ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ภูมิสังคมกับการพัฒนา"

จาก WIKI84
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
 
(ไม่แสดง 1 รุ่นระหว่างกลางโดยผู้ใช้คนเดียวกัน)
บรรทัดที่ 7: บรรทัดที่ 7:
<div class="kindent">วันที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๔๙ คือวันที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงครองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี เป็นเวลา ๖๐ ปีที่ทรงให้ความสำคัญกับการพัฒนาประเทศ เพื่อให้ประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นและอยู่ได้ด้วยการพึ่งพาตนเอง ดังจะเห็นได้จากการทรงงานด้านการพัฒนาตั้งแต่ต้นรัชกาลจนปัจจุบัน การพระราชทานพระราชดำริให้ดำเนินการพัฒนาที่ใดก็ตาม ความคิดเห็น ความจำเป็นของประชาชนและสภาพภูมิศาสตร์ ณ ที่นั้นๆ เป็นเรื่องสำคัญยิ่ง เช่น การสร้างถนนเข้าบ้านห้วยมงคล ตำบลหินเหล็กไฟ (ปัจจุบัน คือ ตำบลทับใต้) อำเภอหัวหินจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งเป็นโครงการพัฒนาชนบทโครงการแรกที่เกิดขึ้น เมื่อปี ๒๔๙๕ เพราะเมื่อเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมประชาชนบริเวณนั้น เมื่อทรงทราบจากประชาชนว่ามีปัญหาเรื่องการขนส่งผลผลิตทางการเกษตรไปสู่ตลาด จึงได้พระราชทานพระราชดำริให้สร้างถนน และโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริอื่นๆ ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดมาก็เพราะเมื่อเสด็จฯ ไปทรงเยี่ยมสภาพภูมิประเทศทั่วทุกท้องถิ่น ทรงรับทราบข้อมูลจากประชาชน เจ้าหน้าที่ของรัฐในพื้นที่และข้อมูลจากด้านอื่นๆ จึงได้พระราชทานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ที่ล้วนแล้วแต่ทำให้เกิดประโยชน์ในด้านการดำรงชีวิตตามสถานการณ์ความจำเป็นกับความต้องการ และความเข้าใจของประชาชน นอกจากวิธีการทรงงานดังปรากฎแล้วบางโอกาสที่เหมาะสมก็จะพระราชทานพระราชดำริเกี่ยวกับการพัฒนาที่มีหลักการสำคัญว่าจะต้องเข้าถึงสถานการณ์และเข้าใจผู้ที่จะรับการพัฒนา ดังพระราชดำรัสในพิธีเปิดการประชุมสังคมสงเคราะห์แห่งชาติ เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๖ เมษายน ๒๕๑๒ ความตอนหนึ่งว่า
<div class="kindent">วันที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๔๙ คือวันที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงครองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี เป็นเวลา ๖๐ ปีที่ทรงให้ความสำคัญกับการพัฒนาประเทศ เพื่อให้ประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นและอยู่ได้ด้วยการพึ่งพาตนเอง ดังจะเห็นได้จากการทรงงานด้านการพัฒนาตั้งแต่ต้นรัชกาลจนปัจจุบัน การพระราชทานพระราชดำริให้ดำเนินการพัฒนาที่ใดก็ตาม ความคิดเห็น ความจำเป็นของประชาชนและสภาพภูมิศาสตร์ ณ ที่นั้นๆ เป็นเรื่องสำคัญยิ่ง เช่น การสร้างถนนเข้าบ้านห้วยมงคล ตำบลหินเหล็กไฟ (ปัจจุบัน คือ ตำบลทับใต้) อำเภอหัวหินจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งเป็นโครงการพัฒนาชนบทโครงการแรกที่เกิดขึ้น เมื่อปี ๒๔๙๕ เพราะเมื่อเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมประชาชนบริเวณนั้น เมื่อทรงทราบจากประชาชนว่ามีปัญหาเรื่องการขนส่งผลผลิตทางการเกษตรไปสู่ตลาด จึงได้พระราชทานพระราชดำริให้สร้างถนน และโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริอื่นๆ ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดมาก็เพราะเมื่อเสด็จฯ ไปทรงเยี่ยมสภาพภูมิประเทศทั่วทุกท้องถิ่น ทรงรับทราบข้อมูลจากประชาชน เจ้าหน้าที่ของรัฐในพื้นที่และข้อมูลจากด้านอื่นๆ จึงได้พระราชทานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ที่ล้วนแล้วแต่ทำให้เกิดประโยชน์ในด้านการดำรงชีวิตตามสถานการณ์ความจำเป็นกับความต้องการ และความเข้าใจของประชาชน นอกจากวิธีการทรงงานดังปรากฎแล้วบางโอกาสที่เหมาะสมก็จะพระราชทานพระราชดำริเกี่ยวกับการพัฒนาที่มีหลักการสำคัญว่าจะต้องเข้าถึงสถานการณ์และเข้าใจผู้ที่จะรับการพัฒนา ดังพระราชดำรัสในพิธีเปิดการประชุมสังคมสงเคราะห์แห่งชาติ เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๖ เมษายน ๒๕๑๒ ความตอนหนึ่งว่า


