ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การใส่รูปภาพ"
(New page: {{Wiki subject}} ก่อนการใส่รูปภาพในบทความ จะต้องมีการอัปโหลดภาพเพื่อใช้งาน...) |
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
บรรทัดที่ 234: | บรรทัดที่ 234: | ||
image:Hoyaa03.jpg|โฮยา | image:Hoyaa03.jpg|โฮยา | ||
</gallery> | </gallery> | ||
---- | |||
Image markup คือรูปแบบคำสั่งกำกับการปรากฏของภาพในบทความ โดยทั่วไปจะมีลำดับการใช้คำสั่งตามลำดับต่อไปนี้ | |||
<center>'''<nowiki>[[Image:{name}|{type}|{location}|{size}|{caption}]]</nowiki>'''</center> | |||
จากคำสั่งข้างต้น เฉพาะคำสั่ง <nowiki>[[Image:{name}]]</nowiki> เท่านั้นที่จะต้องมีทุกครั้งเพื่อให้ปรากฏภาพในบทความ ส่วนคำสั่งอื่นๆ จะมีหรือไม่มีก็ได้ตามความต้องการ และอาจจะสลับตำแหน่งการวางลำดับคำสั่งได้ ความหมายของคำสั่งต่างๆ คือ | |||
*'''Name''': ชื่อของไฟล์ภาพที่เราต้องการ | |||
*'''Type''': รูปแบบภาพที่ต้องการแสดง ได้แก่ | |||
**"thumbnail" หรือ '''thumb''': ภาพซึ่งย่อสัดส่วนลงเป็นขนาดตามมาตรฐานที่ได้กำหนดค่าสำหรับภาพย่อไว้ หรือค่าปริยายคือ 180px และจะมีกรอบสี่เหลี่ยมล้อมภาพอีกที หากมีการกำหนดคำบรรยาย (caption) คำบรรยายจะปรากฏอยู่ใต้ภาพ โดยปกติภาพที่กำหนดให้เป็น thumb หากไม่ได้กำหนดตำแหน่งการปรากฏ ก็จะปรากฏอยู่ที่ด้านขวามือโดยปริยาย | |||
**"frame": การกำหนดให้แสดงภาพเท่าขนาดภาพจริง แต่ไม่เกินขนาดที่กำหนดที่ให้แสดงได้ (ตามค่าปริยายหรือที่กำหนดไว้) แล้วมีกรอบล้อมรอบภาพ หากมีการกำหนดข้อความบรรยายภาพข้อความจะอยู่ใต้ภาพ | |||
**''ไม่กำหนดรูปแบบ'' คือไม่ได้ใช้คำสั่งว่าให้ภาพปรากฏแบบใด ภาพจะปรากฏเท่าขนาดต้นฉบับแต่ไม่เกินขนาดที่กำหนดที่ให้แสดงได้ แล้วไม่มีกรอบล้อมรอบภาพ และหากมีการกำหนดคำบรรยายภาพก็จะไม่ปรากฏเช่นเดียวกัน | |||
*"Location": การกำหนดตำแหน่งที่ต้องการให้ภาพปรากฏ ได้แก่ | |||
**"right": ภาพจะปรากฏอยู่ด้านขวาของหน้า และข้อความจะล้อมภาพนั้น | |||
**"left": ภาพจะปรากฏอยู่ด้านซ้ายของหน้า และข้อความจะล้อมภาพนั้น | |||
**"center": ภาพจะปรากฏอยู่ตำแหน่งกลางของหน้า และความความหลังจากภาพจะไม่ล้อมรอบภาพ แต่จะปรากฏอยู่ด้านใต้ภาพต่อจากภาพ | |||
*'''Size''': โดยปกติหากใช้คำสั่งให้เป็นภาพประเภท "thumb" และไม่ได้กำหนดขนาด ภาพที่ปรากฏก็จะมีขนาดภาพย่อ 180px หากใช้คำสั่งภาพให้มีขนาด 100px ภาพก็จะปรากฏมีขนาดความกว้างเป็น 100px และหากใช้คำสั่งเป็น 100x200px ภาพจะปรากฏเป็นขนาดกว้าง 100px และสูง 200px ตามสัดส่วนจากภาพต้นฉบับ | |||
*'''Caption''': ข้อความบรรยายประกอบภาพที่จะปรากฏอยู่ใต้ภาพ | |||
---- | |||
[[หมวดหมู่:คู่มือการใช้งาน]] | [[หมวดหมู่:คู่มือการใช้งาน]] |
รุ่นแก้ไขเมื่อ 07:46, 5 พฤศจิกายน 2550
โครงสร้าง |
การแก้ไข้หน้าบทความ |
เทคนิคการแก้ไขหน้า |
ก่อนการใส่รูปภาพในบทความ จะต้องมีการอัปโหลดภาพเพื่อใช้งานเสียก่อน สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ การอัปโหลดภาพ ซึ่งจะบอกเนื้อหาเกี่ยวกับการอัปโหลดภาพ การดูภาพที่อัปโหลด และนโยบายการใช้ภาพที่มีในวิกิพีเดีย เมื่อเข้าใจเกี่ยวกับภาพอัปโหลดแล้ว ก็สามารถใส่รูปภาพในบทความได้ในลักษณะต่างๆ ดังนี้
