ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สมาชิกฯ-ราชวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งเอดินบะระ"
จาก WIKI84
ล (Wikipedia python library) |
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
(ไม่แสดง 7 รุ่นระหว่างกลางโดยผู้ใช้คนเดียวกัน) | |||
บรรทัดที่ 1: | บรรทัดที่ 1: | ||
<div id="king"> | |||
<center><h5>(คำแปลอย่างไม่เป็นทางการ)</h5><br>'''คำประกาศสดุดีพระเกียรติคุณพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช<br>ในโอกาสที่ราชวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งเอดินบะระ สหราชอาณาจักร'''<br> | |||
'''กราบบังคมทูลเชิญให้ทรงดำรงตำแหน่งสมาชิกกิตติมศักดิ์<br>และทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายประกาศนียบัตรกิตติมศักดิ์<br>ณ วังไกลกังวล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์<br>วันจันทร์ ที่ ๙ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๔๔'''</center> | |||
</div> | |||
<div id="king2"> | |||
ขอเดชะฝ่าละอองธุลีพระบาทปกเกล้าปกกระหม่อม | |||
=== === | |||
<div class="kindent">นับเป็นการยากที่จะหาประเทศสองประเทศที่อยู่ห่างไกลกันด้วยสภาพภูมิศาสตร์ มีวัฒนธรรมสืบสานจากแหล่งที่ต่างกันอันเป็นเหตุให้มีโลกทัศน์ต่อปัจจุบันสมัยที่ต่างกันอย่างมาก ความแตกต่างดังกล่าวนี้ทำให้ยากที่จะเข้าใจว่าเหตุใดราชวิทยาลัยของทั้งสองประเทศ กล่างคือราชวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งประเทศไทย และราชวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งเอดินบะระจึงมีความสัมพันธ์ที่แนบแน่น แต่ข้าพระพุทธเจ้าคิดว่าคำตอบอยู่ในความหมายที่แท้จริงของคำว่า "วิทยาลัย" | |||
</div> | |||
<div class="kindent">ในยุโรปตะวันตกนั้น คำว่า "คอลเลจ" หรือ "วิทยาลัย" มีความหมายว่า "สถาบัน" ซึ่งคนมักจะมองในแง่ก้อนหิน อิฐ และปูน ของสถาบันเก่าแก่ ที่ได้ตั้งมั่นในสังคมอย่างมั่นคงมาช้านานจนกระทั่งไม่มีใครกล้าโต้แย้งทางความคิดหรือถกเกียงเพื่อความงอกงามทางปัญญา อย่างไรก็ตาม ได้มีการแปลความหมายของคำว่า "วิทยาลัย" แบบผิดๆ นี้อย่างกว้างขวาง โดยทั่วไปความหมายที่ถูกต้องในภาษาอังกฤษ คือ "สมาคมของบุคคลที่รวมตัวกันเพื่อวัตถุประสงค์ด้านวิทยาศาสตร์หรืออักษรศาสตร์" ด้วยคำจำกัดความนี้เองทำให้เกิดสายสัมพันธ์และนำมาซึ่งความใกล้ชิดระหว่างราชวิทยาลัยทั้งสอง เรามีจุดมุ่งหมายในการมุ่งสู่ความเป็นเสิศเช่นเดียวกัน เราหาหนทางเผยแพร่ความรู้ให้กว้างขวางและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ซึ่งกันและกัน เราเพียงเสาะหาหนทางพัฒนาประสิทธิภาพและประสิทธิผลในด้านสุขอนามัยเพื่อประโยชน์แก่ประชาชนโดยปราศจากความลำเอียง | |||
</div> | |||
<div style="padding-top:15px">ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท | |||
</div> | |||
<div class="kindent">ราชวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งเอดินบะระขอพระราชทานกราบบังคมทูลเชิญให้ทรงดำรงตำแหน่งสมาชิกกิตติมศักดิ์ของราชวิทยาลัย เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติคุณสูงสุด ด้วยประจักษ์ถึงพระคุณธรรมอันสูงส่งหาที่เปรียบมิได้ของใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท ดังจะเห็นได้จากพระราชจริยวัตรและพระมหากรุณาธิคุณในด้านต่างๆ ดังต่อไปนี้</div> | |||
<ul> | |||
<li>ทรงมีความห่วงใยต่อสุขอนามัยของพสกนิกร</li> | |||
<li>ทรงพระเมตตาและพระราชทานความช่วยเหลือแก่ผู้ป่วย</li> | |||
<li>มีพระราชปณิธานแน่วแน่ที่จะเผยแพร่ความรู้และความเข้าใจที่จำเป็นในการใช้ยาและการรักษาที่ทันสมัย</li> | |||
<li>พระมหากรุณาธิคุณที่พระราชทานการดูแลรักษา ซึ่งมิฉะนั้นจะมิอาจเกิดขึ้นได้</li> | |||
<li>พระมหากรุณาธิคุณที่พระราชทานพระบรมราชูปถัมภ์ในการค้นคว้าวิจัยอันยังให้เกิดผลที่เป็นประโยชน์ต่อพสกนิกร</li> | |||
<li>ปวงข้าพระพุทธเจ้าต่างซาบซึ้งในพระราชกรณียกิจ ตลอดจนพระมหากรุณาธิคุณในการสนับสนุนกิจกรรมด้านต่าง ๆ</li> | |||
<li>โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การที่ราชวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งเอดินบะระได้มีโอกาสร่วมงานกับคณะทันตศัลยกรรมเป็นผลให้ปวงข้าพระพุทธเจ้า ได้ประจักษ์ถึงความห่วงใยของพระองค์ ต่อการบริการดูและสุขภาพฟัน และพระมหากรุณาธิคุณที่พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ เพื่อจัดหาอุปกรณ์เครื่องมือทางทันตกรรม</li> | |||
<li>ปวงข้าพระพุทธเจ้ายังซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงมีต่อผู้พิการ ในการสนับสนุนส่งเสริมการศึกษาด้านสุขอนามัย และการจัดหาผู้เชี่ยวชาญด้าน[[สุขอนามัย]]ที่ได้รับการฝึกอบรมมาแล้วเป็นอย่างดี</li> | |||
</ul> | |||
<div class="kindent">ราชวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งเอดินบะระเป็นราชวิทยาลัยศัลยกรรมที่เก่าแก่ที่สุดในโลกและกำลังจะฉลองครบ ๕๐๐ ปีแห่งการก่อตั้ง ในพุทธศักราช ๒๕๔๘ อายุเพียงอย่างเดียวคงมิใช่คุณลักษณะที่ยิ่งใหญ่ ปัจจัยที่ทำให้ราชวิทยาลัยแห่งนี้ยืนยงมาได้จวบจนทุกวันนี้ ได้แก่ การที่เรามุ่งมั่นไปข้างหน้าในขณะเดียวกันกับที่ตระหนักถึงคุณค่าของอดีต การมุ่งมั่นไปข้างหน้านั้นรวมถึงการแสดงความยกย่องชื่นชมความอุตสาหะของบุคคลต่าง ๆ ทั่วโลก เป็นการชื่นชมและความตั้งใจจริงที่จะแบ่งปันความรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ สิ่งนี้นับเป็นสมบัติล้ำค่าของราชวิทยาลัย และไม่มีสิ่งใดที่จะเป็นข้อพิสูจน์ได้ดีไปกว่าการแลกเปลี่ยนที่ได้จัดขึ้นที่ประเทศไทยในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาในการประชุมร่วมกันของราชวิทยาลัยทั้งสอง | |||
</div> | |||
<div style="padding-top:15px">ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท | |||
</div> | |||
<div class="kindent">ปวงข้าพระพุทธเจ้าซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้น ที่ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาททรงพระกรุณารับดำรงตำแหน่งสมาชิกกิตติมศักดิ์ของราชวิทยาลัย ไม่มีโอกาสใดจะเหมาะสมที่จะเป็นการปิดการประชุมความร่วมมือตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา และเป็นการกำหนดแนวทางที่จะพัฒนาต่อไปในอนาคต ได้ดีเท่ากับการที่ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาททรงรับตำแหน่งสมาชิกกิตติมศักดิ์ในครั้งนี้ ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายมุ่งหวังในเรื่องของการก้าวไปสู่มิตรภาพอันยาวนานในอนาคต | |||
</div> | |||
<div class="kindent">ราชวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งเอดินบะระนั้นมิได้ยึดถือเรื่องชาตินิยมแต่ทว่ายังคงไว้ซึ่งความภาคภูมิใจในบรรพชนแห่งตน เอดินบะระเป็นเมืองเก่าแก่โบราณที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ของแคว้นสกอตแลนด์ ปวงข้าพระพุทธเจ้าหวังว่า สักวันหนึ่งข้างหน้า ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทจะพระราชทานพระมหากรุณาเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยือนราชวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งเอดินบะระ ซึ่ง ณ บัดนี้ ถือได้ว่าเป็นราชวิทยาลัยแห่งใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท และจะเสด็จพระราชดำเนินไปประทับท่ามกลางเหล่าสมาชิกของราชวิทยาลัย ณ หอประชุมศัลยแพทย์ ในฐานะที่ทรงเป็นสมาชิกกิตติมศักดิ์ | |||
</div> | |||
<br> | |||
---- | |||