'''"...การเข้าใจถึงสถานการณ์และสภาพการของผู้ที่เราจะช่วยเหลือนั้น เป็นสิ่งสำคัญที่สุด การช่วยเหลือให้เขาได้รับสิ่งที่เขาควรจะได้รับตามความจำเป็นอย่างเหมาะสม จะเป็นการช่วยเหลือที่ได้ผลดีที่สุด เพราะฉะนั้น ในการช่วยเหลือแต่ละครั้ง แต่ละกรณี จำเป็นที่เราจะพิจารณาถึงความต้องการและความจำเป็นก่อน และต้องทำความเข้าใจกับผู้ที่เราจะช่วยให้เข้าใจด้วยว่า เขาอยู่ในฐานะอย่างไร สมควรที่จะได้รับความช่วยเหลืออย่างไร เพียงใดอีกประการหนึ่งในการช่วยเหลือนั้น ควรจะยึดหลักสำคัญว่า เราจะช่วยเขาเพื่อให้เขาสามารถช่วยตนเองได้ต่อไป..."'''
<span class="kgreen">'''"...การเข้าใจถึงสถานการณ์และสภาพการของผู้ที่เราจะช่วยเหลือนั้น เป็นสิ่งสำคัญที่สุด การช่วยเหลือให้เขาได้รับสิ่งที่เขาควรจะได้รับตามความจำเป็นอย่างเหมาะสม จะเป็นการช่วยเหลือที่ได้ผลดีที่สุด เพราะฉะนั้น ในการช่วยเหลือแต่ละครั้ง แต่ละกรณี จำเป็นที่เราจะพิจารณาถึงความต้องการและความจำเป็นก่อน และต้องทำความเข้าใจกับผู้ที่เราจะช่วยให้เข้าใจด้วยว่า เขาอยู่ในฐานะอย่างไร สมควรที่จะได้รับความช่วยเหลืออย่างไร เพียงใดอีกประการหนึ่งในการช่วยเหลือนั้น ควรจะยึดหลักสำคัญว่า เราจะช่วยเขาเพื่อให้เขาสามารถช่วยตนเองได้ต่อไป..."'''</span>


ในการพัฒนาประเทศนั้น ผู้บริหารประเทศจะมีนโยบายในการทำงานอย่างไรมีความก้าวหน้าในระดับใด แต่ในการพัฒนาตามแนวพระราชดำรินั้นมีหลักการที่ชัดเจน ตั้งแต่เริ่มต้นจนปัจจุบัน ดังจะเห็นได้จากโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริทั้งหลายและพระบรมราโชวาทในวาระต่างๆ ที่ให้ผู้ปฏิบัติงานทางด้านการพัฒนาจะต้องมีความเข้าใจเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวกับงานที่จะทำทั้งหมด เช่น พระบรมราชโวาทในพีธีพระราชทานปริญญาบัตรของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ เมื่อวันที่ ๑๙ มีนาคม ๒๕๒๒ ความตอนหนึ่งว่า
ในการพัฒนาประเทศนั้น ผู้บริหารประเทศจะมีนโยบายในการทำงานอย่างไรมีความก้าวหน้าในระดับใด แต่ในการพัฒนาตามแนวพระราชดำรินั้นมีหลักการที่ชัดเจน ตั้งแต่เริ่มต้นจนปัจจุบัน ดังจะเห็นได้จากโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริทั้งหลายและพระบรมราโชวาทในวาระต่างๆ ที่ให้ผู้ปฏิบัติงานทางด้านการพัฒนาจะต้องมีความเข้าใจเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวกับงานที่จะทำทั้งหมด เช่น พระบรมราชโวาทในพีธีพระราชทานปริญญาบัตรของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ เมื่อวันที่ ๑๙ มีนาคม ๒๕๒๒ ความตอนหนึ่งว่า


'''"...นักบริหารการพัฒนามีภาระสำคัญในการที่จะต้องเป็นผู้นำและตัวการควบคุมการพัฒนาบ้านเมืองให้เจริญก้าวหน้าไปอย่างเหมาะสมถูกต้อง สู่ทิศทางและสภาพที่ทุกฝ่ายพึงปรารถนา และการที่จะปฏิบัติภาระอันนี้ให้ลุล่วงไปด้วยดีได้นั้น นอกจากจะอาศัยความรู้ความสามารถทางวิชาการตามที่ได้ศึกษามาแล้ว ยังจำเป็นจะต้องมีความรอบรู้และความเข้าใจอันกระจ่างและเพียงพอในข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสภาวะแวดล้อมและสถานการณ์ที่เกี่ยวพันกับงานที่จะทำทั้งหมด รวมทั้งระบบชีวิตของคนไทย อันได้แก่ความเป็นอยู่ ความต้องการ วัฒนธรรมและความรู้สึกนึกคิดโดยเบ็ดเสร็จด้วย จึงจะทำงานให้บรรลุเป้าหมายได้..."'''
<span class="kgreen">'''"...นักบริหารการพัฒนามีภาระสำคัญในการที่จะต้องเป็นผู้นำและตัวการควบคุมการพัฒนาบ้านเมืองให้เจริญก้าวหน้าไปอย่างเหมาะสมถูกต้อง สู่ทิศทางและสภาพที่ทุกฝ่ายพึงปรารถนา และการที่จะปฏิบัติภาระอันนี้ให้ลุล่วงไปด้วยดีได้นั้น นอกจากจะอาศัยความรู้ความสามารถทางวิชาการตามที่ได้ศึกษามาแล้ว ยังจำเป็นจะต้องมีความรอบรู้และความเข้าใจอันกระจ่างและเพียงพอในข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสภาวะแวดล้อมและสถานการณ์ที่เกี่ยวพันกับงานที่จะทำทั้งหมด รวมทั้งระบบชีวิตของคนไทย อันได้แก่ความเป็นอยู่ ความต้องการ วัฒนธรรมและความรู้สึกนึกคิดโดยเบ็ดเสร็จด้วย จึงจะทำงานให้บรรลุเป้าหมายได้..."'''</span>