ความรู้ทั่วไปในการใส่ภาพ
การปรับแต่งค่าภาพ
การปรับแต่งค่าภาพในที่นี้หมายถึง การกำหนดค่าภาพที่ต้องการให้ปรากฏเมื่อเป็นภาพย่อ (thumbnails) หรือภาพปกติ เราสามารถทำการตั้งค่ากำหนดได้เองโดยที่จะต้องทำการล็อกอินเข้าระบบเสียก่อน แล้วไปที่เมนู Special pages แล้วเลือกไปที่หัวข้อ preferences ไปที่ที่แถบเมนู Files เพื่อกำหนดค่าขนาดภาพที่ต้องการให้แสดงเมื่อกำหนดเป็นภาพย่อ ปกติถ้าเราไม่ได้กำหนดเป็นพิเศษภาพย่อจะแสดงเป็นค่าภาพอัตโนมัติที่ขนาด 180px แต่เมื่อเราต้องการกำหนดค่าเองสามารถเลือกให้แสดงได้ที่ค่า 120px, 150px, 180px, 200px, 250px หรือ 300px ในหน้าเดียวกันนี้เรายังสามารถกำหนดค่าภาพที่จะแสดงในหน้า image description pages (หน้าที่อยู่ภาพหลังการอัปโหลด) ซึ่งปกติจะกำหนดเป็นค่าปริยายที่ ความกว้างหรือความสูงไม่เกิน 800x600px แต่เราสามารถกำหนดให้ภาพแสดงได้ขนาดต่างๆ ดังนี้ 320x240px, 640x480px, 800x600px, 1024x768px, 1280x1024px, หรือ 10000x10000px เมื่อภาพต้นฉบับมีขนาดเกินค่าดังกล่าวก็จะมีการลดขนาดภาพให้ปรากฏไม่เกินขนาดที่กำหนด
การใช้ภาพ
การใส่ภาพให้ปรากฏในบทความ จะต้องใช้คำสั่งกำหนดให้ภาพปรากฏ นอกจากการแสดงภาพแล้ว อาจจะมีการกำหนดข้อความกำกับใต้ภาพ ตำแหน่งของภาพที่จะปรากฏเป็นต้น ซึ่งจะมีคำสั่งการกำกับภาพ (image markup) เพื่อให้ภาพปรากฏตามคำสั่งต่อไปนี้:
จากตัวอย่างภาพด้านขวาจึงใช้คำสั่งกำกับภาพดังต่อไปนี้
[[Image:Butterfly311049.jpg|thumb|right|ตัวอย่างภาพ]]
นโยบายการใช้ภาพ
ในการเลือกใช้ภาพหรือใส่ภาพในบทความ ควรมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับนโยบายการใช้ภาพ เพื่อให้สอดคล้องกับเงื่อนไขของ GNU Free Documentation License
การใส่ภาพปกติ
โดยปกติเราสามารถใส่ไฟล์ภาพโดยใช้คำสั่งง่ายว่า
[[ภาพ:Kletkrahoo.jpg]]
ซึ่งในกรณีนี้เราอาจจะพิมพ์คำสั่งเอง หรือทำแถบสีที่ชื่อไฟล์ภาพ แล้วคลิกที่ไอคอน ไฟล์:Image icon.png ที่แถบเครื่องมือก็ได้ การใช้คำสั่งดังกล่าวภาพที่ได้จะมีขนาดเท่าภาพจริง และข้อความจะอยู่แถวเดียวกับภาพ ไม่ล้อมรูปภาพ เมื่อเราเพิ่มภาพเข้าในตำแหน่งใดของข้อความภาพจะอยู่ในช่วงตำแหน่งนั้น ตัวอย่างเช่น
ว่ากันด้วยเรื่องชื่อดอกไม้ ต้นไม้ บ่อยๆ ครั้งก็ทำเอางง เพราะต้นบางต้นหลายๆ ที่ หลายๆ คน ก็มีชื่อเรียกต่างๆ กัน จริงๆ แล้วคือต้นเดียวกันเลยมีหลายชื่อ โดยเฉพาะถ้าอยู่กันคนละภาค บางต้น บางดอก ชื่อแทบจะไม่สัมพันธ์กันเลย ซึ่งก็จะเป็นเรื่องของวัฒนธรรมภาษาพื้นเมืองด้วย อย่าง มหาหงส์ ทางภาคเหนือก็จะมีเรียกว่า "เหินคำ" เป็นต้น ลองมาคุยกันเล่นๆ เรื่องชื่อทั่วๆ ไปที่เรารู้จักกันบ้างว่า เขาตั้งชื่อกันยังไง
