ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ตราสัญลักษณ์งานฉลองสิริราชสมบัติครบ ๕๐ ปี"

จาก WIKI84
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
 
(ไม่แสดง 1 รุ่นระหว่างกลางโดยผู้ใช้คนเดียวกัน)
บรรทัดที่ 2: บรรทัดที่ 2:


{| width="90%" border="0"
{| width="90%" border="0"
|width="220px" verticle="top"|[[ภาพ:Rama9-emblem-goldenjubilee.jpg|center|200px]]||align = "left" width="500px"|<div class="kindent">ตราสัญลักษณ์ งานฉลองสิริราชสมบัติ ครบ ๕๐ ปี ออกแบบโดย นางสาววิยะดา เจริญสุข (เป็นแบบตราที่ชนะการประกวดตราสัญลักษณ์งานดังกล่าวโดยกรมศิลปากร และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระบรมราชวินิจฉัยเพื่อแก้ไขปรับปรุงแบบ ตราเพิ่มเติมก่อนพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ใช้ได้) ประกอบด้วย พระราชลัญจกรประจำพระองค์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ ๙ เป็นหลักสำคัญ มีตราพระบรมราชวงศ์จักรี และพระมหาพิชัยมงกุฎอยู่ด้านบน เป็นเครื่องแสดงถึงความเป็นพระมหากษัตริย์แห่งพระมหาจักรีบรมราชวงศ์ มีพานเครื่องสูง ๒ ชั้น ที่มักอยู่ในมโนภาพของผู้คนทั่วไป เมื่อนึกถึงสัญลักษณ์ของรัฐธรรมนูญ อันเป็นเครื่องหมายแสดงถึงการปกครองในระบอบประชาธิปไตย โดยมีช้าง ๒ เชือก เทินตราพระราชลัญจกร อยู่ภายใต้พระเศวตฉัตร ซึ่งสามารถแปลความหมายได้หลายทาง ดังนี้
|width="220px" valign="top"|[[ภาพ:Rama9-emblem-goldenjubilee.jpg|center|200px]]||align = "left" width="500px"|<div class="kindent">ตราสัญลักษณ์ งานฉลองสิริราชสมบัติ ครบ ๕๐ ปี ออกแบบโดย นางสาววิยะดา เจริญสุข (เป็นแบบตราที่ชนะการประกวดตราสัญลักษณ์งานดังกล่าวโดยกรมศิลปากร และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระบรมราชวินิจฉัยเพื่อแก้ไขปรับปรุงแบบ ตราเพิ่มเติมก่อนพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ใช้ได้) ประกอบด้วย พระราชลัญจกรประจำพระองค์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ ๙ เป็นหลักสำคัญ มีตราพระบรมราชวงศ์จักรี และพระมหาพิชัยมงกุฎอยู่ด้านบน เป็นเครื่องแสดงถึงความเป็นพระมหากษัตริย์แห่งพระมหาจักรีบรมราชวงศ์ มีพานเครื่องสูง ๒ ชั้น ที่มักอยู่ในมโนภาพของผู้คนทั่วไป เมื่อนึกถึงสัญลักษณ์ของรัฐธรรมนูญ อันเป็นเครื่องหมายแสดงถึงการปกครองในระบอบประชาธิปไตย โดยมีช้าง ๒ เชือก เทินตราพระราชลัญจกร อยู่ภายใต้พระเศวตฉัตร ซึ่งสามารถแปลความหมายได้หลายทาง ดังนี้


๑. ช้าง เป็นพระราชพาหนะของพระเจ้าแผ่นดิน เป็นเสมือนข้าช่วงใช้ของพระมหากษัตริย์ จึงเปรียบได้กับประชาชน ซึ่งเสมือนเป็นข้ารับใช้ใต้เบื้องพระยุคลบาท ในสัญลักษณ์จึงเสมือนพสกนิกรเทิดทูนและเชิดชูองค์พระมหากษัตริย์ และพระบรมราชวงศ์จักรี ขณะเดียวกัน ก็อยู่เย็นเป็นสุข ภายใต้ร่มพระมหาเศวตฉัตร
๑. ช้าง เป็นพระราชพาหนะของพระเจ้าแผ่นดิน เป็นเสมือนข้าช่วงใช้ของพระมหากษัตริย์ จึงเปรียบได้กับประชาชน ซึ่งเสมือนเป็นข้ารับใช้ใต้เบื้องพระยุคลบาท ในสัญลักษณ์จึงเสมือนพสกนิกรเทิดทูนและเชิดชูองค์พระมหากษัตริย์ และพระบรมราชวงศ์จักรี ขณะเดียวกัน ก็อยู่เย็นเป็นสุข ภายใต้ร่มพระมหาเศวตฉัตร

รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 10:43, 8 ตุลาคม 2552

ตราสัญลักษณ์งานฉลองสิริราชสมบัติครบ ๕๐ ปี

ตราสัญลักษณ์ งานฉลองสิริราชสมบัติ ครบ ๕๐ ปี ออกแบบโดย นางสาววิยะดา เจริญสุข (เป็นแบบตราที่ชนะการประกวดตราสัญลักษณ์งานดังกล่าวโดยกรมศิลปากร และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระบรมราชวินิจฉัยเพื่อแก้ไขปรับปรุงแบบ ตราเพิ่มเติมก่อนพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ใช้ได้) ประกอบด้วย พระราชลัญจกรประจำพระองค์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ ๙ เป็นหลักสำคัญ มีตราพระบรมราชวงศ์จักรี และพระมหาพิชัยมงกุฎอยู่ด้านบน เป็นเครื่องแสดงถึงความเป็นพระมหากษัตริย์แห่งพระมหาจักรีบรมราชวงศ์ มีพานเครื่องสูง ๒ ชั้น ที่มักอยู่ในมโนภาพของผู้คนทั่วไป เมื่อนึกถึงสัญลักษณ์ของรัฐธรรมนูญ อันเป็นเครื่องหมายแสดงถึงการปกครองในระบอบประชาธิปไตย โดยมีช้าง ๒ เชือก เทินตราพระราชลัญจกร อยู่ภายใต้พระเศวตฉัตร ซึ่งสามารถแปลความหมายได้หลายทาง ดังนี้

๑. ช้าง เป็นพระราชพาหนะของพระเจ้าแผ่นดิน เป็นเสมือนข้าช่วงใช้ของพระมหากษัตริย์ จึงเปรียบได้กับประชาชน ซึ่งเสมือนเป็นข้ารับใช้ใต้เบื้องพระยุคลบาท ในสัญลักษณ์จึงเสมือนพสกนิกรเทิดทูนและเชิดชูองค์พระมหากษัตริย์ และพระบรมราชวงศ์จักรี ขณะเดียวกัน ก็อยู่เย็นเป็นสุข ภายใต้ร่มพระมหาเศวตฉัตร

๒. ช้างเผือก เป็นสัตว์คู่พระบารมีขององค์พระมหากษัตริย์ อีกทั้งตามความเชื่อของศาสนาพราหมณ์ ช้างเผือกที่มีลักษณะตรงตามตำรา จะมีส่วนช่วยเกิดทั้งแสนยานุภาพ และพระปรีชาสามารถ ความรอบรู้ แก่องค์พระมหากษัตริย์ จึงแสดงถึงความเป็นผู้มีบุญญาธิการ และทรงพระปรีชาญาณ

๓. ช้าง มีความเป็นมาคู่กับประวัติศาสตร์ของชาติมาโดยตลอด อีกทั้งเป็นสัญลักษณ์ที่เคยใช้ในธงชาติไทยในอดีต และเป็นสัตว์ที่มีอายุยืนยาว จึงเปรียบได้กับประเทศไทย ซึ่งก็มีอายุและประวัติศาสตร์อันยาวนานเช่นกัน

เหตุผลประกอบอื่นๆ ช้าง เป็นหนึ่งในสัตว์ที่ใกล้จะสูญพันธุ์ ที่สมควรช่วยกันอนุรักษ์ไว้ การนำมาใช้ในตราสัญลักษณ์ฯ ก็เพื่อหวังผลต่อเนื่อง ที่อาจจะช่วยกระตุ้นให้คนไทยเล็งเห็นความสำคัญ ของสัตว์ป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ และช่วยกันเกื้อกูลอนุรักษ์ไว้บ้าง และหากแม้ว่าวันข้างหน้าช้างสูญพันธุ์ไป อย่างน้อยก็ยังมีรูปพรรณ และความเป็นมาของช้าง หลงเหลือไว้ในตราสัญลักษณ์ฯ เพื่อให้คนรุ่นหลังได้ระลึกถึง

กรมศิลปากร มีความมุ่งหมายให้ตราสัญลักษณ์ สื่อความหมาย ดังนี้ คือ

๑. เป็นการเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และพระบรมราชวงศ์จักรี

๒. จะต้องแสดงให้ประจักษ์ในศิลปวัฒนธรรมของประเทศไทย ตลอดทั้งเอกลักษณ์ของชาติ อย่างถูกต้อง

๓. แสดงให้ประจักษ์ในความภาคภูมิใจ ที่ชาวไทยได้มี สมเด็จพระมหากษัตริยาธิราช ผู้ทรงพระปรีชาญาณยิ่ง และทรงปกครองประชนชาวไทย ในระบอบประชาธิปไตย อย่างร่มเย็นเป็นสุข มาถึง ๕๐ ปี

๔. แสดงให้ประจักษ์ในความเป็นชาติ ที่มีประวัติศาสตร์มายาวนาน