ขณะที่การพัฒนาในโลกนี้มีเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่ทันสมัยเกิดขึ้นตลอดเวลาเพื่อผลทางประสิทธิภาพและการทุ่นแรง แต่การพัฒนาตามแนวพระราชดำริจะต้องคำนึงถึงสิ่งที่เป็นพื้นฐานและส่วนประกอบของงาน ความพอเหมาะกับสภาวะของบ้านเมือง ดังพระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เมื่อวันเสาร์ที่ ๑๘ ตุลาคม ๒๕๒๓ ความตอนหนึ่งว่า
ขณะที่การพัฒนาในโลกนี้มีเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่ทันสมัยเกิดขึ้นตลอดเวลาเพื่อผลทางประสิทธิภาพและการทุ่นแรง แต่การพัฒนาตามแนวพระราชดำริจะต้องคำนึงถึงสิ่งที่เป็นพื้นฐานและส่วนประกอบของงาน ความพอเหมาะกับสภาวะของบ้านเมือง ดังพระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เมื่อวันเสาร์ที่ ๑๘ ตุลาคม ๒๕๒๓ ความตอนหนึ่งว่า


'''"...การใช้เทคโนโลยีอันทันสมัยในงานต่างๆ นั้น ว่าโดยหลักการควรจะให้ผลมากในเรื่องประสิทธิภาพ การประหยัด และการทุ่นแรงงาน แต่อย่างไรก็ตาม ก็คงยังจะต้องคำนึงถึงสิ่งอื่นอันเป็นพื้นฐานและส่วนประกอบของงานที่ทำด้วย อย่างในประเทศของเราประชาชนทำมาหาเลี้ยงตัว ดวยการกสิกรรมและการลงแรงทำงานเป็นพื้น การใช้เทคโนโลยีอย่างใหญ่โตเต็มรูปหรือเต็มขนาดในงานอาชีพหลักของประเทส ย่อมจะมีปัญหา เช่น อาจทำให้ต้องลงทุนมากมายสิ้นเปลืองเกินกว่าเหตุ หรืออาจก่อให้เกิดการว่างงานอย่างรุนแรงขึ้นเป็นต้น ผลที่เกิดก็จะพลาดเป้าหมายไปห่างไกล และกลับกลายเป็นผลเสีย ดังนั้น จึงต้องมีความระมัดระวังมากในการใช้เทคโนโลยีปฏิบัติงาน คือควรจะพยายามใช้ให้พอเหมาะพอดีแก่สภาวะของบ้านเมืองและการทำกินของราษฎร เพื่อให้เกิดประสิทธิผลด้วย เกิดความประหยัดอย่างแท้จริงด้วย..."'''
<span class="kgreen">'''"...การใช้เทคโนโลยีอันทันสมัยในงานต่างๆ นั้น ว่าโดยหลักการควรจะให้ผลมากในเรื่องประสิทธิภาพ การประหยัด และการทุ่นแรงงาน แต่อย่างไรก็ตาม ก็คงยังจะต้องคำนึงถึงสิ่งอื่นอันเป็นพื้นฐานและส่วนประกอบของงานที่ทำด้วย อย่างในประเทศของเราประชาชนทำมาหาเลี้ยงตัว ดวยการกสิกรรมและการลงแรงทำงานเป็นพื้น การใช้เทคโนโลยีอย่างใหญ่โตเต็มรูปหรือเต็มขนาดในงานอาชีพหลักของประเทส ย่อมจะมีปัญหา เช่น อาจทำให้ต้องลงทุนมากมายสิ้นเปลืองเกินกว่าเหตุ หรืออาจก่อให้เกิดการว่างงานอย่างรุนแรงขึ้นเป็นต้น ผลที่เกิดก็จะพลาดเป้าหมายไปห่างไกล และกลับกลายเป็นผลเสีย ดังนั้น จึงต้องมีความระมัดระวังมากในการใช้เทคโนโลยีปฏิบัติงาน คือควรจะพยายามใช้ให้พอเหมาะพอดีแก่สภาวะของบ้านเมืองและการทำกินของราษฎร เพื่อให้เกิดประสิทธิผลด้วย เกิดความประหยัดอย่างแท้จริงด้วย..."'''</span>
</div>
</div>


=== ===
=== ===
บรรทัดที่ 52: บรรทัดที่ 51:
<h3>'''ผลแห่งการพัฒนา'''</h3>
<h3>'''ผลแห่งการพัฒนา'''</h3>


