ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระมหากษัตริย์นักวิทยาศาสตร์และนักวิจัยผู้ยิ่งใหญ่"
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
(ไม่แสดง 4 รุ่นระหว่างกลางโดยผู้ใช้คนเดียวกัน) | |||
บรรทัดที่ 1: | บรรทัดที่ 1: | ||
<center>'''เอกสารประกอบการบรรยาย'''<br /> | <center>'''เอกสารประกอบการบรรยาย'''<br /> | ||
<h1>“พระมหากษัตริย์นักวิทยาศาสตร์และนักวิจัยผู้ยิ่งใหญ่”</h1></center> | |||
บรรทัดที่ 29: | บรรทัดที่ 29: | ||
<u>ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี</u> | ===<u>ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี</u>=== | ||
<div class="kindent">งานทางด้านวิทยาศาสตร์ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสนพระทัยมีมาก และได้ทรงดำเนินการที่จะพัฒนาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตถกรรมให้ก้าวหน้าทันสมัย สามารถแบ่งแยกให้เด่นชัดในด้านต่างๆ ดังนี้</div> | <div class="kindent">งานทางด้านวิทยาศาสตร์ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสนพระทัยมีมาก และได้ทรงดำเนินการที่จะพัฒนาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตถกรรมให้ก้าวหน้าทันสมัย สามารถแบ่งแยกให้เด่นชัดในด้านต่างๆ ดังนี้</div> | ||
บรรทัดที่ 43: | บรรทัดที่ 43: | ||
ในรัชสมัยนี้ มีการก่อสร้างเขื่อนจำนวนมากด้วยวัตถุประสงค์ต่างๆ กัน ได้แก่ การก่อสร้างเขื่อนเจ้าพระยาเมื่อปีพุทธศักราช 2499 เพื่อประโยชน์ในการเพาะปลูก และการก่อสร้างเขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์ในปีพุทธศักราช 2501 และ 2506 ตามลำดับ เพื่อประโยชน์ในการผลิตกระแสไฟฟ้าเพื่อประโยชน์ในการสูบน้ำเก็บกักน้ำเพื่อการเพาะปลูกและเพื่อบรรเทาอุทกภัยด้านวิศวกรรมการเกษตรนั้น ทรงพระราชทานพระราชดำริให้ออกแบบประดิษฐ์เครื่องจักรกลเพื่อใช้ในการเกษตรขึ้นหลากหลายรูปแบบ ได้แก่ เครื่องเจาะข้อกระบอกไม้ไผ่ เครื่องสีข้าวใช้แรงคน เครื่องนวดข้าวใช้แรงคน เครื่องสูบน้ำพลังน้ำ 5 รูปแบบ ฯลฯ</div> | ในรัชสมัยนี้ มีการก่อสร้างเขื่อนจำนวนมากด้วยวัตถุประสงค์ต่างๆ กัน ได้แก่ การก่อสร้างเขื่อนเจ้าพระยาเมื่อปีพุทธศักราช 2499 เพื่อประโยชน์ในการเพาะปลูก และการก่อสร้างเขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์ในปีพุทธศักราช 2501 และ 2506 ตามลำดับ เพื่อประโยชน์ในการผลิตกระแสไฟฟ้าเพื่อประโยชน์ในการสูบน้ำเก็บกักน้ำเพื่อการเพาะปลูกและเพื่อบรรเทาอุทกภัยด้านวิศวกรรมการเกษตรนั้น ทรงพระราชทานพระราชดำริให้ออกแบบประดิษฐ์เครื่องจักรกลเพื่อใช้ในการเกษตรขึ้นหลากหลายรูปแบบ ได้แก่ เครื่องเจาะข้อกระบอกไม้ไผ่ เครื่องสีข้าวใช้แรงคน เครื่องนวดข้าวใช้แรงคน เครื่องสูบน้ำพลังน้ำ 5 รูปแบบ ฯลฯ</div> | ||
<u>ด้านวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม</u> | <u>ด้านวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม</u> | ||
บรรทัดที่ 54: | บรรทัดที่ 55: | ||