หากว่ากันเรื่องชื่อ ที่จะหนีไปได้ก็คงจะเป็นเรื่องของความไพเราะ จริงๆ ความไพเราะของแต่ละคนก็คงไม่เหมือนกัน ฉันสังเกตว่าเดี๋ยวนี้คนนิยมไม้มงคลกันมากขึ้น พอมีต้นสายพันธุ์ผสมชนิดใหม่ๆ โดยเฉพาะพวกว่าน ชื่อมงคลที่ว่าส่วนใหญ่ก็จะเป็นอะไรที่ให้ความสบายใจ ให้กำลังใจผู้ปลูก ประมาณว่าเกี่ยวกับ เงินทอง และความมีทรัพย์ จึงมีชื่อที่เกี่ยวในทำนองนี้อยู่มาก ไฟล์:Kletkrahoo02.jpgเช่น รวยไม่เลิก, เงินเต็มบ้าน, เงินไหลมา, ทองไหลมา, อุดมทรัพย์, เศรษฐีเรือนใน หรือถุงเงินถุงทอง เป็นต้น ก็ถือว่าทำให้ผู้ปลูกรู้สึกว่าเป็นมงคล สบายใจ ก็จะรู้สึกชอบไปอีกแบบ แต่สำหรับฉันชื่อเหล่านี้ทำให้นึกถึงความสวยไม่ออก ก็เลยไปชอบเอาชื่อแบบฟังแล้วเพราะ อย่างชื่อดอกไม้ไทยเดิมก็มีเพราะๆ ได้ยินแล้วรื่นหู อย่าง ราชพฤกษ์, รสสุคนธ์, สร้อยฟ้า, สร้อยระย้า, มุจรินทร์, แก้วเจ้าจอม, หงส์เหิร, อุณากรรณ, สุพรรณิการ์, หิรัญญิการ์, เสาวรส, แก้ว หรือดาวประดับ เป็นต้น
การกำหนดตำแหน่งภาพ
การกำหนดตำแหน่งภาพให้อยู่ในตำแหน่งที่ต้องการ สามารถทำได้ไม่ยากโดยการใช้คำสั่งต่อไปนี้
ภาพอยู่ตำแหน่งขวาของข้อความ
เมื่อต้องการให้ภาพอยู่ในตำแหน่งขวาของข้อความคำสั่งที่ใช้คือ
[[ภาพ:kannikaa.JPG|right]]
ตัวอย่างเช่น
ว่ากันด้วยเรื่องชื่อดอกไม้ ต้นไม้ บ่อยๆ ครั้งก็ทำเอางง เพราะต้นบางต้นหลายๆ ที่ หลายๆ คน ก็มีชื่อเรียกต่างๆ กัน จริงๆ แล้วคือต้นเดียวกันเลยมีหลายชื่อ โดยเฉพาะถ้าอยู่กันคนละภาค บางต้น บางดอก ชื่อแทบจะไม่สัมพันธ์กันเลย ซึ่งก็จะเป็นเรื่องของวัฒนธรรมภาษาพื้นเมืองด้วย อย่าง มหาหงส์ ทางภาคเหนือก็จะมีเรียกว่า "เหินคำ" เป็นต้น ลองมาคุยกันเล่นๆ เรื่องชื่อทั่วๆ ไปที่เรารู้จักกันบ้างว่า เขาตั้งชื่อกันยังไง
หากว่ากันเรื่องชื่อ ที่จะหนีไปได้ก็คงจะเป็นเรื่องของความไพเราะ จริงๆ ความไพเราะของแต่ละคนก็คงไม่เหมือนกัน ฉันสังเกตว่าเดี๋ยวนี้คนนิยมไม้มงคลกันมากขึ้น พอมีต้นสายพันธุ์ผสมชนิดใหม่ๆ โดยเฉพาะพวกว่าน ชื่อมงคลที่ว่าส่วนใหญ่ก็จะเป็นอะไรที่ให้ความสบายใจ ให้กำลังใจผู้ปลูก ประมาณว่าเกี่ยวกับ เงินทอง และความมีทรัพย์ จึงมีชื่อที่เกี่ยวในทำนองนี้อยู่มาก เช่น รวยไม่เลิก, เงินเต็มบ้าน, เงินไหลมา, ทองไหลมา, อุดมทรัพย์, เศรษฐีเรือนใน หรือถุงเงินถุงทอง เป็นต้น ก็ถือว่าทำให้ผู้ปลูกรู้สึกว่าเป็นมงคล สบายใจ ก็จะรู้สึกชอบไปอีกแบบ แต่สำหรับฉันชื่อเหล่านี้ทำให้นึกถึงความสวยไม่ออก ก็เลยไปชอบเอาชื่อแบบฟังแล้วเพราะ อย่างชื่อดอกไม้ไทยเดิมก็มีเพราะๆ ได้ยินแล้วรื่นหู อย่าง ราชพฤกษ์, รสสุคนธ์, สร้อยฟ้า, สร้อยระย้า, มุจรินทร์, แก้วเจ้าจอม, หงส์เหิร, อุณากรรณ, สุพรรณิการ์, หิรัญญิการ์, เสาวรส, แก้ว หรือดาวประดับ เป็นต้น แล้วชื่อน่ารักอย่าง ย่าหยา ก็ยังได้เอามาตั้งเป็นชื่อของเพื่อนตัวน้อยฉัน แต่หลังๆ คนในบ้านเรียกแต่ "ไอ้หยา" กลัวอยู่ว่าสักวันมันจะไม่รู้ชื่อจริงของตัวเอง ความไพเราะของชื่อเวลาได้ยินได้ฟัง ก็ชวนให้เราคิดตามเหมือนกัน เคยมีคนรู้จักคนหนึ่ง เขาบอกฉันว่า ชื่อดอกมธุรดาก ็แปลกเนอะ ทำไมให้ชื่อมธุรดา เพราะมันแปลว่าดอกไม้ที่มีความหอมหวาน แต่ดอกมันไม่หอม คำพูดเขาทำให้ฉันต้องสะดุดคิด และชื่นชมในความละเอียดอ่อน ที่ว่าอย่างนี้เพราะเขาเป็นผู้ชาย ที่ทำงานทางด้านเกษตร ฉันไม่คิดว่าเขาจะสนใจรายละเอียดทางภาษา ตัวฉันเองยังไม่เคยได้ฉุกคิดถึงชื่อนี้
ภาพอยู่ตำแหน่งขวาของข้อความมีคำบรรยายใต้ภาพ