[[ภาพ:ภูมิสังคม7.jpg|ภาพเขื่อน|left]]<div class="kindent">จากการดำเนินงานโคงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ที่เป็นไปตามสภาพภูมิศาสตร์และสภาพสังคมของแต่ละท้องถิ่นที่ได้กล่าวมาให้เห็นเป็นตัวอย่างบางโครงการนั้น คือ การดำเนินการโครงการใดๆ โดยเฉพาะการพัฒนาในชนบท ได้คำนึงถึงสภาพภูมิศาสตร์เป็นสำคัญว่า สภาพดิน น้ำ ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่เป็นอย่างไร จะเอื้อต่อกิจกรรมที่จะดำเนินการหรือไม่ เมื่อประชาชนมีความรู้ความเข้าใจ มีความพร้อมที่จะร่วมดำเนินการโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริจึงเกิดขึ้นมากมายหลายประเภท ซึ่งล้วนแล้วแต่สนับสนุนให้ประชาชนได้ประกอบอาชีพตามสภาพภูมิศาสตร์และสอดคล้องกับวัฒนธรรมท้องถิ่น และอยู่ได้ด้วยการพึ่งพาตนเองภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง กล่าวคือ มีแหล่งน้ำเพื่ออุปโภค-บริโภค และเพื่อการเกษตร มีแหล่งความรู้ที่มีเทคโนโลยีใหม่ๆ ประหยัด เกษตรกรสามารถนำไปปฏิบัติได้อยู่ในศูนย์ศึกษาฯ ซึ่งเกษตรกรเข้าไปศึกษาหาความรู้ได้ตลอดเวลา เพื่อเลือกว่าเรื่องใดที่เหมาะกับทรัพยากรที่มีอยู่และความพอใจของตนก็นำไปเป็นแนวทางในการประกอบอาชีพ ผลของการพัฒนาตามแนวพระราชดำริจึงทำให้ประชาชนที่อยู่ในเป้าหมายของโครงการมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นตามลำดับ แม้ว่าจะเป็นไปอย่างช้าๆ แต่สามารถพึ่งพาตนเองได้ มีทรัพยากรธรรมชาติที่จะได้ใช้อย่างยั่งยืน
[[ภาพ:ภูมิสังคม7.jpg|ภาพเขื่อน|left]]<div class="kindent">จากการดำเนินงาน[[โคงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ]] ที่เป็นไปตามสภาพภูมิศาสตร์และสภาพสังคมของแต่ละท้องถิ่นที่ได้กล่าวมาให้เห็นเป็นตัวอย่างบางโครงการนั้น คือ การดำเนินการโครงการใดๆ โดยเฉพาะการพัฒนาในชนบท ได้คำนึงถึงสภาพภูมิศาสตร์เป็นสำคัญว่า สภาพดิน น้ำ ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่เป็นอย่างไร จะเอื้อต่อกิจกรรมที่จะดำเนินการหรือไม่ เมื่อประชาชนมีความรู้ความเข้าใจ มีความพร้อมที่จะร่วมดำเนินการโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริจึงเกิดขึ้นมากมายหลายประเภท ซึ่งล้วนแล้วแต่สนับสนุนให้ประชาชนได้ประกอบอาชีพตามสภาพภูมิศาสตร์และสอดคล้องกับวัฒนธรรมท้องถิ่น และอยู่ได้ด้วยการพึ่งพาตนเองภายใต้ปรัชญา[[เศรษฐกิจพอเพียง]] กล่าวคือ มีแหล่งน้ำเพื่ออุปโภค-บริโภค และเพื่อการเกษตร มีแหล่งความรู้ที่มีเทคโนโลยีใหม่ๆ ประหยัด เกษตรกรสามารถนำไปปฏิบัติได้อยู่ในศูนย์ศึกษาฯ ซึ่งเกษตรกรเข้าไปศึกษาหาความรู้ได้ตลอดเวลา เพื่อเลือกว่าเรื่องใดที่เหมาะกับทรัพยากรที่มีอยู่และความพอใจของตนก็นำไปเป็นแนวทางในการประกอบอาชีพ ผลของการพัฒนาตามแนวพระราชดำริจึงทำให้ประชาชนที่อยู่ในเป้าหมายของโครงการมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นตามลำดับ แม้ว่าจะเป็นไปอย่างช้าๆ แต่สามารถพึ่งพาตนเองได้ มีทรัพยากรธรรมชาติที่จะได้ใช้อย่างยั่งยืน


ดังนั้นการพัฒนาชุมชนใดๆ ก็ตาม ตลอดจนถึงการพัฒนาในระดับกว้างถึงระดับประเทศ ถ้าการพัฒนาเป็นไปตามสภาพภูมิศาสตร์และภูมิสังคม โดยทำไปตามลำดับขั้นแล้วความสำเร็จย่อมมีมาก ปัญหาต่างๆ ก็จะน้อยลง ความก้าวหน้าของประเทศก็จะเดินไปด้วยความมั่นคง และอยู่ได้ด้วยการพึ่งพาตนเองทั้งเรื่องของเศรษฐกิจ เรื่องของทรัพยากรธรรมชาติ เทคโนโลยีที่เหมาะสมกับสภาพภูมิศาสตร์และประชากร และสังคมอยู่ร่วมกันด้วยความสามัคคี ประชาชนก็จะเป็นสุข
ดังนั้นการพัฒนาชุมชนใดๆ ก็ตาม ตลอดจนถึงการพัฒนาในระดับกว้างถึงระดับประเทศ ถ้าการพัฒนาเป็นไปตามสภาพภูมิศาสตร์และภูมิสังคม โดยทำไปตามลำดับขั้นแล้วความสำเร็จย่อมมีมาก ปัญหาต่างๆ ก็จะน้อยลง ความก้าวหน้าของประเทศก็จะเดินไปด้วยความมั่นคง และอยู่ได้ด้วยการพึ่งพาตนเองทั้งเรื่องของเศรษฐกิจ เรื่องของทรัพยากรธรรมชาติ เทคโนโลยีที่เหมาะสมกับสภาพภูมิศาสตร์และประชากร และสังคมอยู่ร่วมกันด้วยความสามัคคี ประชาชนก็จะเป็นสุข

รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 08:02, 11 พฤศจิกายน 2551

 

หลักการพัฒนาตามแนวพระราชดำริ

วันที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๔๙ คือวันที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงครองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี เป็นเวลา ๖๐ ปีที่ทรงให้ความสำคัญกับการพัฒนาประเทศ เพื่อให้ประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นและอยู่ได้ด้วยการพึ่งพาตนเอง ดังจะเห็นได้จากการทรงงานด้านการพัฒนาตั้งแต่ต้นรัชกาลจนปัจจุบัน การพระราชทานพระราชดำริให้ดำเนินการพัฒนาที่ใดก็ตาม ความคิดเห็น ความจำเป็นของประชาชนและสภาพภูมิศาสตร์ ณ ที่นั้นๆ เป็นเรื่องสำคัญยิ่ง เช่น การสร้างถนนเข้าบ้านห้วยมงคล ตำบลหินเหล็กไฟ (ปัจจุบัน คือ ตำบลทับใต้) อำเภอหัวหินจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งเป็นโครงการพัฒนาชนบทโครงการแรกที่เกิดขึ้น เมื่อปี ๒๔๙๕ เพราะเมื่อเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมประชาชนบริเวณนั้น เมื่อทรงทราบจากประชาชนว่ามีปัญหาเรื่องการขนส่งผลผลิตทางการเกษตรไปสู่ตลาด จึงได้พระราชทานพระราชดำริให้สร้างถนน และโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริอื่นๆ ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดมาก็เพราะเมื่อเสด็จฯ ไปทรงเยี่ยมสภาพภูมิประเทศทั่วทุกท้องถิ่น ทรงรับทราบข้อมูลจากประชาชน เจ้าหน้าที่ของรัฐในพื้นที่และข้อมูลจากด้านอื่นๆ จึงได้พระราชทานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ที่ล้วนแล้วแต่ทำให้เกิดประโยชน์ในด้านการดำรงชีวิตตามสถานการณ์ความจำเป็นกับความต้องการ และความเข้าใจของประชาชน นอกจากวิธีการทรงงานดังปรากฎแล้วบางโอกาสที่เหมาะสมก็จะพระราชทานพระราชดำริเกี่ยวกับการพัฒนาที่มีหลักการสำคัญว่าจะต้องเข้าถึงสถานการณ์และเข้าใจผู้ที่จะรับการพัฒนา ดังพระราชดำรัสในพิธีเปิดการประชุมสังคมสงเคราะห์แห่งชาติ เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๖ เมษายน ๒๕๑๒ ความตอนหนึ่งว่า

"...การเข้าใจถึงสถานการณ์และสภาพการของผู้ที่เราจะช่วยเหลือนั้น เป็นสิ่งสำคัญที่สุด การช่วยเหลือให้เขาได้รับสิ่งที่เขาควรจะได้รับตามความจำเป็นอย่างเหมาะสม จะเป็นการช่วยเหลือที่ได้ผลดีที่สุด เพราะฉะนั้น ในการช่วยเหลือแต่ละครั้ง แต่ละกรณี จำเป็นที่เราจะพิจารณาถึงความต้องการและความจำเป็นก่อน และต้องทำความเข้าใจกับผู้ที่เราจะช่วยให้เข้าใจด้วยว่า เขาอยู่ในฐานะอย่างไร สมควรที่จะได้รับความช่วยเหลืออย่างไร เพียงใดอีกประการหนึ่งในการช่วยเหลือนั้น ควรจะยึดหลักสำคัญว่า เราจะช่วยเขาเพื่อให้เขาสามารถช่วยตนเองได้ต่อไป..."

ในการพัฒนาประเทศนั้น ผู้บริหารประเทศจะมีนโยบายในการทำงานอย่างไรมีความก้าวหน้าในระดับใด แต่ในการพัฒนาตามแนวพระราชดำรินั้นมีหลักการที่ชัดเจน ตั้งแต่เริ่มต้นจนปัจจุบัน ดังจะเห็นได้จากโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริทั้งหลายและพระบรมราโชวาทในวาระต่างๆ ที่ให้ผู้ปฏิบัติงานทางด้านการพัฒนาจะต้องมีความเข้าใจเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวกับงานที่จะทำทั้งหมด เช่น พระบรมราชโวาทในพีธีพระราชทานปริญญาบัตรของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ เมื่อวันที่ ๑๙ มีนาคม ๒๕๒๒ ความตอนหนึ่งว่า

"...นักบริหารการพัฒนามีภาระสำคัญในการที่จะต้องเป็นผู้นำและตัวการควบคุมการพัฒนาบ้านเมืองให้เจริญก้าวหน้าไปอย่างเหมาะสมถูกต้อง สู่ทิศทางและสภาพที่ทุกฝ่ายพึงปรารถนา และการที่จะปฏิบัติภาระอันนี้ให้ลุล่วงไปด้วยดีได้นั้น นอกจากจะอาศัยความรู้ความสามารถทางวิชาการตามที่ได้ศึกษามาแล้ว ยังจำเป็นจะต้องมีความรอบรู้และความเข้าใจอันกระจ่างและเพียงพอในข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสภาวะแวดล้อมและสถานการณ์ที่เกี่ยวพันกับงานที่จะทำทั้งหมด รวมทั้งระบบชีวิตของคนไทย อันได้แก่ความเป็นอยู่ ความต้องการ วัฒนธรรมและความรู้สึกนึกคิดโดยเบ็ดเสร็จด้วย จึงจะทำงานให้บรรลุเป้าหมายได้..."