[[ภาพ:ราชวิทยาลัยเอดินบะระ.jpg|ประธานราชวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งเอดินบะระ สหราชอาณาจักร ทูลกระหม่อมถวายประกาศนียบัตรสมาชิกกิตติมศักดิ์ ณ ท้องพระโรงศาลาเริง วังไกลกังวล|center]] | |||
<center>ศาสตราจารย์จอห์น เกรแฮม เทมเปิล ประธานราชวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งเอดินบะระ สหราชอาณาจักร<br> ทูลกระหม่อมถวายประกาศนียบัตรสมาชิกกิตติมศักดิ์<br>ณ ท้องพระโรงศาลาเริง วังไกลกังวล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เมื่อ วันจันทร์ ที่ ๙ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๔๔</center> | |||
---- | |||
{{แม่แบบ:เมนูประมวลคำสดุดี}} | |||
[[หมวดหมู่:สมาชิกฯ]] | |||
[[Category: การสาธารณสุข]] | [[Category: การสาธารณสุข]] |
รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 05:21, 15 กรกฎาคม 2551
(คำแปลอย่างไม่เป็นทางการ)
คำประกาศสดุดีพระเกียรติคุณพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
ในโอกาสที่ราชวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งเอดินบะระ สหราชอาณาจักร
กราบบังคมทูลเชิญให้ทรงดำรงตำแหน่งสมาชิกกิตติมศักดิ์
และทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายประกาศนียบัตรกิตติมศักดิ์
ณ วังไกลกังวล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
วันจันทร์ ที่ ๙ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๔๔
ขอเดชะฝ่าละอองธุลีพระบาทปกเกล้าปกกระหม่อม
นับเป็นการยากที่จะหาประเทศสองประเทศที่อยู่ห่างไกลกันด้วยสภาพภูมิศาสตร์ มีวัฒนธรรมสืบสานจากแหล่งที่ต่างกันอันเป็นเหตุให้มีโลกทัศน์ต่อปัจจุบันสมัยที่ต่างกันอย่างมาก ความแตกต่างดังกล่าวนี้ทำให้ยากที่จะเข้าใจว่าเหตุใดราชวิทยาลัยของทั้งสองประเทศ กล่างคือราชวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งประเทศไทย และราชวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งเอดินบะระจึงมีความสัมพันธ์ที่แนบแน่น แต่ข้าพระพุทธเจ้าคิดว่าคำตอบอยู่ในความหมายที่แท้จริงของคำว่า "วิทยาลัย"
ในยุโรปตะวันตกนั้น คำว่า "คอลเลจ" หรือ "วิทยาลัย" มีความหมายว่า "สถาบัน" ซึ่งคนมักจะมองในแง่ก้อนหิน อิฐ และปูน ของสถาบันเก่าแก่ ที่ได้ตั้งมั่นในสังคมอย่างมั่นคงมาช้านานจนกระทั่งไม่มีใครกล้าโต้แย้งทางความคิดหรือถกเกียงเพื่อความงอกงามทางปัญญา อย่างไรก็ตาม ได้มีการแปลความหมายของคำว่า "วิทยาลัย" แบบผิดๆ นี้อย่างกว้างขวาง โดยทั่วไปความหมายที่ถูกต้องในภาษาอังกฤษ คือ "สมาคมของบุคคลที่รวมตัวกันเพื่อวัตถุประสงค์ด้านวิทยาศาสตร์หรืออักษรศาสตร์" ด้วยคำจำกัดความนี้เองทำให้เกิดสายสัมพันธ์และนำมาซึ่งความใกล้ชิดระหว่างราชวิทยาลัยทั้งสอง เรามีจุดมุ่งหมายในการมุ่งสู่ความเป็นเสิศเช่นเดียวกัน เราหาหนทางเผยแพร่ความรู้ให้กว้างขวางและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ซึ่งกันและกัน เราเพียงเสาะหาหนทางพัฒนาประสิทธิภาพและประสิทธิผลในด้านสุขอนามัยเพื่อประโยชน์แก่ประชาชนโดยปราศจากความลำเอียง
ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท
ราชวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งเอดินบะระขอพระราชทานกราบบังคมทูลเชิญให้ทรงดำรงตำแหน่งสมาชิกกิตติมศักดิ์ของราชวิทยาลัย เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติคุณสูงสุด ด้วยประจักษ์ถึงพระคุณธรรมอันสูงส่งหาที่เปรียบมิได้ของใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท ดังจะเห็นได้จากพระราชจริยวัตรและพระมหากรุณาธิคุณในด้านต่างๆ ดังต่อไปนี้
- ทรงมีความห่วงใยต่อสุขอนามัยของพสกนิกร
- ทรงพระเมตตาและพระราชทานความช่วยเหลือแก่ผู้ป่วย
- มีพระราชปณิธานแน่วแน่ที่จะเผยแพร่ความรู้และความเข้าใจที่จำเป็นในการใช้ยาและการรักษาที่ทันสมัย
- พระมหากรุณาธิคุณที่พระราชทานการดูแลรักษา ซึ่งมิฉะนั้นจะมิอาจเกิดขึ้นได้