'''“ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ควรเป็นข้อมูลที่ประชาชนสามารถนำมาเป็นบรรทัดฐาน ประกอบการตัดสินใจในปัญหาต่างๆ มากกว่าจะใช้อารมณ์ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาการอนุรักษ์ดิน หรือปัญหาการสร้างโรงงานไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์”''' | '''“ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ควรเป็นข้อมูลที่ประชาชนสามารถนำมาเป็นบรรทัดฐาน ประกอบการตัดสินใจในปัญหาต่างๆ มากกว่าจะใช้อารมณ์ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาการอนุรักษ์ดิน หรือปัญหาการสร้างโรงงานไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์”''' | ||
</div> | |||
<u>ด้านวิจัยและพัฒนา</u> | ===<u>ด้านวิจัยและพัฒนา</u>=== | ||
<div class="kindent">จากการที่ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจ และพระราชทานแนวพระราชดำริในการพัฒนาประเทศมากมายทำให้ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีคือการประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์เพื่อการอยู่ร่วมกับธรรมชาติอย่างยั่งยืน ดังนั้น วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจึงมีความสัมพันธ์กับชีวิตมนุษย์ ซึ่งเป็นการแสดงออกถึงลักษณะของภูมิปัญญาท้องถิ่น และเทคโนโลยีพื้นบ้าน ความเจริญก้าวหน้าด้านวิทยาการทำให้วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีมีความก้าวหน้าขึ้น และด้วยเหตุนี้จึงมีการออกพระราชบัญญัติจัดตั้งหน่วยงาน เพื่อรับผิดชอบ ได้แก่ สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งชาติ เป็นต้น ด้านการพัฒนาบุคลากร มีการจัดตั้งมหาวิทยาลัยของรัฐและเอกชนเป็นจำนวนมาก รวมทั้งมีการให้ทุนทางการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยียังต่างประเทศในหลายด้าน เช่น การสำรวจทรัพยากรธรรมชาติด้วยดาวเทียม การใช้พลังงานปรมาณู เพื่อการถนอมอาหาร การศึกษาและการเตรียมความพร้อมสำหรับการใช้พลังงานปรมาณูเป็นแหล่งของพลังงานไฟฟ้าในอนาคต | <div class="kindent">จากการที่ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจ และพระราชทานแนวพระราชดำริในการพัฒนาประเทศมากมายทำให้ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีคือการประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์เพื่อการอยู่ร่วมกับธรรมชาติอย่างยั่งยืน ดังนั้น วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจึงมีความสัมพันธ์กับชีวิตมนุษย์ ซึ่งเป็นการแสดงออกถึงลักษณะของภูมิปัญญาท้องถิ่น และเทคโนโลยีพื้นบ้าน ความเจริญก้าวหน้าด้านวิทยาการทำให้วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีมีความก้าวหน้าขึ้น และด้วยเหตุนี้จึงมีการออกพระราชบัญญัติจัดตั้งหน่วยงาน เพื่อรับผิดชอบ ได้แก่ สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งชาติ เป็นต้น ด้านการพัฒนาบุคลากร มีการจัดตั้งมหาวิทยาลัยของรัฐและเอกชนเป็นจำนวนมาก รวมทั้งมีการให้ทุนทางการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยียังต่างประเทศในหลายด้าน เช่น การสำรวจทรัพยากรธรรมชาติด้วยดาวเทียม การใช้พลังงานปรมาณู เพื่อการถนอมอาหาร การศึกษาและการเตรียมความพร้อมสำหรับการใช้พลังงานปรมาณูเป็นแหล่งของพลังงานไฟฟ้าในอนาคต | ||