ขณะที่การพัฒนาในโลกนี้มีเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่ทันสมัยเกิดขึ้นตลอดเวลาเพื่อผลทางประสิทธิภาพและการทุ่นแรง แต่การพัฒนาตามแนวพระราชดำริจะต้องคำนึงถึงสิ่งที่เป็นพื้นฐานและส่วนประกอบของงาน ความพอเหมาะกับสภาวะของบ้านเมือง ดังพระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เมื่อวันเสาร์ที่ ๑๘ ตุลาคม ๒๕๒๓ ความตอนหนึ่งว่า

"...การใช้เทคโนโลยีอันทันสมัยในงานต่างๆ นั้น ว่าโดยหลักการควรจะให้ผลมากในเรื่องประสิทธิภาพ การประหยัด และการทุ่นแรงงาน แต่อย่างไรก็ตาม ก็คงยังจะต้องคำนึงถึงสิ่งอื่นอันเป็นพื้นฐานและส่วนประกอบของงานที่ทำด้วย อย่างในประเทศของเราประชาชนทำมาหาเลี้ยงตัว ดวยการกสิกรรมและการลงแรงทำงานเป็นพื้น การใช้เทคโนโลยีอย่างใหญ่โตเต็มรูปหรือเต็มขนาดในงานอาชีพหลักของประเทส ย่อมจะมีปัญหา เช่น อาจทำให้ต้องลงทุนมากมายสิ้นเปลืองเกินกว่าเหตุ หรืออาจก่อให้เกิดการว่างงานอย่างรุนแรงขึ้นเป็นต้น ผลที่เกิดก็จะพลาดเป้าหมายไปห่างไกล และกลับกลายเป็นผลเสีย ดังนั้น จึงต้องมีความระมัดระวังมากในการใช้เทคโนโลยีปฏิบัติงาน คือควรจะพยายามใช้ให้พอเหมาะพอดีแก่สภาวะของบ้านเมืองและการทำกินของราษฎร เพื่อให้เกิดประสิทธิผลด้วย เกิดความประหยัดอย่างแท้จริงด้วย..."

สิ่งที่ต้องจำ

ในการดำเนินงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เมื่อมีคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริเกิดขึ้นในปี ๒๕๒๔ เพื่อทำหน้าที่ดำเนินการควบคุม กำกับ ดูแล ติดตามผลประสานงานการดำเนินงานให้เกิดประสิทธิภาพ โดยมี ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เป็นเลขาธิการคนแรก ในการปฏิบัติงานสนองพระราชดำริและปฏิบัติหน้าที่นี้จนเกษียณราชการ เมื่อท่านได้รับเชิญไปบรรยายเรื่อง "พ่อหลวงคิดอะไร" ที่ศาลากลางจังหวัดนครราชสีมา ในวันที่ ๔ กันยายน ๒๕๔๕ มีเนื้อหาตอนหนึ่งว่า "พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงรับสั่งบทเรียนบทแรกที่ผมได้รับมาเมื่อ พ.ศ.๒๕๒๔ ซึ่งเข้ารับตำแหน่งใหม่ๆ จำไว้นะ จะทำอะไรต้องทำให้สอดคล้องกับภูมิสังคม คำง่ายๆ แต่มีความหมายลึกซึ้ง หมายความว่าอะไร ภูมิสังคม จะทำอะไรก็ตาม ไม่ว่าเรื่องเศรษฐกิจ ไม่ว่าเรื่องสังคม เรื่องการเมือง อะไรก็แล้วแต่นั้น ต้องให้สอดคล้องกับสภาพภูมิประเทศในเบื้องต้นก่อน คือสภาพแวดล้อมทั่วไป ดิน น้ำ ลม ไฟ ในเบื้องต้น อย่าไปทำฝืน และความสอดคล้องที่ ๒ ที่จำเป็นอย่างยิ่งเลย เพราะความจริงธรรมชาตินั้น เขาก็อยู๋ของเขาอย่างนั้นแหละ แต่ส่วนที่ ๒ อาจสำคัญมากกว่าคือต้องสอดคล้องกับสังคม สังคมคืออะไร สังคมคือมนุษย์ ไม่มีมนุษย์ ไม่มีสังคม และสังคมแต่ละแห่งนั้น อย่าว่าแต่นอกประเทศต่างประเทศเลย เอาในประเทศของเรานี่แหละ คนทางภาคเหนือ คนทางภาคใต้ คิดแบบคนภาคกลางหรือเปล่า หลายสถานการณ์ตัดสินใจไม่เหมือนกัน ฉะนั้นแต่ะลแห่งแต่ละอย่างนั้น เมื่อนำมาใช้แล้ว จะต้องให้สอดคล้องกับสภาพสิ่งแวดล้อมเป็นเบื้องต้น และสอดคล้องกับจารีตประเพณีวัฒนธรรมของคนในท้องถิ่นนั้นๆ"


