ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การจัดการโครงการอันเนื่องมาจากพระราช ดำริตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง"
(สร้างหน้าใหม่: <div id="bg_g2t"> </div> <div id="bg_g2"> <center><h1>การจัดการโครงการอันเนื่องมาจากพร...) |
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
(ไม่แสดง 1 รุ่นระหว่างกลางโดยผู้ใช้คนเดียวกัน) | |||
บรรทัดที่ 7: | บรรทัดที่ 7: | ||
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงใช้พื้นที่บางส่วนของสวนจิตรลดาเป็นพื้นที่ศึกษา วิจัย ค้นคว้า และทดลองรวมทั้งการจัดตั้งศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริในภูมิภาคต่างๆ ถึง ๖ แห่งด้วยกัน เพื่อใช้เป็นศูนย์กลางให้ความรู้และแก้ปัญหาในพื้นที่นั้นๆ ให้แก่ประชาชน ซึ่งแต่ละศูนย์ที่บังเกิดขึ้นก็ล้วนแล้วแต่ดำเนินการบนแนวทางของหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เช่นทรงนำเทคโนโลยีธรรมชาติมาใช้ในการแก้ปัญหา ได้แก่ ปัญหาน้ำเสียทรงใช้พืชน้ำเป็นต้นทุนในการแก้ปัญหา ปัญหาน้ำท่วมทรงปรับปรุงแหล่งน้ำธรรมชาติให้เป็นพื้นที่รองรับน้ำหลาก ปัญหาน้ำแล้งทรงใช้การปลูกป่าทดแทนโดยไม่ต้องปลูกเพื่อเป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร เป็นต้น | พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงใช้พื้นที่บางส่วนของสวนจิตรลดาเป็นพื้นที่ศึกษา วิจัย ค้นคว้า และทดลองรวมทั้งการจัดตั้งศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริในภูมิภาคต่างๆ ถึง ๖ แห่งด้วยกัน เพื่อใช้เป็นศูนย์กลางให้ความรู้และแก้ปัญหาในพื้นที่นั้นๆ ให้แก่ประชาชน ซึ่งแต่ละศูนย์ที่บังเกิดขึ้นก็ล้วนแล้วแต่ดำเนินการบนแนวทางของหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เช่นทรงนำเทคโนโลยีธรรมชาติมาใช้ในการแก้ปัญหา ได้แก่ ปัญหาน้ำเสียทรงใช้พืชน้ำเป็นต้นทุนในการแก้ปัญหา ปัญหาน้ำท่วมทรงปรับปรุงแหล่งน้ำธรรมชาติให้เป็นพื้นที่รองรับน้ำหลาก ปัญหาน้ำแล้งทรงใช้การปลูกป่าทดแทนโดยไม่ต้องปลูกเพื่อเป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร เป็นต้น | ||
[[ภาพ:061009-พอเพียง5.jpg|center]] | |||
โครงการก่อสร้างถนนวงแหวนรัชดาภิเษกอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งที่แสดงถึงการดำเนินงานบนเส้นทางของเศรษฐกิจพอเพียง ดังจะเห็นได้ว่า เส้นทางของถนนวงแหวนรัชดาภิเษกเกือบครึ่งหนึ่งเป็นถนนที่มีอยู่เดิม และพร้อมๆ กันก็มีพระราชดำริแก้ปัญหาจราจรเฉพาะจุดตามศักยภาพที่มีอยู่ ได้แก่ การสร้างถนนเลียบทางรถไฟสายใต้หรือถนนสุทธาวาส ทรงพัฒนาพื้นที่ว่างสร้างเส้นทางบรรเทาทุกข์ โดยทรงขอใช้ที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทยที่กันไว้สำหรับโครงการสร้างทางยกระดับโฮปเวลล์มาใช้แก้ปัญหาจราจรก่อน