เมื่อต้องการให้ภาพอยู่ในตำแหน่งขวาของข้อความ และมีคำบรรยายใต้ภาพด้วย คำสั่งที่ใช้คือ
[[ภาพ:Raachaawadii.JPG|frame|right|ราชาวดีกับผีเสื้อ]]
ผลที่ได้คือ
และก็จะมีชื่อที่เรารู้จักหลายๆ ชื่อ จะเห็นว่าฟังชื่อแล้วนึกถึงหน้าตา หรือรูปลักษณ์ของต้นไม้ได้ไม่ยาก นั่นคือพยายามตั้งชื่อให้พ้องกับลักษณะต่างๆ โดยเฉพาะลักษณะดอกของต้นนั้นๆ เช่น ต้นไก่ฟ้า หรือไก่ฟ้าพญาลอ หน้าตาเหมือนไก่ฟ้ายังกะแกะ, ไข่ดาวดอกเหมือนไข่ดาวมีไข่แดงตรงกลาง, โคมญี่ปุ่นทรงเหมือนโคมไฟกระดาษห้อย, ถ้วยทองเหมือนถ้วยทองรางวัลทั้งสีทั้งดอก, แตรนางฟ้ามีปากดอกบานรูปร่างเหมือนปากแตร ดอกสีสะอาดตาทรงดอกยาวเหมือนกระโปรงยาวบาน ชื่อสามัญภาษาอังกฤษเองก็เรียกว่า "Angel trumpet", ผีเสื้อแสนสวยมีดอกน่ารักเหมือนตัวผีเสื้อเกาะบนพุ่มไม้ ชื่อสามัญภาษาอังกฤษก็ว่า "Blue butterfly", พัดโบกหน้าตาเหมือนพัดโบกโบราณด้ามจิ๋วเล็กๆ, พุดตะแคงมีดอกเอียงๆ ตะแคงข้าง, พุดแตรงอนมีปากดอกบานๆ เหมือนปากแตรแต่งอนโค้งตรงปลาย, ใบระบาดเ ป็นเพราะใบโตและขยายรวดเร็ว แต่ก็เคยได้ข้อมูลมาว่าจริงๆ แล้วคือชื่อใบระบาตรเพราะรูปทรงคล้ายและขนาดเกือบเท่าบาตรพระ ข้อเท็จจริงยังไงฉันก็ยังไม่แน่ใจ, หญ้าหนวดแมวดอกมีเส้นยาวๆ คล้ายหนวดแมวชื่อสามัญภาษาอังกฤษก็ว่า "Cat's whiskers" และก็มีอีกหลายๆ ดอกตั้งชื่อตามสีของดอก อย่าง พุดชมพูดอกมีสีชมพูคืออีกชื่อของอุณากรรณ, ม่วงมณีรัตน์ดอกมีสีม่วง, เหลืองชัชวาลดอกสีเหลือง, ชมพูฮาวายดอกสีชมพู ขิงแดงเป็นพืชตระกูลขิงมีดอกสีแดง,พวงหยกดอกมีสีเขียวเหมือนสีของหยก หรือใบไม้สีทอง ใบเป็นสีทองเป็นต้น และการตั้งชื่ออีกแบบก็จะเป็นการบอกลักษณะของชนิดดอกที่ต่างกันในประเภทเดีย วกัน เช่น มีชื่อห้อยตามด้วยคำว่า "ลา" หมายถึงกลุ่มที่มีกลีบดอกชั้นเดียว แต่ถ้าว่า "ซ้อน" คือกลีบดอกมีหลายชั้น อย่างเช่น โมกลา/โมกซ้อน, มะลิลา/มะลิซ้อน, ชบาลา/ชบาซ้อน, บานบุรีซ้อน หรือเล็บมือนางดอกลา เป็นต้น แล้วถ้ากลุ่มที่มีใบด่างๆ ก็จะมีชื่อด่างห้อยท้าย เช่น โมกด่าง, พุดจีบด่าง ถ้าเป็นพันธุ์ขนาดเล็ก ก็จะมีคำว่าแคระต่อท้าย อย่างโมกแคระ เป็นต้น
ภาพอยู่ตำแหน่งซ้ายของข้อความ
การวางตำแหน่งภาพอยู่ด้านซ้ายมีคำสั่งแบบเดียวกับการวางภาพที่ด้านขวานั่นคือ
[[ภาพ:Phuuangkhraam.JPG|left]]
ผ่านพ้นสีสันแห่งดอกไม้เมืองหนาว บรรยากาศของปีใหม่ยังไม่จางหาย ล้มร้อนก็มาย่างกราย หรือเป็นเพราะโลกร้อนขึ้นทุกวัน จึงรู้สึกว่าอากาศเย็น ๆ หนาว ๆ มีเพียงแค่ช่วงสั้น ๆ ยิ่งพอถึงเมษายนร้อนจนเจ้าหมูหยองที่บ้านนั่งลิ้นห้อยน้ำลายหยดติ๋ง ๆ ระบายความร้อน แต่ร้อนนี้ฉันรู้สึกแปลก ๆ กว่าทุกปี ที่ว่าอย่างนี้
