ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การทำฝนจากเมฆอุ่น"

จาก WIKI84
(New page: <div id="rain"> <center>'''การทำฝนจากเมฆอุ่น''' พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสรุปข...)
 
ไม่มีความย่อการแก้ไข
 
(ไม่แสดง 3 รุ่นระหว่างกลางโดยผู้ใช้คนเดียวกัน)
บรรทัดที่ 1: บรรทัดที่ 1:
<div id="rain">
<div id="rain">
<center>'''การทำฝนจากเมฆอุ่น'''
<div id="angel2">
 
 
<center><h1>'''การทำฝนจากเมฆอุ่น'''</h1>




บรรทัดที่ 19: บรรทัดที่ 22:
'''ขั้นตอนที่ 3 โจมตี''' เป็นการดัดแปรสภาพอากาศในก้อนเมฆที่รวมตัวหนาแน่นแล้วโดยตรง หรือบริเวณใต้ฐานเมฆ หรือบริเวณที่ต้องการชักนำเมฆฝนที่ตกอยู่แล้วเคลื่อนเข้าสู่เป็นการบังคับหรือเหนี่ยวนำให้เมฆที่แก่ตัวจัดแล้วตกเป็นฝนลงสู่พื้นที่เป้าหมายหวังผลที่วางแผนกำหนดไว้ โดยบินโปรยสารเคมีประเภทที่ทำให้อุณหภูมิลดต่ำลงเข้าไปในเมฆโดยตรงที่ฐานเมฆ หรือยอดเมฆ หรือที่ระดับระหว่างฐานเมฆและยอดเมฆชิดขอบเมฆทางด้านเหนือลม หรือใช้เครื่องบิน 2 เครื่อง โปรยพร้อมกันแบบแซนวิตช์(Sandwich)  
'''ขั้นตอนที่ 3 โจมตี''' เป็นการดัดแปรสภาพอากาศในก้อนเมฆที่รวมตัวหนาแน่นแล้วโดยตรง หรือบริเวณใต้ฐานเมฆ หรือบริเวณที่ต้องการชักนำเมฆฝนที่ตกอยู่แล้วเคลื่อนเข้าสู่เป็นการบังคับหรือเหนี่ยวนำให้เมฆที่แก่ตัวจัดแล้วตกเป็นฝนลงสู่พื้นที่เป้าหมายหวังผลที่วางแผนกำหนดไว้ โดยบินโปรยสารเคมีประเภทที่ทำให้อุณหภูมิลดต่ำลงเข้าไปในเมฆโดยตรงที่ฐานเมฆ หรือยอดเมฆ หรือที่ระดับระหว่างฐานเมฆและยอดเมฆชิดขอบเมฆทางด้านเหนือลม หรือใช้เครื่องบิน 2 เครื่อง โปรยพร้อมกันแบบแซนวิตช์(Sandwich)  


[[ภาพ:แซนวิช.jpg|center]]
[[ภาพ:แซนวิช.jpg|วิธีการบินโปรยสารทำฝนแบบแซนวิช|center]]




บรรทัดที่ 28: บรรทัดที่ 31:




[[Category: รัชกาลที่9]]
[[Category: พระราชกรณียกิจ]]
[[Category: ฝนหลวง]]
[[Category: ฝนหลวง]]
[[Category: ความรู้ในการทำฝน]]
 


----
----


{{แม่แบบ:สำนักฝนหลวง}}
{{แม่แบบ:สำนักฝนหลวง}}

รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 11:00, 4 พฤศจิกายน 2551


การทำฝนจากเมฆอุ่น


พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสรุปขั้นตอนกรรมวิธีการทำฝนจากเมฆอุ่น


จากการที่ทรงติดตามผลการทดลอง ควบคู่กับปฏิบัติการ และทรงวิเคราะห์วิจัย จากรายงานผลการปฏิบัติการประจำวัน และรายงานของคณะปฏิบัติการ ที่ทรงบัญชาการด้วยพระองค์ ประกอบกับที่ทรงสังเกตสภาพกาลอากาศ และปรากฏการณ์ต่าง ๆ ในท้องฟ้าทั้งในช่วงที่ มีปฏิบัติการทดลอง และไม่ปฏิบัติการอย่างใกล้ชิด รวมทั้งสนพระทัยศึกษาจากเอกสารวิชาการ จึงทรงสามารถพัฒนากรรมวิธี การทำฝนจากเมฆอุ่น อย่างก้าวหน้ามาตามลำดับจนทรงมั่นพระทัย จึงทรงสรุป ขั้นตอนกรรมวิธีในปี 2516 แล้วพระราชทานให้ใช้ เป็นหลักในการปฏิบัติการสืบเนื่องมาจนถึง พ.ศ. 2542 ซึ่งมี 3 ขั้นตอน คือ