ผลงานการพัฒนาตามแนวพระราชดำรินั้น ได้ปรากฏอย่างชัดเจนแล้วในปัจจุบัน กล่าวคือ ประชาชนเหล่านั้นมีสภาพชุมชน และสิ่งแวดล้อมดีขึ้น มีความเป็นอยู่ดีขึ้น สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นได้ก็ด้วยพระราชอัจฉริยภาพ และสายพระเนตรอันกว้างไกลของพระองค์แล้ว ยังมีสถาบันการศึกษาต่างๆ ทูลเกล้าฯ ถวายปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในสาขาต่างๆ รวมแล้ว 192 ปริญญา แยกเป็นปริญญาสาขาทางวิทยาศาสตร์ 82 ปริญญา วิศวกรรมศาสตร์ 16 ปริญญา สาขาอื่น เช่น สังคมศาสตร์ แพทย์ศาสตร์ ดนตรี นิติศาสตร์ อีก 94 ปริญญา | ผลงานการพัฒนาตามแนวพระราชดำรินั้น ได้ปรากฏอย่างชัดเจนแล้วในปัจจุบัน กล่าวคือ ประชาชนเหล่านั้นมีสภาพชุมชน และสิ่งแวดล้อมดีขึ้น มีความเป็นอยู่ดีขึ้น สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นได้ก็ด้วยพระราชอัจฉริยภาพ และสายพระเนตรอันกว้างไกลของพระองค์แล้ว ยังมีสถาบันการศึกษาต่างๆ ทูลเกล้าฯ ถวายปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในสาขาต่างๆ รวมแล้ว 192 ปริญญา แยกเป็นปริญญาสาขาทางวิทยาศาสตร์ 82 ปริญญา วิศวกรรมศาสตร์ 16 ปริญญา สาขาอื่น เช่น สังคมศาสตร์ แพทย์ศาสตร์ ดนตรี นิติศาสตร์ อีก 94 ปริญญา | ||
จึงสมควรแล้วที่จะเทิดทูนว่า พระองค์ คือ พระมหากษัตริย์นักวิทยาศาสตร์ และนักวิจัยผู้ยิ่งใหญ่ ในโลกปัจจุบัน</div> | จึงสมควรแล้วที่จะเทิดทูนว่า พระองค์ คือ พระมหากษัตริย์นักวิทยาศาสตร์ และนักวิจัยผู้ยิ่งใหญ่ ในโลกปัจจุบัน | ||
</div> | |||
[[หมวดหมู่:พระราชกรณียกิจ]] |
รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 08:08, 21 กรกฎาคม 2551
“พระมหากษัตริย์นักวิทยาศาสตร์และนักวิจัยผู้ยิ่งใหญ่”
พระราชประวัติ
เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองได้เสด็จไปประทับที่ประเทศสวิตเซอน์แลนด์และทรงศึกษาต่อที่ประเทศนั้นจนจบชั้นอุดมศึกษา ในช่วงต้นของการศึกษาระดับอุดมศึกษานั้น พระองค์ทรงศึกษาในสาขาวิทยาศาสตร์ และหลังจากที่ได้เสด็จขึ้นครองราชเป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 9 แล้วทรงเปลี่ยนแนวการศึกษาจากทางด้านวิทยาศาสตร์มาเป็นทางด้านสังคมศาสตร์ เพื่อเตรียมรับพระราชภารกิจ ในฐานะองค์พระมหากษัตริย์
ในที่นี้ จะขออัญเชิญบทพระราชทานสัมภาษณ์ของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่ทรงให้ไว้กับผู้จัดทำรายการพูดจาประสาช่าง ซึ่งได้พิมพ์ในวิศวกรรมสาร “ในหลวงกับงานช่าง” ความตอนหนึ่งว่า “เท่าที่สังเกตมาตั้งแต่ยังจำความได้ ก็เห็นท่านทำงานช่างอยู่หลายอย่างท่านเคยเล่าให้ฟังว่า เมื่อตอนเด็กๆ นั้น ท่านก็มีความสนพระทัยในงานช่างมาก แล้วก็ตอนท่านเล็กๆ สมเด็จย่าเลี้ยงท่านอย่างค่อนข้างเข้มงวด คือ แม้แต่ของเล่น ก็ไม่ได้มีของเล่นมากมายสำเร็จรูป อย่างฟุ่มเฟือยเหมือนอย่างเด็กๆ สมัยนี้ แม้แต่เงินทอง ที่สมเด็จย่าให้เป็นค่าขนมแต่ละครั้งนั้น ก็ให้อย่างจำกัด จะซื้อหาอยากได้อะไรแต่ละอย่างก็ต้องคิดว่าจะเอาอะไรก่อน อะไรหลัง อะไรคุ้มดีไหม อย่างเช่น ท่านอยากได้วิทยุมาฟังท่านก็ต้องเข้าหุ้นกับทูลกระหม่อมลุง ซื้อชิ้นส่วนของวิทยุทีละชิ้นๆ เอามาประกอบเองเป็นวิทยุ ซึ่งก็ต้องฟังกัน 2 คน ที่เข้าหุ้นกัน แล้วก็การที่บางครั้งเงินที่ได้รับเป็นค่าขนมก็ไม่พอที่จะซื้อของ ที่ท่านอยากได้ก็ต้องมีการหาเงินพิเศษ วิธีหาเงินพิเศษนั้น ก็ต้องใช้ความสามารถของท่านเองนี่แหละ เช่นมีพี่เลี้ยงซึ่งก็ไม่กล้าให้เงินท่านโดยไม่มีเหตุผล เวลาทำอะไรให้แก แกถึงจะให้ได้เช่น เวลาจักรเย็บผ้าแกเสีย ท่านตอนนั้นก็ซัก 10 ขวบ ท่านก็แก้ได้ แก้ได้ก็ได้สตางค์เพื่อเป็นค่าจ้างแก้จักร
จากพระราชประวัติ ทำให้เราสามารถเข้าใจถึงทัศนคติและความสนพระราชหฤทัย ในวิชาการทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พระปรีชาสามารถนี้ ยังคงอยู่ในพระราชหฤทัยตลอดมา
เป็นที่ทราบกันดีกว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีฝีพระหัตถ์เป็นเยี่ยมในด้านการช่าง ไม่ว่าจะเป็นงานช่างไม้ ช่างโลหะ หรือช่างกล ซึ่งเป็นงานพื้นฐานทางวิศวกรรมศาสตร์ ครั้งยังทรงพระเยาว์ขณะประทับที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ นั้นทรงมีห้องปฏิบัติหรือที่เรียกว่า “เวิร์กช้อป” อยู่ในพระตำหนักวิลลาวัฒนา ทรงใช้เวิร์กช้อปนี้ประดิษฐ์เรือใบด้วยพระองค์เองเพื่อนำไปใช้ในการแข่งขันกีฬา ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่าการใช้เรือใบดังกล่าวทรงพิชิตเหรียญทองในการแข่งขันกีฬาแหลมทอง ครั้งที่ 4 ปี พ.ศ. 2510 เหนืออื่นใดคือพระองค์ทรงต่อเรือใบเองด้วย
ทรงออกแบบเรือใบมด
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงสนพระราชหฤทัยในการพัฒนากีฬาเรือใบ พระองค์ทรงพระปรีชาสามารถ และพระวิริยอุตสาหะเป็นอย่างยิ่งโดยได้ทรงออกแบบเรือใบขึ้นชนิดหนึ่ง คือ
เรือใบมด (Mod) พระองค์ได้ทรงออกแบบและสร้างเรือใบมดลำแรกด้วยพระองค์เอง คือ เรือใบมด 1 และได้ทรงนำเรือลำนี้ไปแข่งขันที่ประเทศอังกฤษเมื่อคราวเสด็จประพาสครั้งนั้น และทรงสามารถชนะเรือของผู้แข่งขันอื่นในขนาดใกล้เคียงกันได้เรือใบมดที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงออกแบบนั้นเป็นเรือใบเสาเดียว ประเภท One-Designing Class ซึ่งนับว่าเป็นแบบที่เหมาะสมสำหรับใช้ในการแข่งขันมีราคาในการสร้างไม่แพง และสะดวกในการเก็บรักษา มีน้ำหนักเบาสะดวกในการเดินทางและเคลื่อนย้าย มีคุณสมบัติว่องไวดีในการเล่น และกลับลำ เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงออกแบบและทรงสร้างเรือใบมดลำแรกขึ้น แล้วได้ทรงทดสอบด้วยการนำไปแข่งขันทั้งในประเทศและต่างประเทศ ปรากฏว่าเรือใบแบบนั้นซึ่งต่อมาโปรดให้เรียกว่า “เรือมด 1” มีความคล่องตัวดี เหมาะสมกับการแข่งขันมาก จึงได้พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้สโมสรกรมอู่ทหารเรือดำเนินการต่อเรือมดขึ้นอีก ซึ่งทำให้ช่างของกรมอู่ทหารเรือมีรายได้เพิ่มขึ้นจากงานประจำอีกด้วย รายได้จากการต่อเรือส่วนหนึ่งได้นำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายผู้ออกแบบในฐานะมีกรรมสิทธิ์เป็นเจ้าของแบบ (หรือปัจจุบันอาจจะเรียกว่า เจ้าของสิทธิบัตร) พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงเป็นผู้พัฒนาอุตสาหกรรมการต่อเรือ และเริ่มธุรกิจการต่อเรือในประเทศไทยด้วย ต่อมาได้ทรงปรับปรุงแบบเรือมดและได้ทรงออกแบบเรือใบชุดมดอีก 2 ประเภท คือ เรือซุปเปอร์มด และเรือไมโครมด ซึ่งเป็นเรือที่ได้รับความนิยมมากในหมู่สมาชิกแล่นใบชาวไทย
พระราชกรณียกิจ
เถลิงถวัลยสิริราชสมบัติ เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พุทธศักราช 2489 พระองค์ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฎรในภูมิภาคต่างๆ ทั่วประเทศ การเสด็จพระราชดำเนินดังกล่าวเปรียบประดุจดัง การสร้าง “พระคลังข้อมูลด้านการพัฒนา”
โครงการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตั้งแต่เริ่มแรกจนถึงปัจจุบันมีจำนวนทั้งสิ้นกว่า 3,000 โครงการ การพัฒนาตามแนวพระราชดำริ นั้นพระองค์ทรงให้ความสำคัญที่การพัฒนาคน ให้อยู่ได้ด้วยการพึ่งตนเอง ซึ่งเป็นการพัฒนาแบบยั่งยืนพระองค์ทรงใช้หลักในการพัฒนาที่เป็นเหตุเป็นผล ทรงเน้นการประยุกต์ศาสตร์แขนงต่างๆ มาใช้อย่างเหมาะสมกับแนวทางการพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะการประยุกต์ใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เหมาะสม ดังจะเห็นได้จากพระราชกรณียกิจด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ทรงกระทำสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นในด้านการเกษตร สิ่งแวดล้อม การพลังงาน การสาธารณสุข การคมนาคม การพัฒนาแหล่งน้ำ และเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นต้น
ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
วิศวกรรมการเกษตรกับการพัฒนาแหล่งน้ำ และพลังงาน
ต่อมา ได้ตราพระราชกฤษฎีกาก่อตั้งสำนักงานปฏิบัติการฝนหลวง เมื่อปีพุทธศักราช 2518 เพื่อเป็นหน่วยงานรองรับโครงการพระราชดำริฝนหลวง และมีสถานีปฏิบัติการฝนหลวงกระจายตามภูมิภาค 7 จังหวัด ได้แก่ นครสวรรค์ เชียงใหม่ ขอนแก่น อุดรธานี นครราชสีมา ลพบุรี และประจวบคีรีขันธ์
นอกจากนี้ในเรื่องของน้ำซึ่งนับเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีความสำคัญยิ่งต่อมนุษย์ ทั้งในด้านการบริโภค อุปโภค เกษตรกรรม อุตสาหกรรม และการคมนาคม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงตระหนักถึงความสำคัญของน้ำต่อชีวิตความเป็นอยู่ของราษฎร จากการเสด็จพระราชดำเนิน ทรงเยี่ยมราษฎร ทำให้ทรงได้รับข้อมูลปัญหาการขาดแคลนน้ำ ทั้งเพื่อการเพาะปลูกและการบริโภคอุปโภค
โครงการพัฒนาแหล่งน้ำโครงการแรกที่กรมชลประทานดำเนินการก่อสร้างเพื่อสนองพระราชดำริ คือ การก่อสร้างอ่างเก็บน้ำเขาเต่า อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เพื่อเก็บกักน้ำให้ราษฎรใช้บริโภคและอุปโภค
ในรัชสมัยนี้ มีการก่อสร้างเขื่อนจำนวนมากด้วยวัตถุประสงค์ต่างๆ กัน ได้แก่ การก่อสร้างเขื่อนเจ้าพระยาเมื่อปีพุทธศักราช 2499 เพื่อประโยชน์ในการเพาะปลูก และการก่อสร้างเขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์ในปีพุทธศักราช 2501 และ 2506 ตามลำดับ เพื่อประโยชน์ในการผลิตกระแสไฟฟ้าเพื่อประโยชน์ในการสูบน้ำเก็บกักน้ำเพื่อการเพาะปลูกและเพื่อบรรเทาอุทกภัยด้านวิศวกรรมการเกษตรนั้น ทรงพระราชทานพระราชดำริให้ออกแบบประดิษฐ์เครื่องจักรกลเพื่อใช้ในการเกษตรขึ้นหลากหลายรูปแบบ ได้แก่ เครื่องเจาะข้อกระบอกไม้ไผ่ เครื่องสีข้าวใช้แรงคน เครื่องนวดข้าวใช้แรงคน เครื่องสูบน้ำพลังน้ำ 5 รูปแบบ ฯลฯ