ก็เพราะฉันเพิ่งสังเกตว่าในแสงแดดลมร้อนที่แผดเผา มีสีสันที่สดใสของดอกไม้ในสายลมร้อนสอดแทรกมาดับความร้อน เพิ่มความสดใส ที่บอกว่าเพิ่งสังเกตนั่นก็เป็นเพราะฉันเพิ่งมาหมกมุ่นกับต้นไม้ใบหญ้าอย่าง จริงจังเมื่อไม่นานนี่เอง ดังนั้นต้นไม้ที่ไหน ๆ ไม่ว่าจะเป็นดอกหญ้า จนถึงต้นสูงเสียดฟ้าก็จะผ่านสายตาเข้ามาประทับอยู่ในใจฉัน จากแต่เดิมที่มองต้นไม้สองข้างทางว่าเป็นต้นไม้ใหญ่มีใบสีเขียว จะฤดูไหนมันก็เป็นแบบนั้น แต่ฉันเพิ่งรู้ว่าในสายลมร้อน ไม้ใหญ่ต่างแข่งกันผลิดอกเปล่งสีสัน ทั้งเหลือง แดง เขียว ขาว ม่วง ชมพู ทำให้เริ่มรู้สึกว่าในลมร้อนนี้มีเสน่ห์อะไรให้น่าค้นหา นับแต่ช่อพวงสีเหลืองอร่ามเต็มต้นของ "ราชพฤกษ์" หรือ "คูณ" หรือเรียกแบบเข้ากับบรรยากาศจริง ๆ ว่า "ลมแล้ง" ราชพฤกษ์เป็นต้นไม้ประจำชาติไทย นอกจากสีสันสดใสจึงเพิ่มความรู้สึกเด่นตระการตาเข้าไปด้วย โดยเฉพาะบางต้นผลัดใบจนไม่เหลือมองเห็นแต่ดอกเหลืองอร่ามไปทั้งต้น
ที่บานแข่งกับชมพูพันธ์ทิพย์ คือสีแดงและขาวของทองหลางด่าง ให้ตายเถอะฉันเพิ่งรู้ว่าทองหลางด่างใบสวย ๆ นั้นมีดอก และดอกเมื่อบานเต็มต้น ในขณะที่ผลัดใบทิ้งนั้น เหมือนกับว่าเป็นคนละต้น เมื่อไม่มีดอกก็ให้ดูใบสวย แต่ก็ไม่เพียงแต่ฉันที่ไม่เคยใช้สายตาไว้มองสูง ๆ สังเกตดอกสวย ฉันชี้ให้เพื่อนคนอื่น ๆ ดู ว่านี่ดอกของทองหลางด่างนะ นี่สีแดง นี่สีขาว ทุกคนก็ตื่นเต้น และก็พูดเหมือนกันว่าเอ้ามีดอกด้วยเหรอ ดอกมันสวยมากเลยนะ
ภาพอยู่ตำแหน่งซ้ายไม่ให้ข้อความล้อมรอบภาพ
จากคำสั่งข้างบนคือการเลือกให้ภาพอยู่ในตำแหน่งที่กำหนดโดยมีข้อความล้อมรอบ แต่หากไม่ต้องการให้ข้อความล้อมรอบภาพ ก็สามารถใช้คำสั่งดังตัวอย่างต่อไปนี้
[[ภาพ:Phiisvva.JPG|none]]
จากตัวอย่างการใช้คำสั่งภาพดังนี้
สำหรับกลุ่มสีออกม่วงที่คุ้นตา บานสะพรั่งไม่ขาดสายทั่วทุกที่ ดอกไม้ธรรมดาที่เห็นอยู่ทั่วไป แต่ยิ่งดูยิ่งสวยสบายตา คือกลุ่มตะแบก อินทนิล และเสลา ซึ่งจนถึงป่านนี้ฉันก็ยังมึนงงสับสนในการจำแนก ว่าต้นไหนชื่ออย่างไร รู้เพียงว่าอยู่กลุ่มเดียวกัน และเมื่อออกสะพรั่งเต็มต้นสวยมากในความรู้สึก เป็นต้นที่คุ้นตามาตั้งแต่เด็ก แต่ต้นไหนก็เรียกตะแบกเหมือนกันหมด จึงติดปากมาถึงทุกวันนี้
อีกเหลืองที่บานสะพรั่งสดใส และโดดเด่น คือ "เหลืองปรีดียาธร" ฉันอดไม่ได้ที่จะมองอย่างหลงใหลทุกครั้งที่ผ่านต้นเหลืองปรีดียาธรสองข้างเส ้นทางถนน ดอกเหลืองเต็มต้นสวยเหลือเกิน ทำให้นึกถึงคำถามของเพื่อนญี่ปุ่นของฉันคนหนึ่งว่า "ทำไมเมืองไทยมีแต่ดอกไม้สีเหลือง ?" จริงสิเนอะ! คงจะเป็นแบบที่เขาพูด บ้านเราดอกไม้สีเหลืองเยอะโดดเด่นจริง ๆ ฉันเองก็ไม่รู้จริง ๆ และเพิ่งสังเกตเห็นตามที่เขาว่า ฉันจึงได้แต่บอกเขาตามการสันนิษฐานเอาว่า ประการแรกคงเป็นเรื่องของความเหมาะสมทางชีวภาพ อาจจะบังเอิญที่ต้นไม้หลาย ๆ ต้น ที่เติบโตได้ดีแบบสภาพแวดล้อมในเมืองไทยมีดอกสีเหลือง และประการที่สองเป็นไปได้ที่ว่าเป็นเรื่องของความนิยม สีเหลืองคงเหมือนสีดั่งทอง ถือเป็นศิริมงคล เลยนิยมปลูกกัน แต่นั่นเป็นเหตุผลที่ฉันเดาไปนะ และก็กำชับเขาไปอย่างดีว่ามันอาจจะไม่ใช่ เขาก็บอกว่าที่ฉันพูดนั้นเป็นไปได้
การทำเป็นภาพย่อ
หากภาพที่อัปโหลดเข้ามีขนาดใหญ่กว่าภาพที่ต้องการแสดง นอกจากการกำหนดภาพด้วยคำสั่งให้แสดงภาพตามขนาดที่ต้องการเป็นพิกเซลแล้ว การแสดงภาพด้วยวิธีการจำลองให้เป็นภาพเล็กกว่าปกติ พร้อมมีกรอบและข้อความบรรยายใต้ภาพเป็นวิธีที่ใช้บ่อยซึ่งเรียกว่าการทำเป็นภาพย่อ (thumbnailing) แต่ในการทำเป็นภาพย่อภาพจะถูกกำหนดให้แสดงผลโดยลดขนาดอัตโนมัติ เมื่อผู้ใช้คลิกที่ภาพจึงจะเห็นภาพจริงขนาดต้นฉบับ ผู้ใช้บางท่านอาจจะมีความต้องการใช้ภาพขนาดย่อไม่เท่ากัน ถึงแม้ว่าภาพจะถูกกำหนดให้ย่อขนาดอัตโนมัติ ซึ่งจะมีขนาดปริยายที่ 180px แต่ผู้ใช้สามารถกำหนดให้มีขนาด 120px, 150px, 180px, 200px, 250px, และ 300px ได้วิธีใช้คำสั่งเพื่อย่อภาพและแสดงคำบรรยายใต้ภาพคือ