เพื่อประหยัดงบประมาณในการก่อสร้างในส่วนของค่าเวนคืนที่ดินอีกทั้งไม่สร้างความเดือดร้อน | โครงการก่อสร้างถนนวงแหวนรัชดาภิเษกอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งที่แสดงถึงการดำเนินงานบนเส้นทางของเศรษฐกิจพอเพียง ดังจะเห็นได้ว่า เส้นทางของถนนวงแหวนรัชดาภิเษกเกือบครึ่งหนึ่งเป็นถนนที่มีอยู่เดิม และพร้อมๆ กันก็มีพระราชดำริแก้ปัญหาจราจรเฉพาะจุดตามศักยภาพที่มีอยู่ ได้แก่ การสร้างถนนเลียบทางรถไฟสายใต้หรือถนนสุทธาวาส ทรงพัฒนาพื้นที่ว่างสร้างเส้นทางบรรเทาทุกข์ โดยทรงขอใช้ที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทยที่กันไว้สำหรับโครงการสร้างทางยกระดับโฮปเวลล์มาใช้แก้ปัญหาจราจรก่อน เพื่อประหยัดงบประมาณในการก่อสร้างในส่วนของค่าเวนคืนที่ดินอีกทั้งไม่สร้างความเดือดร้อน | ||
ให้แก่พสกนิกรด้วย ทำนองเดียวกันโครงการพระราชดำริทางคู่ขนานลอยฟ้าถนนบรมราชชนนี ซึ่งถือเป็นโครงการแก้ปัญหาจราจรเฉพาะจุดที่เหมาะสมกับพื้นที่ที่มีปัญหาและพอเพียงกับสถานการณ์ ณ ขณะนั้น รวมถึงโครงการพระราชดำริแก้ปัญหาจราจรในกรุงเทพมหานครอีกหลายจุด สำหรับเกษตรกรในชนบท แนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงที่ทรงนำมาใช้ในการช่วยเหลือเกษตรกรที่โดดเด่นที่สุดคือ แนวทางพัฒนาเกษตร[[ทฤษฎีใหม่]] ซึ่งเป็นวิธีการแก้ปัญหาการเกษตรด้วยการจัดสัดส่วนพื้นที่เกษตรกรรมให้เกิดประโยชน์สูงสุด มีการพัฒนาที่ดิน และการบริหารจัดการน้ำ เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันผลกระทบจากภายนอกในระดับครัวเรือน โดยเกษตรกรผลิตอาหาร พืชพันธุ์ไม้หรือเลี้ยงสัตว์แบบพอเพียง นั่นก็คือ พอเพียงสำหรับการบริโภคในครัวเรือน ซึ่งเป็นความสามารถในการพึ่งตนเอง อันจะก่อให้เกิดประโยชน์สุขแก่ตนเองและครอบครัวหากมีผลผลิตเหลือจากการบริโภคสามารถนำไปแลกผลผลิตอย่างอื่นหรือนำไปจำหน่ายในชุมชนท้องถิ่นเป็นความพอเพียงในระดับกลุ่ม เครื่องมือสำคัญคือระบบสหกรณ์ที่เกิดขึ้นจากการรวมกลุ่มของผู้ผลิตก่อให้เกิดประโยชน์สุขของชุมชน หากมีความมั่นคงในการดำเนินงานในเบื้องต้นแล้ว ก็สามารถร่วมมือกันขยายเครือข่ายของกลุ่มในชุมชนออกไป ลักษณะความร่วมมือจะมีมากขึ้นทั้งด้านเงินทุน การจัดการ ทั้งภาคเอกชนภาครัฐและส่วนท้องถิ่น ความมั่นคงของครอบครัวและชุมชนจะเกิดความยั่งยืนวัฒนาถาวรสืบต่อไป | ให้แก่พสกนิกรด้วย ทำนองเดียวกันโครงการพระราชดำริทางคู่ขนานลอยฟ้าถนนบรมราชชนนี ซึ่งถือเป็นโครงการแก้ปัญหาจราจรเฉพาะจุดที่เหมาะสมกับพื้นที่ที่มีปัญหาและพอเพียงกับสถานการณ์ ณ ขณะนั้น รวมถึงโครงการพระราชดำริแก้ปัญหาจราจรในกรุงเทพมหานครอีกหลายจุด สำหรับเกษตรกรในชนบท แนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงที่ทรงนำมาใช้ในการช่วยเหลือเกษตรกรที่โดดเด่นที่สุดคือ แนวทางพัฒนาเกษตร[[ทฤษฎีใหม่]] ซึ่งเป็นวิธีการแก้ปัญหาการเกษตรด้วยการจัดสัดส่วนพื้นที่เกษตรกรรมให้เกิดประโยชน์สูงสุด