ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ปริญญาฯ-มหาวิทยาลัยฮาวาย"

จาก WIKI84
(New page: มหาวิทยาลัยฮาวาย เมืองโฮโนลูลู รัฐฮาวาย สหรัฐอเมริกา ทูลเกล้าทูลก...)
 
ไม่มีความย่อการแก้ไข
 
(ไม่แสดง 14 รุ่นระหว่างกลางโดยผู้ใช้คนเดียวกัน)
บรรทัดที่ 1: บรรทัดที่ 1:
มหาวิทยาลัยฮาวาย เมืองโฮโนลูลู รัฐฮาวาย สหรัฐอเมริกา
<div id="king">
<center><h5>(คำแปลอย่างไม่เป็นทางการ)</h5><br>'''คำประกาศสดุดีพระเกียรติคุณพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช<br>ในโอกาสที่มหาวิทยาลัยฮาวาย เมืองโฮโนลูลู รัฐฮาวาย สหรัฐอเมริกา'''<br>
'''ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขามนุษย์ศาสตร์<br>ณ พระตำหนักจิตรลาดรโหฐาน พระราชวังดุสิต<br>วันอังคาร ที่ ๗ มกราคม พุทธศักราช ๒๕๒๙'''</center>
</div>
<div id="king2">
<div class="kindent">มหาวิทยาลัยฮาวายของพระราชทานทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายปริญญาดุษฏีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขามนุษยศาสตร์แด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ด้วยตระหนักถึงพระราชกรณียกิจสำคัญ ที่ทรงบำเพ็ญเพื่อราชอาณาจักรไทย และประชาคมโลกตลอดระยะเวลาอันยาวนาน


ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขามนุษย์ศาสตร์
ในการทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายปริญญานี้ คณะกรรมการบริหารของมหาวิทยาลัยฮาวาย ได้ประจักษ์ในพระวิริยอุตสาหะด้านมนุษยธรรม อันควรได้รับการสดุดี ทั้งที่พระราชทานแก่พสกนิกรชาวไทย และผู้ลี้ภัยจากประะเทศอื่นจำนวนนับพันนับหมื่น ที่เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารเพื่อให้รอดพ้นจากความทุกข์เข็ญที่อาจเกิดขึ้น ด้วยความเป็นผู้นำของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และความจงรักภักดีของพสกนิกร ประเทศไทยสามารถสร้างความมั่นคงด้านการทหาร และให้ความช่วยเหลือด้านเศรษฐกิจ การศึกษา การดูแลสุขภาพ ทั้งปลูกฝังให้เกิดความนับถือตนเอง และสร้างความหวังแก่เพื่อมนุษย์จำนวนมากมายเหล่านั้น
 
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงธำรงบทบาทส่วนพระองค์ด้านการทูตในการดำเนินควมสัมพันธ์กับนานาประเทศ ทั้งสหรัฐอเมริกา และทรงได้รับการสดุดีอย่างเป็นเอกฉันท์ว่า ทรงเป็นหนึ่งในบุคคลที่สำคัญและทรงอิทธิพลที่สุดในเอเชีย ในการดำเนินการอย่างกว้างขวางทั่วภูมิภาคตามครรลองของทฤษฏีการพึ่งพาตนเอง
 
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวสนพระราชหฤทัยในด้านการพัฒนา[[การศึกษา]]โดยตลอด และได้ทรงสนับสนุนความสัมพันธ์พิเศษระหว่างมหาวิทยาลัยต่างๆ ในประเทศไทย ซึ่งรวมถึงมหาวิทยาลัยมหิดลกับมหาวิทยาลัยฮาวาย ความสัมพันธพิเศษระหว่างมหาวิทยาลัยเหล่านี้เน้นความสำคัญของการวิจัยด้านเกษตรกรรมเขตร้อน [[การแพทย์|การส่งเสริมด้านสาธารณสุข]]และการวิจัย อีกทั้งโครงการเชื่อมโยงนานัปการที่รวมถึงด้านภาษาตระกูลอินโด-แปซิฟิก มานุษยวิทยา ประวัติศาสตร์ รัฐศาสตร์ เกษตรศาสตร์ และ[[พระอัจฉริยภาพทางศิลปะ|ศิลปะแขนงต่างๆ]]
 