[[Image:Ch@@ngnaang.jpg|thumb|ช้องนาง]]
ตัวอย่างการทำเป็นภาพย่อได้แก่
เยอะเอามาก ๆ ทีเดียว พูดถึงทั้งหมดคงจะไม่ไหวเป็นแน่ อย่างช่วงนี้ดอกสีเหลืองของต้นนนทรี และประดู่อังสนาก็เริ่มแตกดอกบานสะพรั่ง ฉันรู้สึกว่าร้อนนี้สีสันสดใสของดอกไม้ ทำให้หัวใจของฉันแช่มชื่น ลืมความร้อนอบอ้าวของลมร้อนไปได้เป็นพัก ๆ ถ้าต้องแลกกับได้ชมสีสันสวยสดใสของดอกไม้ที่เห็นได้แต่ในช่วงนี้ เมื่อเร็ว ๆ นี้ ฉันได้มีโอกาสพบกับเพื่อนคนหนึ่งที่เราเคยคุ้นเคยกัน ก่อนที่จะห่าง ๆ กันไป ในช่วงเวลาที่เรารู้จักกันนั้น ฉันยังไม่ได้มองรายละเอียดของต้นไม้อย่างที่มองเหมือนทุกวันนี้ และก็เหมือนเขาที่มองต้นไม้แบบมองตรงไม่ได้แหงนมอง ฉันอยากรู้ว่าเขาจะรู้มั๊ยว่าดอกไม้ในลมร้อนสวยแค่ไหน ฉันถามเขาว่าเขามองต้นไม้รอบตัวอย่างไร เห็นว่ามีดอกมั๊ย และต้นไหนดอกสีอะไร หรือรับรู้เพียงแค่ว่าต้นไม้รอบตัวมีใบสีเขียว เขาตอบว่าอาจจะเป็นอย่างนั้น แต่ถ้ามีดอกเยอะ ๆ ก็อาจจะสังเกตเห็นนะ ฉันบอกว่าเขาว่าลองดูใหม่นะ มองหาดอกไม้ของทุกต้น แล้วจะทำให้ต้นไม้ที่อยู่รอบตัวเขานั้นดูสวยสดใสขึ้นเป็นกอง และจะทำให้เขารู้สึกได้ความสดชื่นจากต้นไม้รอบ ๆ ตัวเขามากขึ้น เขาบอกว่าจะลองดู คำตอบนี้ทำให้ฉันรู้สึกดีใจมาก อย่างน้อยก็รู้สึกว่าอาจจะมีคนชอบดอกไม้มากขึ้น และฉันอยากให้เขามีความสุขจากการได้มองได้เห็นดอกไม้นั้น เป็นความสุขง่าย ๆ ที่เก็บเกี่ยวได้ด้วยตัวเอง
การเปลี่ยนขนาดภาพ
หากต้องการแสดงผลภาพเป็นภาพขนาดเล็กกว่าภาพจริงโดยที่ไม่ได้ต้องการให้เป็นภาพย่อ (thumbnail) แต่ต้องการกำหนดภาพอิสระมีขนาดตามความพอใจ ก็สามารถใช้คำสั่งให้ภาพปรากฏตามขนาดที่ต้องการได้ จากตัวอย่างคำสั่งต่อไปนี้
ลดขนาดเล็กกว่าภาพจริง
[[Image:Kradumth@@ng.JPG|200px]]
แสดงผลดังนี้
เพิ่มขนาดใหญ่กว่าภาพจริง
[[Image:Kradumth@@ng.JPG|500px]]
แสดงผลดังนี้
การกำหนดหลายคำสั่งพร้อมกัน
หากเราต้องการให้ภาพต้นฉบับปรากฏในลักษณะต่างๆ หลายความต้องการพร้อมกัน ก็สามารถใช้ทุกคำสั่งพร้อมกันได้ ตัวอย่างเช่น ต้องการให้ภาพข้างบนปรากฏเป็นภาพย่อ มีข้อความใต้ภาพ มีขนาด 300 พิกเซล และมีตำแหน่งภาพอยู่ตรงกลางหน้า สามารถใช้คำสั่งได้ดังต่อไปนี้
[[Image:Kradumth@@ng.JPG|thumb|300px|center|กระดุมทอง]]
แสดงผลคำสั่งดังนี้
สถานราชการ ป่าไม้ โรงเรียน หากส่งเสริมสนับสนุนให้ปลูกไม้ไทยๆ กัน ไม่ให้สูญไป ก็จะเป็นที่ที่มีเสน่ห์ไม่เบา ช่วยให้เยาวชน และคนไทยรู้จักพรรณไม้ไทยๆ ได้เห็นคุณค่าและความงามยิ่งๆ ขึ้น ก็ลองดูกระดังงาในรูปสิ ลองจินตนาการ ต้นสูงๆ มีดอกย้อยเป็นพวงๆ ทั้งต้น จะสวยขนาดไหน