มีการพัฒนาที่ดิน และการบริหารจัดการน้ำ เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันผลกระทบจากภายนอกในระดับครัวเรือน โดยเกษตรกรผลิตอาหาร พืชพันธุ์ไม้หรือเลี้ยงสัตว์แบบพอเพียง นั่นก็คือ พอเพียงสำหรับการบริโภคในครัวเรือน ซึ่งเป็นความสามารถในการพึ่งตนเอง อันจะก่อให้เกิดประโยชน์สุขแก่ตนเองและครอบครัวหากมีผลผลิตเหลือจากการบริโภคสามารถนำไปแลกผลผลิตอย่างอื่นหรือนำไปจำหน่ายในชุมชนท้องถิ่นเป็นความพอเพียงในระดับกลุ่ม เครื่องมือสำคัญคือระบบสหกรณ์ที่เกิดขึ้นจากการรวมกลุ่มของผู้ผลิตก่อให้เกิดประโยชน์สุขของชุมชน หากมีความมั่นคงในการดำเนินงานในเบื้องต้นแล้ว ก็สามารถร่วมมือกันขยายเครือข่ายของกลุ่มในชุมชนออกไป ลักษณะความร่วมมือจะมีมากขึ้นทั้งด้านเงินทุน การจัดการ ทั้งภาคเอกชนภาครัฐและส่วนท้องถิ่น ความมั่นคงของครอบครัวและชุมชนจะเกิดความยั่งยืนวัฒนาถาวรสืบต่อไป | ||
ยามที่โลกกำลังวิวัฒน์ไปอย่างไม่มีอะไรมาหยุดยั้งได้ | ยามที่โลกกำลังวิวัฒน์ไปอย่างไม่มีอะไรมาหยุดยั้งได้ หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นเสมือนคบไฟที่ส่องสว่างให้ปวงชนชาวไทยทุกคนเดินไปบนเส้นทางที่รุ่งโรจน์อย่างยั่งยืนตลอดไป | ||
</div> | </div> | ||
{{ดูเพิ่มเติม|[[การแก้ปัญหาคมนาคมในมหานคร]] / [[การคมนาคม]] / [[:หมวดหมู่:ศูนย์ศึกษาการพัฒนา]] / [[ค-โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา|โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา]]}} | |||
[[หมวดหมู่:แนวพระราชดำริ]][[หมวดหมู่:เศรษฐกิจพอเพียง]] | [[หมวดหมู่:แนวพระราชดำริ]][[หมวดหมู่:เศรษฐกิจพอเพียง]] | ||
</div> | </div> |
รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 05:29, 7 ตุลาคม 2552
การจัดการโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระปรีชาสามารถในการแก้ปัญหา ทรงคิดค้นหาแนวทางพัฒนาด้วยความละเอียดรอบคอบ มีความอนุโลมหรือยืดหยุ่น รอมชอมกับสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ ทางสังคม และวิถีชีวิตของคนไทย เป็นลักษณะการดำเนินทางสายกลางที่สอดคล้องกับสิ่งที่อยู่รอบตัว และสามารถปฏิบัติได้จริง ทรงมองปัญหาในภาพรวมและเริ่มแก้ปัญหาจากจุดเล็กๆ อันเป็นปัญหาเฉพาะหน้าก่อน ในบางประเด็นจะทรงศึกษาทดลองก่อนจนเห็นผล แล้วจึงพระราชทานแนวพระราชดำริและวิธีการแก่ประชาชน
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงใช้พื้นที่บางส่วนของสวนจิตรลดาเป็นพื้นที่ศึกษา วิจัย ค้นคว้า และทดลองรวมทั้งการจัดตั้งศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริในภูมิภาคต่างๆ ถึง ๖ แห่งด้วยกัน เพื่อใช้เป็นศูนย์กลางให้ความรู้และแก้ปัญหาในพื้นที่นั้นๆ ให้แก่ประชาชน ซึ่งแต่ละศูนย์ที่บังเกิดขึ้นก็ล้วนแล้วแต่ดำเนินการบนแนวทางของหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เช่นทรงนำเทคโนโลยีธรรมชาติมาใช้ในการแก้ปัญหา ได้แก่ ปัญหาน้ำเสียทรงใช้พืชน้ำเป็นต้นทุนในการแก้ปัญหา ปัญหาน้ำท่วมทรงปรับปรุงแหล่งน้ำธรรมชาติให้เป็นพื้นที่รองรับน้ำหลาก ปัญหาน้ำแล้งทรงใช้การปลูกป่าทดแทนโดยไม่ต้องปลูกเพื่อเป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร เป็นต้น