โครงการตามสภาพภูมิศาสตร์สังคม

หากมองมาที่การพัฒนาตามแนวพระราชดำริทั้งหลายจะเห็นว่าโครงการต่างๆ ที่เกิดขึ้นมากมายนั้น กว่าจะพระราชทานพระราชดำริให้ดำเนินการอย่างไรจะต้องเป็นเรื่องที่สอดคล้องกับสังคมของคนกลุ่มนั้นและตามสภาพท้องถิ่น เมื่อประชากรในชนบทส่วนใหญ่ทำการเกษตรซึ่งมีความจำเป็นต้องใช้น้ำเพื่อการเกษตร และอุปโภค-บริโภค และต้องอาศัยน้ำตามธรรมชาติ หากปีไหนขาดฝนผลผลิตก็จะได้น้อย โครงการพัฒนาแหล่งน้ำอันเนื่องมาจากพระราชดำริจึงเกิดขึ้นตั้งแต่ ปี ๒๔๙๖ และเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องจนกระทั่งปัจจุบัน และมากกว่าโครงการประเภทใดๆ เพราะพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงให้ความสำคัญกับน้ำในลักษณะ "น้ำคือชีวิต" ซึ่งการพัฒนาแหล่งน้ำนั้นจะมีพระราชดำริให้ดำเนินการประเภทใดต้องขึ้นกับสภาพภูมิศาสตร์บริเวณนั้นๆ ด้วย เช่นโครงการเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ฯ สร้างขึ้นเพื่อให้มีน้ำใช้ในฤดูแล้ง เพื่อป้องกันและบรรเทาน้ำท่วมบริเวณลุ่มน้ำป่าสักและลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่างในฤดูน้ำหลาก

โครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระราชดำริครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๓ กันยายน ๒๕๒๑ และมีพระราชดำริอย่างต่อเนื่องอีกหลายครั้ง โดยสรุปให้สร้างประตูระบายน้ำพร้อมอาคารควบคุมตามลำน้ำสาขาต่างๆ ขุดลอกขยายคลองระบายน้ำ ทั้งนี้เพื่อแก้ปัญหาขาดแคลนน้ำจืดสำหรับการเกษตร การอุปโภค-บริโภค และแก้ปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่ทำกินของราษฎร ตลอดจนการกำหนดแนวเขตที่เหมาะสมในการแยกน้ำจืด น้ำเค็มออกจากกันให้ชัดเจน

จากสภาพลุ่มน้ำก่ำที่คดเคี้ยวจากเทือกเขาภูพานทอดยาวผ่านหลายอำเภอ จะไปบรรจบแม่น้ำโขงเป็นระยะทาง ๑๒๓ กิโลเมตร ซึ่งลำน้ำนี้หล่อเลี้ยงชีวิตประชาชนที่อาศัยอยู่ตามริมฝั่งน้ำ แต่ในช่วงฤดูฝนน้ำจะหลากท่วมพื้นที่ทำกินทั้งสองฝั่ง แต่ถ้าเป็นหน้าแล้งราษฎรจะขาดแคลนน้ำสำหรับการเพาะปลูก ด้วยสภาพภูมิศาสตร์สังคมที่ทรงทราบจากการเสด็จฯ ไปทรงเยี่ยมประชาชนในพื้นที่จึงทรงร่างภาพ "โครงการพัฒนาลุ่มน้ำก่ำ" ให้เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องนำไปดำเนินการสร้างประตูระบายน้ำในลำน้ำก่ำเป็นระยๆ เพื่อเก็บกักน้ำไว้ในลำน้ำให้เกษตรกรได้มีน้ำใช้ตลอดปีและเพียงพอสำหรับการเพาะปลูก

จากการพัฒนาแหล่งน้ำที่สอดคล้องกับสภาพภูมิศาสตร์แล้ว เมื่อพิจารณาโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริทางทางการเกษตรนั้น ทรงสนับสนุนให้ทำการเกษตรแบบสมัยที่บรรพบุรุษได้ทำมา และเป็นวิถีชีวิตของคนในชนบท นั่นคือ รอบๆ บริเวณบ้านจะมีทั้งพืชผักที่ใช้รับประทานเป็นประจำวัน เช่น พืชสมุนไพรสำหรับปรุงอาหาร เช่น ข่า ตะไคร้ โหระพา มะกรูด นอกจากนั้นยังมีไม้ผลหลายๆ ชนิด ชนิดละ ๒-๓ ต้น พร้อมๆ กับเลี้ยงไก่ สุกร โค กระบือ ซึ่งกินอาหารที่มีอยู่รอบๆ บ้าน ในนาก็มีปลา สิ่งเหล่านี้ทำให้ประชาชนในชนบทสามารถพึ่งพาตนเองได้ในด้านอาหาร ซึ่งเป็นลักษณะของโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ด้านการเกษตรผสมผสาน และการเกษตรยั่งยืน ที่สอดคล้องกับสภาพภูมิศาสตร์สังคม เป็นวิถีชีวิตที่สามารถอยู่ได้ด้วยการพึ่งตนเอง โดยเฉพาะในเรื่องอาหารเป็นเบื้องต้น