ด้านวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม
จึงได้มีการออกแบบและสร้างเครื่องกลเติมอากาศขึ้น 9 รูปแบบ คือ RX – 1 – RX – 9 และที่รู้จักกันทั่วไป คือ “กังหันน้ำชัยพัฒนา” RX – 2
พระราชกรณียกิจ และพระราชดำริ ด้านวิทยาศาสตร์ต่างๆ นี้ นับเป็นพระปรีชาสามารถของพระองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าออยู่หัว ยากที่หาผู้ใดเสมอเหมือน เป็นที่ประจักษ์และเป็นที่สรรเสริญพระเกียรติคุณทั่วทิศานุทิศ ดังที่มูลนิธิโทเร เพื่อการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ ประเทศไทย ได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตทูลเกล้าฯ ถวายรางวัลวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มูลนิธิโทเร เพื่อการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ ประเทศไทย ได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตทูลเกล้าฯ ถวายรางววัลวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มูลนิธิโทเร เพื่อการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ ประเทศไทยประจำพุทธศักราช 2537 เพื่อสดุดีพระเกียรติคุณ อีกทั้งเพื่อเป็นเกียรติและสิริมงคลอันสูงค่าแก่วงการวิทยาศาสตร์ไทยสืบไป
เมื่อปีพุทธศักราช 2537 สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ร่วมกับนิตยสาร ไซแอนติฟิก อเมริกัน ซึ่งเป็นนิตยสารชั้นนำด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้จัดทำรายงานพิเศษเกี่ยวกับประเทศไทยและได้รับพระมหากรุณาธิคุณให้คณะบรรณาธิการของนิตยสารฉบับนี้เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท รับพระราชทานสัมภาษณ์พระราชดำริด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ส่วนหนึ่งของพระราชดำรัสมีดังนี้
“ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ควรเป็นข้อมูลที่ประชาชนสามารถนำมาเป็นบรรทัดฐาน ประกอบการตัดสินใจในปัญหาต่างๆ มากกว่าจะใช้อารมณ์ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาการอนุรักษ์ดิน หรือปัญหาการสร้างโรงงานไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์”
ด้านวิจัยและพัฒนา
ผลงานการพัฒนาตามแนวพระราชดำรินั้น ได้ปรากฏอย่างชัดเจนแล้วในปัจจุบัน กล่าวคือ ประชาชนเหล่านั้นมีสภาพชุมชน และสิ่งแวดล้อมดีขึ้น มีความเป็นอยู่ดีขึ้น สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นได้ก็ด้วยพระราชอัจฉริยภาพ และสายพระเนตรอันกว้างไกลของพระองค์แล้ว ยังมีสถาบันการศึกษาต่างๆ ทูลเกล้าฯ ถวายปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในสาขาต่างๆ รวมแล้ว 192 ปริญญา แยกเป็นปริญญาสาขาทางวิทยาศาสตร์ 82 ปริญญา วิศวกรรมศาสตร์ 16 ปริญญา สาขาอื่น เช่น สังคมศาสตร์ แพทย์ศาสตร์ ดนตรี นิติศาสตร์ อีก 94 ปริญญา
จึงสมควรแล้วที่จะเทิดทูนว่า พระองค์ คือ พระมหากษัตริย์นักวิทยาศาสตร์ และนักวิจัยผู้ยิ่งใหญ่ ในโลกปัจจุบัน