โครงการก่อสร้างถนนวงแหวนรัชดาภิเษกอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งที่แสดงถึงการดำเนินงานบนเส้นทางของเศรษฐกิจพอเพียง ดังจะเห็นได้ว่า เส้นทางของถนนวงแหวนรัชดาภิเษกเกือบครึ่งหนึ่งเป็นถนนที่มีอยู่เดิม และพร้อมๆ กันก็มีพระราชดำริแก้ปัญหาจราจรเฉพาะจุดตามศักยภาพที่มีอยู่ ได้แก่ การสร้างถนนเลียบทางรถไฟสายใต้หรือถนนสุทธาวาส ทรงพัฒนาพื้นที่ว่างสร้างเส้นทางบรรเทาทุกข์ โดยทรงขอใช้ที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทยที่กันไว้สำหรับโครงการสร้างทางยกระดับโฮปเวลล์มาใช้แก้ปัญหาจราจรก่อน เพื่อประหยัดงบประมาณในการก่อสร้างในส่วนของค่าเวนคืนที่ดินอีกทั้งไม่สร้างความเดือดร้อน ให้แก่พสกนิกรด้วย ทำนองเดียวกันโครงการพระราชดำริทางคู่ขนานลอยฟ้าถนนบรมราชชนนี ซึ่งถือเป็นโครงการแก้ปัญหาจราจรเฉพาะจุดที่เหมาะสมกับพื้นที่ที่มีปัญหาและพอเพียงกับสถานการณ์ ณ ขณะนั้น รวมถึงโครงการพระราชดำริแก้ปัญหาจราจรในกรุงเทพมหานครอีกหลายจุด สำหรับเกษตรกรในชนบท แนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงที่ทรงนำมาใช้ในการช่วยเหลือเกษตรกรที่โดดเด่นที่สุดคือ แนวทางพัฒนาเกษตรทฤษฎีใหม่ ซึ่งเป็นวิธีการแก้ปัญหาการเกษตรด้วยการจัดสัดส่วนพื้นที่เกษตรกรรมให้เกิดประโยชน์สูงสุด มีการพัฒนาที่ดิน และการบริหารจัดการน้ำ เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันผลกระทบจากภายนอกในระดับครัวเรือน โดยเกษตรกรผลิตอาหาร พืชพันธุ์ไม้หรือเลี้ยงสัตว์แบบพอเพียง นั่นก็คือ พอเพียงสำหรับการบริโภคในครัวเรือน ซึ่งเป็นความสามารถในการพึ่งตนเอง อันจะก่อให้เกิดประโยชน์สุขแก่ตนเองและครอบครัวหากมีผลผลิตเหลือจากการบริโภคสามารถนำไปแลกผลผลิตอย่างอื่นหรือนำไปจำหน่ายในชุมชนท้องถิ่นเป็นความพอเพียงในระดับกลุ่ม เครื่องมือสำคัญคือระบบสหกรณ์ที่เกิดขึ้นจากการรวมกลุ่มของผู้ผลิตก่อให้เกิดประโยชน์สุขของชุมชน หากมีความมั่นคงในการดำเนินงานในเบื้องต้นแล้ว ก็สามารถร่วมมือกันขยายเครือข่ายของกลุ่มในชุมชนออกไป ลักษณะความร่วมมือจะมีมากขึ้นทั้งด้านเงินทุน การจัดการ ทั้งภาคเอกชนภาครัฐและส่วนท้องถิ่น ความมั่นคงของครอบครัวและชุมชนจะเกิดความยั่งยืนวัฒนาถาวรสืบต่อไป
ยามที่โลกกำลังวิวัฒน์ไปอย่างไม่มีอะไรมาหยุดยั้งได้ หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นเสมือนคบไฟที่ส่องสว่างให้ปวงชนชาวไทยทุกคนเดินไปบนเส้นทางที่รุ่งโรจน์อย่างยั่งยืนตลอดไป