ภาพทุ่งนา
ภาพทุ่งนา

ในเรื่องของการอนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติ ที่พระราชทานพระราชดำริให้ดำเนินการใช้ทรัพยากรธรรมชาติในลักษณะยั่งยืน และการดำเนินการจะต้องเป็นไปตามสภาพภูมิประเทศ เช่น ในการดำเนินงานโครงการพัฒนาและรณรงค์การใช้หญ้าแฝกอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ได้พระราชทานพระราชดำริครั้งแรก เมื่อเดือนมิถุนายน ๒๕๓๕ มีใจความสรุปส่วนหนึ่งว่า การปลูกหญ้าแฝกให้พิจารณาลักษณะของภูมิประเทศและยังมีพระราชดำรัสกับเจ้าหน้าที่ผู้ดำเนินงานการปลูกหญ้าแฝกเกี่ยวกับการปลูกที่จะต้องคำนึงถึงสภาพภูมิประเทศอีกหลายครั้ง แม้กระทั่งพระบรมราโชวาทที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เมื่อวันที่ ๒๕ กรกฎาคม ๒๕๔๐ ความตอนหนึ่งว่า

"...การปลูกหญ้าแฝกจะต้องปลูกให้ชิดติดกันเป็นแผง และวางแนวให้เหมาะสมกับลักษณะของภูมิประเทศ เป็นต้นว่า บนพื้นที่สูงจะต้องปลูกตามแนวขวางของความลาดชันและร่องน้ำ บนพื้นที่ราบจะต้องปลูกรอบแปลงหรือปลูกตามร่องสลับกับพืชไร่ ในพื้นที่เก็บกักน้ำจะต้องปลูกเป็นแนวเหนือแหล่งน้ำ"""

ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เป็นโครงการที่สำคัญอีกประเภทหนึ่งที่จัดตั้งขึ้นตามสภาพภูมิศาสตร์สังคม เพราะวัตถุประสงค์ที่สำคัญตามที่ได้พระราชทานพระราชดำรัสไว้เมื่อวันที่ ๑๑ กันยายน ๒๕๒๖ ความตอนหนึ่งว่า

"...ด้านหนึ่งก็เป็นจุดประสงค์ของศูนย์ศึกษาก็เป็นสถานที่สำหรับค้นคว้าวิจัยในท้องที่ เพราะว่าแต่ละท้องที่สภาพฝน ฟ้า อากาศ และประชาชนในท้องที่ต่างๆ กัน ก็มีลักษณะแตกต่างกันมากเหมือนกัน..."


ผลแห่งการพัฒนา

ภาพเขื่อน
ภาพเขื่อน
จากการดำเนินงานโคงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ที่เป็นไปตามสภาพภูมิศาสตร์และสภาพสังคมของแต่ละท้องถิ่นที่ได้กล่าวมาให้เห็นเป็นตัวอย่างบางโครงการนั้น คือ การดำเนินการโครงการใดๆ โดยเฉพาะการพัฒนาในชนบท ได้คำนึงถึงสภาพภูมิศาสตร์เป็นสำคัญว่า สภาพดิน น้ำ ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่เป็นอย่างไร จะเอื้อต่อกิจกรรมที่จะดำเนินการหรือไม่ เมื่อประชาชนมีความรู้ความเข้าใจ มีความพร้อมที่จะร่วมดำเนินการโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริจึงเกิดขึ้นมากมายหลายประเภท ซึ่งล้วนแล้วแต่สนับสนุนให้ประชาชนได้ประกอบอาชีพตามสภาพภูมิศาสตร์และสอดคล้องกับวัฒนธรรมท้องถิ่น และอยู่ได้ด้วยการพึ่งพาตนเองภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง กล่าวคือ มีแหล่งน้ำเพื่ออุปโภค-บริโภค และเพื่อการเกษตร มีแหล่งความรู้ที่มีเทคโนโลยีใหม่ๆ ประหยัด เกษตรกรสามารถนำไปปฏิบัติได้อยู่ในศูนย์ศึกษาฯ ซึ่งเกษตรกรเข้าไปศึกษาหาความรู้ได้ตลอดเวลา เพื่อเลือกว่าเรื่องใดที่เหมาะกับทรัพยากรที่มีอยู่และความพอใจของตนก็นำไปเป็นแนวทางในการประกอบอาชีพ ผลของการพัฒนาตามแนวพระราชดำริจึงทำให้ประชาชนที่อยู่ในเป้าหมายของโครงการมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นตามลำดับ แม้ว่าจะเป็นไปอย่างช้าๆ แต่สามารถพึ่งพาตนเองได้ มีทรัพยากรธรรมชาติที่จะได้ใช้อย่างยั่งยืน

ดังนั้นการพัฒนาชุมชนใดๆ ก็ตาม ตลอดจนถึงการพัฒนาในระดับกว้างถึงระดับประเทศ ถ้าการพัฒนาเป็นไปตามสภาพภูมิศาสตร์และภูมิสังคม โดยทำไปตามลำดับขั้นแล้วความสำเร็จย่อมมีมาก ปัญหาต่างๆ ก็จะน้อยลง ความก้าวหน้าของประเทศก็จะเดินไปด้วยความมั่นคง และอยู่ได้ด้วยการพึ่งพาตนเองทั้งเรื่องของเศรษฐกิจ เรื่องของทรัพยากรธรรมชาติ เทคโนโลยีที่เหมาะสมกับสภาพภูมิศาสตร์และประชากร และสังคมอยู่ร่วมกันด้วยความสามัคคี ประชาชนก็จะเป็นสุข