ขั้นตอนที่ 1 ก่อกวน เป็นการดัดแปรสภาพอากาศขณะนั้นเพื่อเร่งหรือเสริมการเกิดและก่อรวมตัวของเมฆด้วยการก่อกวนสมดุล (Equilibrium) หรือเสถียรภาพ (Stability) ของมวลอากาศเป็นแห่ง ๆ โดยการโปรยสารเคมีประเภทดูดความชื้นแล้วทำให้อุณหภูมิสูงขึ้น (Exothermic chemicals) ในท้องฟ้าที่ระดับใกล้เคียงกับระดับกลั่นตัวเนื่องจากการไหลพาความร้อนในแนวตั้ง (Convective condensation level) ซึ่งเป็นระดับฐานเมฆของแต่ละวัน และโปรยสารเคมีประเภทที่เมื่อดูดซับความชื้นแล้วทำให้อุณหภูมิลดต่ำลง (Endothermic chemicals) ที่ระดับสูงกว่าระดับฐานเมฆ 2,000-3,000 ฟุต ทั้งนี้เพื่อช่วยให้เกิดเมฆเร็วขึ้นและปริมาณมากกว่าที่เกิดตามธรรมชาติ โดยเริ่มก่อกวนในช่วงเวลาเช้าทางด้านเหนือลมของพื้นที่เป้าหมายหวังผลที่วางแผนกำหนดไว้ในแต่ละวัน


ขั้นตอนที่ 2 เลี้ยงให้อ้วน เป็นการดัดแปรสภาพอากาศและเมฆขณะนั้น เพื่อเร่งหรือเสริมการเจริญก่อตัวของเมฆให้ขนาดใหญ่และหนาแน่นยิ่งขึ้นด้วย การกระตุ้นหรือเร่งการเจริญเติบโตของก้อนเมฆที่ก่อตัวแล้วให้มีขนาดใหญ่ขึ้นทั้งฐานเมฆและยอดเมฆขนาดหยดน้ำใหญ่ขึ้นและปริมาณน้ำในก้อนเมฆมากขึ้น จนหนาแน่นเร็วกว่าที่จะปล่อยให้เจริญเองตามธรรมชาติ ด้วยการโปรยสารเคมีประเภทที่เมื่อดูดซับความชื้นแล้วทำให้อุณหภูมิลดต่ำลงที่ระดับฐานเมฆหรือทับยอดเมฆ หรือระหว่างฐานและยอดเมฆโดยบินโปรยสารเคมีเข้าสู่ก้อนเมฆโดยตรง หรือโปรยรอบ ๆ และระหว่างช่องว่างของก้อนเมฆทางด้านเหนือลมให้กระแสลมพัดพาสารเคมีเข้าสู่ก้อนเมฆ หรือโปรยสารเคมีสูตรร้อนสลับสูตรเย็นในอัตราส่วน 1:4 ทับยอดเมฆทั่วบริเวณที่เกิดสภาพเมฆที่มีความหนา 2,000-3,000 ฟุต ปกคลุมพื้นที่เป็นบริเวณกว้าง หรือที่บริเวณพื้นที่ใต้ลมของบริเวณที่เริ่มต้นก่อกวน ทั้งนี้สุดแล้วแต่สภาพของเครื่องบิน ภูมิอากาศ และอากาศขณะนั้นจะอำนวยให้


ขั้นตอนที่ 3 โจมตี เป็นการดัดแปรสภาพอากาศในก้อนเมฆที่รวมตัวหนาแน่นแล้วโดยตรง หรือบริเวณใต้ฐานเมฆ หรือบริเวณที่ต้องการชักนำเมฆฝนที่ตกอยู่แล้วเคลื่อนเข้าสู่เป็นการบังคับหรือเหนี่ยวนำให้เมฆที่แก่ตัวจัดแล้วตกเป็นฝนลงสู่พื้นที่เป้าหมายหวังผลที่วางแผนกำหนดไว้ โดยบินโปรยสารเคมีประเภทที่ทำให้อุณหภูมิลดต่ำลงเข้าไปในเมฆโดยตรงที่ฐานเมฆ หรือยอดเมฆ หรือที่ระดับระหว่างฐานเมฆและยอดเมฆชิดขอบเมฆทางด้านเหนือลม หรือใช้เครื่องบิน 2 เครื่อง โปรยพร้อมกันแบบแซนวิตช์(Sandwich)

วิธีการบินโปรยสารทำฝนแบบแซนวิช
วิธีการบินโปรยสารทำฝนแบบแซนวิช




ข้อมูลจาก สำนักฝนหลวงและการบินเกษตร
ห้ามนำข้อมูลของเว็บไซต์นี้ ไปเผยแพร่ต่อโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร