ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ปริญญาฯ-มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น"

จาก WIKI84
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
 
(ไม่แสดง 7 รุ่นระหว่างกลางโดยผู้ใช้คนเดียวกัน)
บรรทัดที่ 1: บรรทัดที่ 1:
<div id="king">
<div id="king">
<center>(คำแปลอย่างไม่เป็นทางการ)<br>'''คำประกาศสดุดีพระเกียรติคุณพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช<br>ในโอกาสที่มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น สหรัฐอเมริกา'''<br>
<center><h5>(คำแปลอย่างไม่เป็นทางการ)</h5><br>'''คำประกาศสดุดีพระเกียรติคุณพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช<br>ในโอกาสที่มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น สหรัฐอเมริกา'''<br>
'''ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายปริญญานินิศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์<br>ณ วังไกลกังวล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์<br>วันศุกร์ ที่ ๒๑ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๔๙'''</center>
'''ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายปริญญานินิศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์<br>ณ วังไกลกังวล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์<br>วันศุกร์ ที่ ๒๑ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๔๙'''</center>
</div>
</div>
บรรทัดที่ 6: บรรทัดที่ 6:




<div style="text-indent: 30px; padding-top:15px">อยู่ระหว่างการจัดทำ
<div class="kindent">ตลอดระยะเวลา ๖๐ ปี  พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชได้ทรงครองประเทศ อันเป็นที่รักยิ่งของพระองค์ด้วยพระเกียรติยศ  พระเมตตาคุณ  และพระปรีชาสามารถอันลึกซึ้ง  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชปณิธานอันแน่วแน่ ที่จะทรงงานเพื่อพสกนิกรของพระองค์  ทรงมุ่งมั่นในการปรับปรุงชีวิตของพวกเขาเหล่านั้นด้วยวิธีอย่างเป็นรูปธรรมนานัปการ  พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นที่สักการะสูงสุดของอาณาประชาราษฎร์  พระมหากษัตริย์ที่ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายเฉลิมพระเกียรติ  ทรงเป็นผู้นำอย่างแท้จริงที่กอปรด้วยพระปรีชาสามารถ อันหาผู้ใดเสมอเหมือนมิได้  ได้ทรงใช้เวลาตลอดระยะเวลา ๖๐ ปีที่ผ่านมา  เสด็จพระราชดำเนินไปยังส่วนต่างๆ ของประเทศเพื่อทรงรับฟังปัญหา และเข้าพระราชหฤทัยถึงความต้องการสำคัญของพสกนิกร  โดยเฉพาะผู้ยากไร้ในชนบทที่ห่างไกล  ด้วยพระปรีชาสามารถอันถ่องแท้  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงก่อตั้งโครงการด้าน[[การแพทย์]]และ[[เกษตรกรรม]]  และพระราชทานความช่วยเหลืออย่างทันท่วงทีแก่ประชาชนผู้เดือดร้อน และทุกข์ทรมาน  นอกจากนี้  ยังทรงขจัดปัดเป่าความขัดแย้งที่มีแนวโน้มรุนแรงด้วยพระปรีชาสามารถและ พระราชปฏิภาณอันเฉียบคมด้านการเมือง และนำมาซึ่งทางออกที่สงบสุข  ก่อให้เกิดสันติที่ไม่มีผู้อื่นสามารถกระทำได้  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระบรมราชสมภพ ณ สหรัฐอเมริกา  และได้เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระบรมราชชนนี  สมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช  และสมเด็จพระเชษฐภคินี  ไปประทับ ณ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ณ ที่นั้นได้ทรงเข้าศึกษาในโรงเรียนเอกอล นูเวล เดอ ลา ซืออิส โรมองด์  และสถานศึกษาชีมนาสกลาชีก กองโตนาล แห่งเมืองโลซาน  ในเวลาต่อมา  แต่การเสด็จสวรรคตโดยกะทันหันของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร สมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช  ได้แปรเปลี่ยนวิถีชีวิตของพระผู้ทรงเกียรติของปวงข้าพระพุทธเจ้า ด้วยทรงเป็นผู้สืบราชสมบัติ  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินกลับไปทรงศึกษาต่อ ณ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์  เพื่อทรงเตรียมพระองค์ให้พร้อมยิ่งขึ้นในอันที่จะฝ่าฟันอุปสรรคที่ท้าทายในภายภาคหน้า  ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ตั้งการพระราชพิธีราชาภิเษกสมรส กับหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร  ในวันที่ ๒๘ เมษายน พุทธศักราช ๒๔๙๓  หนึ่งสัปดาห์ก่อนพระราชพิธีบรมราชาภิเษก  และมีพระราชโอรส พระราชธิดา ๔ พระองค์  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นนักดนตรีและ นักประพันธ์เพลงแจ๊ศที่ประสบความสำเร็จ  จึงทรงได้รับการกราบบังคมทูลเชิญให้ทรงดำรงตำแหน่ง[[สมาชิกฯ-สถาบันการดนตรีและศิลปะแห่งกรุงเวียนนา|สมาชิกกิตติมศักดิ์ของสถาบันการดนตรีและ ศิลปะแห่งกรุงเวียนนา]]เมื่อมีพระชนมายุ ๓๒ พรรษา*  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังทรงเป็นจิตรกร  นักถ่ายภาพ  นักเขียน  และนักแปลที่ผลงานพระราชนิพนธ์ติดอันดับขายดี  ตลอดระยะเวลาหกทศวรรษ  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงให้ความสำคัญกับ ความต้องการของประชาชนเหนือสิ่งอื่นใด  ทรงส่งเสริมประชาธิปไตยและสนับสนุนผู้ที่ด้อยโอกาส  ทรงเป็นผู้นำที่กอปรด้วยพระปรีชาสามารถและพระมหากรุณา  ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจตามพระราชภาระหน้าที่อย่างไม่ท้อถอยลังเล  ทรงถือว่าพระมหากษัตริย์นั้นเปรียบเสมือนความศรัทธาอันสูงส่ง ซึ่งผูกพันพระองค์ไว้กับราษฎรทุกคน  ดังนั้น  ด้วยความชื่นชมโสมนัสในพระประมุขผู้ทรงเป็นนักวิชาการและรัฐบุรุษผู้ทรงพระเมตตาการุณย์  มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์นจึงขอพระราฃทานทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายปริญญา นิติศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์แด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุยเดช</div>
</div>
</div>
 
 
 
 
<div style="text-indent: 30px; padding-top:15px">
</div>
</div>


บรรทัดที่ 19: บรรทัดที่ 12:




<br>
<br><div style="color:#4b4b4b">
<nowiki>*</nowiki>สถาบันการดนตรีและศิลปะแห่งกรุงเวียนนากราบบังคมทูลเชิญให้ทรงดำรงตำแหน่งสมาชิกกิตติมศักดิ์ เมื่อวันที่ ๕ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๐๗ ขณะมีพระชนมายุ ๓๖ พรรษา</div>
----
----


บรรทัดที่ 26: บรรทัดที่ 20:




[[ภาพ:มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น2.jpg| center]]
[[ภาพ:มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น2.jpg|บาทหลวง โรนัลด์ เจ. แฮร์ริงตัน ประธานมหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น สหรัฐอเมริกา เฝ้าถวายปริญญานินิศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์|center]]
<center>นายพิชัย รัตตกุล ประธานโรตารีสากล ปี ๒๕๔๕-๒๕๔๖ นำบาทหลวง โรนัลด์ เจ. แฮร์ริงตัน<br>ประธานมหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น สหรัฐอเมริกา เฝ้าถวายปริญญานินิศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์<br>ณ ท้องพระโรงศาลาเริง วังไกลกังวล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์<br>วันศุกร์ ที่ ๒๑ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๔๙
<center>นายพิชัย รัตตกุล ประธานโรตารีสากล ปี ๒๕๔๕-๒๕๔๖ นำบาทหลวง โรนัลด์ เจ. แฮร์ริงตัน<br>ประธานมหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น สหรัฐอเมริกา เฝ้าถวายปริญญานินิศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์<br>ณ ท้องพระโรงศาลาเริง วังไกลกังวล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์<br>วันศุกร์ ที่ ๒๑ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๔๙
</center>
</center>
บรรทัดที่ 37: บรรทัดที่ 31:
[[หมวดหมู่:สังคม]]
[[หมวดหมู่:สังคม]]
[[หมวดหมู่:นิติศาสตร์]]
[[หมวดหมู่:นิติศาสตร์]]
[[หมวดหมู่:ระหว่างทำ]]

รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 04:48, 15 กรกฎาคม 2551

(คำแปลอย่างไม่เป็นทางการ)

คำประกาศสดุดีพระเกียรติคุณพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
ในโอกาสที่มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น สหรัฐอเมริกา

ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายปริญญานินิศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์
ณ วังไกลกังวล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
วันศุกร์ ที่ ๒๑ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๔๙


ตลอดระยะเวลา ๖๐ ปี พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชได้ทรงครองประเทศ อันเป็นที่รักยิ่งของพระองค์ด้วยพระเกียรติยศ พระเมตตาคุณ และพระปรีชาสามารถอันลึกซึ้ง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชปณิธานอันแน่วแน่ ที่จะทรงงานเพื่อพสกนิกรของพระองค์ ทรงมุ่งมั่นในการปรับปรุงชีวิตของพวกเขาเหล่านั้นด้วยวิธีอย่างเป็นรูปธรรมนานัปการ พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นที่สักการะสูงสุดของอาณาประชาราษฎร์ พระมหากษัตริย์ที่ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายเฉลิมพระเกียรติ ทรงเป็นผู้นำอย่างแท้จริงที่กอปรด้วยพระปรีชาสามารถ อันหาผู้ใดเสมอเหมือนมิได้ ได้ทรงใช้เวลาตลอดระยะเวลา ๖๐ ปีที่ผ่านมา เสด็จพระราชดำเนินไปยังส่วนต่างๆ ของประเทศเพื่อทรงรับฟังปัญหา และเข้าพระราชหฤทัยถึงความต้องการสำคัญของพสกนิกร โดยเฉพาะผู้ยากไร้ในชนบทที่ห่างไกล ด้วยพระปรีชาสามารถอันถ่องแท้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงก่อตั้งโครงการด้านการแพทย์และเกษตรกรรม และพระราชทานความช่วยเหลืออย่างทันท่วงทีแก่ประชาชนผู้เดือดร้อน และทุกข์ทรมาน นอกจากนี้ ยังทรงขจัดปัดเป่าความขัดแย้งที่มีแนวโน้มรุนแรงด้วยพระปรีชาสามารถและ พระราชปฏิภาณอันเฉียบคมด้านการเมือง และนำมาซึ่งทางออกที่สงบสุข ก่อให้เกิดสันติที่ไม่มีผู้อื่นสามารถกระทำได้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระบรมราชสมภพ ณ สหรัฐอเมริกา และได้เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช และสมเด็จพระเชษฐภคินี ไปประทับ ณ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ณ ที่นั้นได้ทรงเข้าศึกษาในโรงเรียนเอกอล นูเวล เดอ ลา ซืออิส โรมองด์ และสถานศึกษาชีมนาสกลาชีก กองโตนาล แห่งเมืองโลซาน ในเวลาต่อมา แต่การเสด็จสวรรคตโดยกะทันหันของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร สมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช ได้แปรเปลี่ยนวิถีชีวิตของพระผู้ทรงเกียรติของปวงข้าพระพุทธเจ้า ด้วยทรงเป็นผู้สืบราชสมบัติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินกลับไปทรงศึกษาต่อ ณ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เพื่อทรงเตรียมพระองค์ให้พร้อมยิ่งขึ้นในอันที่จะฝ่าฟันอุปสรรคที่ท้าทายในภายภาคหน้า ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ตั้งการพระราชพิธีราชาภิเษกสมรส กับหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร ในวันที่ ๒๘ เมษายน พุทธศักราช ๒๔๙๓ หนึ่งสัปดาห์ก่อนพระราชพิธีบรมราชาภิเษก และมีพระราชโอรส พระราชธิดา ๔ พระองค์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นนักดนตรีและ นักประพันธ์เพลงแจ๊ศที่ประสบความสำเร็จ จึงทรงได้รับการกราบบังคมทูลเชิญให้ทรงดำรงตำแหน่งสมาชิกกิตติมศักดิ์ของสถาบันการดนตรีและ ศิลปะแห่งกรุงเวียนนาเมื่อมีพระชนมายุ ๓๒ พรรษา* พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังทรงเป็นจิตรกร นักถ่ายภาพ นักเขียน และนักแปลที่ผลงานพระราชนิพนธ์ติดอันดับขายดี ตลอดระยะเวลาหกทศวรรษ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงให้ความสำคัญกับ ความต้องการของประชาชนเหนือสิ่งอื่นใด ทรงส่งเสริมประชาธิปไตยและสนับสนุนผู้ที่ด้อยโอกาส ทรงเป็นผู้นำที่กอปรด้วยพระปรีชาสามารถและพระมหากรุณา ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจตามพระราชภาระหน้าที่อย่างไม่ท้อถอยลังเล ทรงถือว่าพระมหากษัตริย์นั้นเปรียบเสมือนความศรัทธาอันสูงส่ง ซึ่งผูกพันพระองค์ไว้กับราษฎรทุกคน ดังนั้น ด้วยความชื่นชมโสมนัสในพระประมุขผู้ทรงเป็นนักวิชาการและรัฐบุรุษผู้ทรงพระเมตตาการุณย์ มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์นจึงขอพระราฃทานทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายปริญญา นิติศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์แด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุยเดช




*สถาบันการดนตรีและศิลปะแห่งกรุงเวียนนากราบบังคมทูลเชิญให้ทรงดำรงตำแหน่งสมาชิกกิตติมศักดิ์ เมื่อวันที่ ๕ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๐๗ ขณะมีพระชนมายุ ๓๖ พรรษา



บาทหลวง โรนัลด์ เจ. แฮร์ริงตัน ประธานมหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น สหรัฐอเมริกา เฝ้าถวายปริญญานินิศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์
บาทหลวง โรนัลด์ เจ. แฮร์ริงตัน ประธานมหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น สหรัฐอเมริกา เฝ้าถวายปริญญานินิศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์
นายพิชัย รัตตกุล ประธานโรตารีสากล ปี ๒๕๔๕-๒๕๔๖ นำบาทหลวง โรนัลด์ เจ. แฮร์ริงตัน
ประธานมหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น สหรัฐอเมริกา เฝ้าถวายปริญญานินิศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์
ณ ท้องพระโรงศาลาเริง วังไกลกังวล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
วันศุกร์ ที่ ๒๑ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๔๙

หน้าแรกประมวลคำสดุดีพระเกียรติคุณฯ บัญชีปริญญาดุษฎีบัณฑิตฯ บัญชีตำแหน่งสมาชิกกิตติมศักดิ์ฯ บัญชีรางวัลฯ พระราชกรณียกิจ