เดินๆ ไป ชมนก ชมไม้ ตามริมสระริมคลองก็จะมีพรรณไม้น้ำนาๆ บัว, อเมซอน, พลับพลึงแดง, พลับพลึงตีนเป็ด, คล้าน้ำช่อห้อย, พุทธรักษา หรือพุทธรักษาด่าง มีให้เห็นเป็นระยะ และมาแวะที่ซุ้มพรรณไม้ในร่ม เสียค่าเข้าชม ๑๐ บาท คุ้มแสนคุ้ม เป็นลักษณะโดมใหญ่ ปลูกพรรณไม้ที่ไม่ต้องการท้าทายแสงแดดจัด ปลูกและดูแลอย่างดี แต่ละต้นจึงดูงามทั้งดอกทั้งใบ ที่นี่ฉันได้รู้จักพรรณไม้ในร่มอีกมากมาย โดยเฉพาะใครที่ชื่นชอบบีโกเนียก็มีพันธุ์หลายหลากให้ชม คล้าหลายชนิด พืชไม้ใบอย่างตระกูลฟิโล, เฟิร์น, แอนทูเรียม, พิศเพลิน, ร่มญี่ปุ่น และไม้พุ่มคลุมดินกลุ่มพรมออสเตรเลีย, พรมญี่ปุ่น, ระฆังทอง, ไม้เลื้อยอย่างพลูฉลุ ราชินีสีทอง ราชินีหินอ่อน พลูลงยา หัวใจแนบ มากมายเยอะแยะให้ชมกันเต็มอิ่ม และฉันได้รู้จักต้นไม้แปลกๆ หลายต้นที่ไม่เคยเห็นมาก่อน อย่าง เนระพูสีไทย หรือค้างคาวดำ, เหยื่อกุรัม, ผักหนามอเมซอน หรือผักหนามอินโดนีเซีย เป็นต้น
การใส่หลายรูปพร้อมกัน
ในบางกรณีเราอาจจะมีความต้องการใส่หลายรูปพร้อมกัน ก็สามารถทำได้ โดยใช้คำสั่ง วิธีการใช้คำสั่งหนึ่งที่นิยมคือการใช้คำสั่งเช่นเดียวกับการทำตาราง ตัวอย่างเช่น หากต้องการวางสองรูป โดยให้ตำแหน่งภาพอยู่ตรงกลาง เป็นภาพย่อ มีขนาด 250 พิกเซล แต่ละภาพมีข้อความใต้ภาพสามารถใช้คำสั่งได้ดังนี้
{|align="center" |- | [[image:phxxngphuuaj.JPG|thumb|250px|แพงพวย]] | [[image:phutchomphuu.JPG|thumb|250px|อุณากรรณ]] |}
ผลจากคำสั่งได้ดังนี้
การลิงก์ไปรูปภาพโดยไม่แสดงภาพ
ในกรณีที่ต้องการลิงก์ไปยังรูปภาพ โดยไม่แสดงภาพ สามาถทำได้โดยใช้คำสั่งดังตัวอย่างต่อไปนี้
[[Media:kxxw.JPG|ดอกแก้ว]]
ผลของคำสั่งคือ
หรือแสดงเป็นชื่อของภาพโดยไม่แสดงภาพ โดยใช้คำสั่งนี้
[[:Image:kxxw.JPG]]
ผลของคำสั่งคือ
การสร้างคลังภาพ (gallery)
เมื่อต้องการแสดงภาพเป็นชุด เช่นเดียวกับอัลบั้มภาพ คือมีหลายภาพในหน้าเดียวกัน ในวิกิพีเดียสามารถใช้คำสังแบบง่ายๆ เพื่อให้แสดงผลภาพเป็นชุดได้ โดยภาพที่แสดงเป็นชุดนั้นจะมีลักษณะคล้ายกับภาพย่อและคลิกเพื่อดูภาพจากต้นฉบับจริง ในการใช้คำสั่งการแสดงภาพเป็นชุดนี้ภาพจะมีการย่อขนาดอัตโนมัติ สามารถแสดงข้อความใต้ภาพซึ่งสามารถทำเป็นลิงก์ไปที่เนื้อหาบทความที่เกี่ยวข้องได้ตามต้องการ ตัวอย่างคำสั่งของการแสดงภาพเป็นชุดมีดังนี้
<gallery> mage:Thaantawan.jpg|ทานตะวัน Image:Mali02290649.JPG|มะลิ Image:Poojsiian02.JPG|โป้ยเซียน Image:Phaksiian.JPG|ผักเสี้ยนสีม่วง </gallery>
เมื่อแสดงผลจะปรากฏภาพดังนี้
-
ทานตะวัน
-
มะลิ
-
โป้ยเซียน
-
ผักเสี้ยนสีม่วง
จากตัวอย่างข้างต้นยังสามารถเพิ่มข้อความที่ต้องการแทรกได้ เช่น ต้องหารจัดชุดรูปภาพเป็นชุดดอกไม้สีต่างๆ โดยใช้คำสั่งต่อไปนี้
<gallery> ดอกไม้สีขาว image:Phuuangkxxwkudan.jpg|[[พวงแก้วกุดั่น]] image:Phuuangchomphuu.JPG|พวงชมพูขาว image:Phutthachaatluuang01N.jpg|พุทธชาติหลวง image:Naangzuua.jpg|นางอั้วแก้มช้ำ image:Malulii.jpg|มะลุลี image:Mali02290649.JPG|มะลิซ้อน image:Thiwaa04N.JPG|ทิวา ดอกไม้สีแดง image:Yaangn@ngthaw.jpg|ยางน่องเถา image:Poojsiian02.JPG|โป้ยเซียน image:Mikkii.jpg|มิกกี้เม้าส์ image:Hoya01.JPG|โฮยา image:Paaloosxxnthoot.jpg|ปาโลแซนโทส image:Pattaawiia.jpg|ปัตตาเวีย