ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สิทธิบัตรในพระปรมาภิไธย"

จาก WIKI84
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
 
(ไม่แสดง 1 รุ่นระหว่างกลางโดยผู้ใช้คนเดียวกัน)
บรรทัดที่ 24: บรรทัดที่ 24:
</div>
</div>
[[ภาพ:ประกาศสดุดีบรัสเซล.jpg|center|เหรียญทองประกาศนียบัตรสดุดีเทิดพระเกียรติคุณพร้อมถ้วยรางวัล]]
[[ภาพ:ประกาศสดุดีบรัสเซล.jpg|center|เหรียญทองประกาศนียบัตรสดุดีเทิดพระเกียรติคุณพร้อมถ้วยรางวัล]]
{{ดูเพิ่มเติม|[[กังหันน้ำชัยพัฒนา]]/[[เครื่องกลเติมอากาศ]]/[[พระบิดาแห่งการประดิษฐ์ไทย]]}}
</div>
</div>


{{ดูเพิ่มเติม|[[กังหันน้ำชัยพัฒนา]]/[[เครื่องกลเติมอากาศ]]/[[พระบิดาแห่งการประดิษฐ์ไทย]]}}
 
 
 
 


[[หมวดหมู่:พระราชกรณียกิจ]]
[[หมวดหมู่:พระราชกรณียกิจ]]

รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 09:13, 10 พฤศจิกายน 2551

 

สิทธิบัตรในพระปรมาภิไธย

๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๓๖*

สิทธิบัตรกังหันน้ำชัยพัฒนา
สิทธิบัตรกังหันน้ำชัยพัฒนา
เป็นที่น่าปีติยินดีเป็นล้นพ้นแก่ปวงพสกนิกรไทยทั้งมวล เมื่อเครื่องกลเติมอากาศ "กังหันน้ำชัยพัฒนา" ได้รับการพิจารณาและทูลเกล้าฯ ถวายสิทธิบัตรในพระปรมาภิไธย เมื่อวันที่ ๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๓๖ นับเป็นสิ่งประดิษฐ์เครื่องกลเติมอากาศเครื่องที่ ๙ ของโลกที่ได้รับสิทธิบัตรและเป็นครั้งแรกที่ได้มีการรับจดทะเบียนและออกสิทธิบัตรถวายแด่พระมหากษัตริย์ด้วย จึงนับได้ว่าสิทธิบัตรเครื่องกลเติมอากาศในพระปรมาภิไธยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวนั้นเป็น "สิทธิบัตรในพระปรมาภิไธยของพระมหากษัตริย์พระองค์แรกในประวัติศาสตร์ชาติไทยและเป็นครั้งแรกของโลก"

ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติกำหนดให้วันที่ ๒ กุมภาพันธ์ของทุกปีเป็น "วันนักประดิษฐ์" เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติ ในโอกาสนี้ด้วย


วันที่ ๙ เมษายน ๒๕๔๔**

จากพระราชดำริและพระวิริยะอุตสาหะในการที่จะหาพลังงานจากธรรมชาติมาทดแทนน้ำมันเชื้อเพลิง
โดยทรงริเริ่มในเรื่องน้ำมันแก๊สโซฮอล์ น้ำมันดีโซฮอล์ และน้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ จนเกิดโรงงานสกัดน้ำมันปาล์ม
บริสุทธิ์ขนาดเล็กขึ้นที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง จังหวัดนราธิวาส และได้มีการจดสิทธิบัตร โดยนายอำพล เสนาณรงค์
องคมนตรี เป็นผู้แทนพระองค์ยื่นจดสิทธิบัตร เมื่อวันที่ ๙ เมษายน ๒๕๔๔ ณ กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์
ในพระปรมาภิไธยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ชื่อที่แสดงถึงการประดิษฐ์คือ
"การใช้น้ำมันปาล์มกลั่นบริสุทธิ์เป็นน้ำมันเชื้อเพลิงเครื่องยนต์ดีเซล" สิทธิบัตรเลขที่ ๑๐๗๖๔
สิทธิบัตรการใช้น้ำมันปาล์มกลั่นบริสุทธิ์เป็นน้ำมันเชื้อเพลิงเครื่องยนต์ดีเซล


ปี ๒๕๔๔ **

สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติได้จัดส่งผลงานในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ไปร่วมแสดงในงานนิทรรศการสิ่งประดิษฐ์นานาชาติชื่องาน "Burssels Eureka 2001" ณ กรุงบรัสเซลล์ ประเทศเบลเยี่ยม ด้วยพระอัจฉริยภาพและพระปรีชาสามารถในการประดิษฐ์คิดค้นของพระองค์ ส่งผลให้การคิดค้น ๓ ผลงาน คือ "ทฤษฎีใหม่" "โครงการฝนหลวง" และ "โครงการน้ำมันไบโอดีเซลสูตรสกัดจากน้ำมันปาล์ม" ได้รับเหรียญทองประกาศนียบัตรสดุดีเทิดพระเกียรติคุณพร้อมถ้วยรางวัล ผลงานของพระองค์ล้วนเป็นผลการคิดค้นแนวใหม่ในการพัฒนาประเทศนำมาซึ่งความปลาบปลื้มยินดีแก่ประชาชนชาวไทยถ้วนหน้า

เหรียญทองประกาศนียบัตรสดุดีเทิดพระเกียรติคุณพร้อมถ้วยรางวัล
เหรียญทองประกาศนียบัตรสดุดีเทิดพระเกียรติคุณพร้อมถ้วยรางวัล