- พระมหากรุณาธิคุณที่พระราชทานพระบรมราชูปถัมภ์ในการค้นคว้าวิจัยอันยังให้เกิดผลที่เป็นประโยชน์ต่อพสกนิกร
- ปวงข้าพระพุทธเจ้าต่างซาบซึ้งในพระราชกรณียกิจ ตลอดจนพระมหากรุณาธิคุณในการสนับสนุนกิจกรรมด้านต่าง ๆ
- โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การที่ราชวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งเอดินบะระได้มีโอกาสร่วมงานกับคณะทันตศัลยกรรมเป็นผลให้ปวงข้าพระพุทธเจ้า ได้ประจักษ์ถึงความห่วงใยของพระองค์ ต่อการบริการดูและสุขภาพฟัน และพระมหากรุณาธิคุณที่พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ เพื่อจัดหาอุปกรณ์เครื่องมือทางทันตกรรม
- ปวงข้าพระพุทธเจ้ายังซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงมีต่อผู้พิการ ในการสนับสนุนส่งเสริมการศึกษาด้านสุขอนามัย และการจัดหาผู้เชี่ยวชาญด้านสุขอนามัยที่ได้รับการฝึกอบรมมาแล้วเป็นอย่างดี
ราชวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งเอดินบะระเป็นราชวิทยาลัยศัลยกรรมที่เก่าแก่ที่สุดในโลกและกำลังจะฉลองครบ ๕๐๐ ปีแห่งการก่อตั้ง ในพุทธศักราช ๒๕๔๘ อายุเพียงอย่างเดียวคงมิใช่คุณลักษณะที่ยิ่งใหญ่ ปัจจัยที่ทำให้ราชวิทยาลัยแห่งนี้ยืนยงมาได้จวบจนทุกวันนี้ ได้แก่ การที่เรามุ่งมั่นไปข้างหน้าในขณะเดียวกันกับที่ตระหนักถึงคุณค่าของอดีต การมุ่งมั่นไปข้างหน้านั้นรวมถึงการแสดงความยกย่องชื่นชมความอุตสาหะของบุคคลต่าง ๆ ทั่วโลก เป็นการชื่นชมและความตั้งใจจริงที่จะแบ่งปันความรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ สิ่งนี้นับเป็นสมบัติล้ำค่าของราชวิทยาลัย และไม่มีสิ่งใดที่จะเป็นข้อพิสูจน์ได้ดีไปกว่าการแลกเปลี่ยนที่ได้จัดขึ้นที่ประเทศไทยในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาในการประชุมร่วมกันของราชวิทยาลัยทั้งสอง
ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท
ปวงข้าพระพุทธเจ้าซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้น ที่ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาททรงพระกรุณารับดำรงตำแหน่งสมาชิกกิตติมศักดิ์ของราชวิทยาลัย ไม่มีโอกาสใดจะเหมาะสมที่จะเป็นการปิดการประชุมความร่วมมือตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา และเป็นการกำหนดแนวทางที่จะพัฒนาต่อไปในอนาคต ได้ดีเท่ากับการที่ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาททรงรับตำแหน่งสมาชิกกิตติมศักดิ์ในครั้งนี้ ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายมุ่งหวังในเรื่องของการก้าวไปสู่มิตรภาพอันยาวนานในอนาคต
ราชวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งเอดินบะระนั้นมิได้ยึดถือเรื่องชาตินิยมแต่ทว่ายังคงไว้ซึ่งความภาคภูมิใจในบรรพชนแห่งตน เอดินบะระเป็นเมืองเก่าแก่โบราณที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ของแคว้นสกอตแลนด์ ปวงข้าพระพุทธเจ้าหวังว่า สักวันหนึ่งข้างหน้า ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทจะพระราชทานพระมหากรุณาเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยือนราชวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งเอดินบะระ ซึ่ง ณ บัดนี้ ถือได้ว่าเป็นราชวิทยาลัยแห่งใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท และจะเสด็จพระราชดำเนินไปประทับท่ามกลางเหล่าสมาชิกของราชวิทยาลัย ณ หอประชุมศัลยแพทย์ ในฐานะที่ทรงเป็นสมาชิกกิตติมศักดิ์
ทูลกระหม่อมถวายประกาศนียบัตรสมาชิกกิตติมศักดิ์
ณ ท้องพระโรงศาลาเริง วังไกลกังวล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เมื่อ วันจันทร์ ที่ ๙ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๔๔
หน้าแรกประมวลคำสดุดีพระเกียรติคุณฯ | บัญชีปริญญาดุษฎีบัณฑิตฯ | บัญชีตำแหน่งสมาชิกกิตติมศักดิ์ฯ | บัญชีรางวัลฯ | พระราชกรณียกิจ |