริเวณชายแดน ก่อให้เกิดอุปสรรคต่อการเรียนการสอนอย่างมาก ดังนั้น จากการประสานงานของนายแก้วขวัญ วัชโรทัย รองเลขาธิการพระราชวังฝ่ายกิจกรรมพิเศษ ที่เสนอให้กรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการจัดการศึกษาด้วยระบบทางไกลผ่านดาวเทียม โดยการถ่ายทอดการเรียนการสอนจากโรงเรียนไกลกังวัล อันเป็นโรงเรียนราษฎร์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงได้รับการตอบสนองตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๑ ธันาวคม ๒๕๓๘ ซึ่งได้เห็นชอบในหลักการโครงการศึกษาสายสามัญด้วยระบบทางไกลผ่านดาวเทียม เพื่อเฉลิมฉลองในมหามงคลวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงครองสิริราชสมบัติครบ ๕๐ ปี โดยมีการออกอากาศเป็นปฐมฤกษ์ เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๓๘


ต่อมาได้มีการก่อตั้งเป็นมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมเมื่อปี ๒๕๓๙ มีนายขวัญแก้ว วัชโรทัย รองเลขาธิการพระราชวังฝ่ายกิจกรรมพิเศษ เป็นประธานกรรมการบริหาร ในการดำเนินงานนอกจากทางมูลนิธิฯ จะได้ถ่ายทอดหลักสูตรมัธยมศึกษาไปยังโรงเรียนที่มีปัญหาขาดแคลนครูและได้ขยายไปยังโรงเรียนมัธยมประจำจังหวัด โรงเรียนเอกชนและโรงเรียนอื่นๆ ทั่วประเทศแล้ว ยังได้ถ่ายทอดการศึกษาชุมชน ตามหลักสูตรวิชาชีพของวิทยาลัยการอาชีพวังไกลกังวล (ระยะสั้นและปกติจนถึงระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง) และรายการของสถาบันเทคโนโลยีราชมงคลวิทยาเขตไกลกังวล ตลอดจนรายการของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

ข้อมูลอื่นด้านการศึกษา




**ข้อมูลจาก หนังสือ ๘๐ พรรษา ปวงประชาสุขศานต์ จัดทำโดยสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