image:Phuuangnaak01230749.JPG|พวงแก้วแดง ดอกไม้สีม่วง image:Thiianyot.jpg|เทียนหยด image:Phaksiian.JPG|ผักเสี้ยนสีม่วง image:Zanchan03N.jpg|อัญชัญ image:Mawxxngtheet.jpg|มะแว้งเทศ image:Thiian.jpg|เทียนดอย image:Sangk@@raniisiimuuang.jpg|สังกรณีสีม่วง image:S@jzinthanin.JPG|สร้อยอินทนิล ดอกไม้สีเหลือง image:Deesii.jpg|ดาลเบิร์กดเซี่ image:Mikkii-yellow.jpg|มิกกี้เม้าส์ image:Chaangnaaw.jpg|ช้างน้าว image:Thaantawan.jpg|ทานตะวัน image:Buuat@@ng4.jpg|บัวตอง image:Buuabaa.jpg|บัวบา image:Hoyaa03.jpg|โฮยา </gallery>
แสดงผลดังนี้ และดูตัวอย่างการลิงก์ไปบทความที่ "พวงแก้วกุดั่น"
-
-
พวงชมพูขาว
-
พุทธชาติหลวง
-
นางอั้วแก้มช้ำ
-
มะลุลี
-
มะลิซ้อน
-
ทิวา
-
-
ยางน่องเถา
-
โป้ยเซียน
-
มิกกี้เม้าส์
-
โฮยา
-
ปาโลแซนโทส
-
ปัตตาเวีย
-
พวงแก้วแดง
-
-
เทียนหยด
-
ผักเสี้ยนสีม่วง
-
อัญชัญ
-
มะแว้งเทศ
-
เทียนดอย
-
สังกรณีสีม่วง
-
สร้อยอินทนิล
-
-
ดาลเบิร์กเดซี่
-
มิกกี้เม้าส์
-
ช้างน้าว
-
ทานตะวัน
-
บัวตอง
-
บัวบา
-
โฮยา
Image markup คือรูปแบบคำสั่งกำกับการปรากฏของภาพในบทความ โดยทั่วไปจะมีลำดับการใช้คำสั่งตามลำดับต่อไปนี้
จากคำสั่งข้างต้น เฉพาะคำสั่ง [[Image:{name}]] เท่านั้นที่จะต้องมีทุกครั้งเพื่อให้ปรากฏภาพในบทความ ส่วนคำสั่งอื่นๆ จะมีหรือไม่มีก็ได้ตามความต้องการ และอาจจะสลับตำแหน่งการวางลำดับคำสั่งได้ ความหมายของคำสั่งต่างๆ คือ
- Name: ชื่อของไฟล์ภาพที่เราต้องการ
- Type: รูปแบบภาพที่ต้องการแสดง ได้แก่
- "thumbnail" หรือ thumb: ภาพซึ่งย่อสัดส่วนลงเป็นขนาดตามมาตรฐานที่ได้กำหนดค่าสำหรับภาพย่อไว้ หรือค่าปริยายคือ 180px และจะมีกรอบสี่เหลี่ยมล้อมภาพอีกที หากมีการกำหนดคำบรรยาย (caption) คำบรรยายจะปรากฏอยู่ใต้ภาพ โดยปกติภาพที่กำหนดให้เป็น thumb หากไม่ได้กำหนดตำแหน่งการปรากฏ ก็จะปรากฏอยู่ที่ด้านขวามือโดยปริยาย
- "frame": การกำหนดให้แสดงภาพเท่าขนาดภาพจริง แต่ไม่เกินขนาดที่กำหนดที่ให้แสดงได้ (ตามค่าปริยายหรือที่กำหนดไว้) แล้วมีกรอบล้อมรอบภาพ หากมีการกำหนดข้อความบรรยายภาพข้อความจะอยู่ใต้ภาพ
- ไม่กำหนดรูปแบบ คือไม่ได้ใช้คำสั่งว่าให้ภาพปรากฏแบบใด ภาพจะปรากฏเท่าขนาดต้นฉบับแต่ไม่เกินขนาดที่กำหนดที่ให้แสดงได้ แล้วไม่มีกรอบล้อมรอบภาพ และหากมีการกำหนดคำบรรยายภาพก็จะไม่ปรากฏเช่นเดียวกัน
- "Location": การกำหนดตำแหน่งที่ต้องการให้ภาพปรากฏ ได้แก่
- "right": ภาพจะปรากฏอยู่ด้านขวาของหน้า และข้อความจะล้อมภาพนั้น
- "left": ภาพจะปรากฏอยู่ด้านซ้ายของหน้า และข้อความจะล้อมภาพนั้น
- "center": ภาพจะปรากฏอยู่ตำแหน่งกลางของหน้า และความความหลังจากภาพจะไม่ล้อมรอบภาพ แต่จะปรากฏอยู่ด้านใต้ภาพต่อจากภาพ
- Size: โดยปกติหากใช้คำสั่งให้เป็นภาพประเภท "thumb" และไม่ได้กำหนดขนาด ภาพที่ปรากฏก็จะมีขนาดภาพย่อ 180px หากใช้คำสั่งภาพให้มีขนาด 100px ภาพก็จะปรากฏมีขนาดความกว้างเป็น 100px และหากใช้คำสั่งเป็น 100x200px ภาพจะปรากฏเป็นขนาดกว้าง 100px และสูง 200px ตามสัดส่วนจากภาพต้นฉบับ
- Caption: ข้อความบรรยายประกอบภาพที่จะปรากฏอยู่ใต้ภาพ