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีบทบาทสำคัญโดยตรงต่อความก้าวหน้าของวิชาการ และวัฒนธรรมอย่างมากมาย อันเกิดผลเป็นรูปธรรมในประเทศไทยนับตั้งแต่เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติในพุทธศักราช ๒๔๘๙ พระวิริยอุตสาหะดังกล่าวได้ช่วยเสริมสร้างความเป็นปึกแผ่นของประเทศ และความเข้มแข็งในอนาคตของประชาชนอีกด้วย
 
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมิได้ทรงเป็นที่เคารพสักการะเฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น หากยังทรงได้รับการยกย่องในสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรัฐฮาวาย และมหาวิทยาลัยฮาวายด้วย การขอพระราชทานทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายปริญญาดุษฏีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขามนุษยศาสตร์ แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นเครื่องแสดงว่ามหาวิทยาลัยฮาวายตระหนักถึงพระมหากรุณาธิคุณ และพระปรีชาสามารถนานัปการในสาขาวิทยาศาสตร์ [[สาธารณสุขศาสตร์]] เกษตรศาสตร์ และการพัฒนามนุษย์สาขาอื่นๆ ทั้งยังเป็นเครื่องเตือนให้ระลึกถึงความสัมพันธ์พิเศษระหว่างสหรัฐอเมริกากับประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ระหว่างมหาวิทยาลัยฮาวายกับสถาบันการศึกษาต่างๆ ในประเทศไทย
 
ในนามของคณะกรรมการบริหารของมหาวิทยาลัยฮาวาย คณาจารย์ และประชาชนฮาวาย และท่ามกลางมหาสมาคมของผู้แทนในสาขาอาชีพสาธารณสุข มหาวิทยาลัยฮาวายซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงรับ การทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายปริญญาดุษฏีกิตติมศักดิ์ สาขามนุษยศาสตร์ ในวันที่ ๗ มกราคม ๒๕๒๙ ณ กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
 
 
 
----
 
 
[[ภาพ:มหาวิทยาลัยฮาวาย1.jpg|อธิการบดีมหาวิทยาลัยฮาวาย ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายครุยดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ ณ พระตำหนักจิตรลาดรโหฐาน พระราชวังดุสิต|center]]
<center> นายอัลเบิร์ต ซีโมน อธิการบดีมหาวิทยาลัยฮาวาย สหรัฐอเมริกา<br> ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายครุยดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์<br>ณ พระตำหนักจิตรลาดรโหฐาน พระราชวังดุสิต<br>วันอังคาร ที่ ๗ มกราคม พุทธศักราช ๒๕๒๙</center>
 
 
[[ภาพ:มหาวิทยาลัยฮาวาย2.jpg|ประธานกรรมการมหาวิทยาลัยฮาวาย ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายปริญญาบัตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขามนุษยศาสตร์|center]]
<center>นางแกลดิส เอ. บรันท์ ประธานกรรมการมหาวิทยาลัยฮาวาย<br>ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายปริญญาบัตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขามนุษยศาสตร์<br>ณ พระตำหนักจิตรลาดรโหฐาน พระราชวังดุสิต<br>วันอังคาร ที่ ๗ มกราคม พุทธศักราช ๒๕๒๙
</center>




----
----
[[หมวดหมู่:ปริญญา]] [[หมวดหมู่:สังคม]] [[หมวดหมู่:มนุษยศาสตร์]]
 
 
{{แม่แบบ:เมนูประมวลคำสดุดี}}
 
[[หมวดหมู่:ปริญญาฯ]]
[[หมวดหมู่:สังคม]]
[[หมวดหมู่:มนุษยศาสตร์]]

รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 04:34, 15 กรกฎาคม 2551

(คำแปลอย่างไม่เป็นทางการ)

คำประกาศสดุดีพระเกียรติคุณพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
ในโอกาสที่มหาวิทยาลัยฮาวาย เมืองโฮโนลูลู รัฐฮาวาย สหรัฐอเมริกา

ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขามนุษย์ศาสตร์
ณ พระตำหนักจิตรลาดรโหฐาน พระราชวังดุสิต
วันอังคาร ที่ ๗ มกราคม พุทธศักราช ๒๕๒๙
มหาวิทยาลัยฮาวายของพระราชทานทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายปริญญาดุษฏีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขามนุษยศาสตร์แด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ด้วยตระหนักถึงพระราชกรณียกิจสำคัญ ที่ทรงบำเพ็ญเพื่อราชอาณาจักรไทย และประชาคมโลกตลอดระยะเวลาอันยาวนาน

ในการทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายปริญญานี้ คณะกรรมการบริหารของมหาวิทยาลัยฮาวาย ได้ประจักษ์ในพระวิริยอุตสาหะด้านมนุษยธรรม อันควรได้รับการสดุดี ทั้งที่พระราชทานแก่พสกนิกรชาวไทย และผู้ลี้ภัยจากประะเทศอื่นจำนวนนับพันนับหมื่น ที่เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารเพื่อให้รอดพ้นจากความทุกข์เข็ญที่อาจเกิดขึ้น ด้วยความเป็นผู้นำของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และความจงรักภักดีของพสกนิกร ประเทศไทยสามารถสร้างความมั่นคงด้านการทหาร และให้ความช่วยเหลือด้านเศรษฐกิจ การศึกษา การดูแลสุขภาพ ทั้งปลูกฝังให้เกิดความนับถือตนเอง และสร้างความหวังแก่เพื่อมนุษย์จำนวนมากมายเหล่านั้น

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงธำรงบทบาทส่วนพระองค์ด้านการทูตในการดำเนินควมสัมพันธ์กับนานาประเทศ ทั้งสหรัฐอเมริกา และทรงได้รับการสดุดีอย่างเป็นเอกฉันท์ว่า ทรงเป็นหนึ่งในบุคคลที่สำคัญและทรงอิทธิพลที่สุดในเอเชีย ในการดำเนินการอย่างกว้างขวางทั่วภูมิภาคตามครรลองของทฤษฏีการพึ่งพาตนเอง

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวสนพระราชหฤทัยในด้านการพัฒนาการศึกษาโดยตลอด และได้ทรงสนับสนุนความสัมพันธ์พิเศษระหว่างมหาวิทยาลัยต่างๆ ในประเทศไทย ซึ่งรวมถึงมหาวิทยาลัยมหิดลกับมหาวิทยาลัยฮาวาย ความสัมพันธพิเศษระหว่างมหาวิทยาลัยเหล่านี้เน้นความสำคัญของการวิจัยด้านเกษตรกรรมเขตร้อน การส่งเสริมด้านสาธารณสุขและการวิจัย อีกทั้งโครงการเชื่อมโยงนานัปการที่รวมถึงด้านภาษาตระกูลอินโด-แปซิฟิก มานุษยวิทยา ประวัติศาสตร์ รัฐศาสตร์ เกษตรศาสตร์ และศิลปะแขนงต่างๆ

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีบทบาทสำคัญโดยตรงต่อความก้าวหน้าของวิชาการ และวัฒนธรรมอย่างมากมาย อันเกิดผลเป็นรูปธรรมในประเทศไทยนับตั้งแต่เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติในพุทธศักราช ๒๔๘๙ พระวิริยอุตสาหะดังกล่าวได้ช่วยเสริมสร้างความเป็นปึกแผ่นของประเทศ และความเข้มแข็งในอนาคตของประชาชนอีกด้วย

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมิได้ทรงเป็นที่เคารพสักการะเฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น หากยังทรงได้รับการยกย่องในสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรัฐฮาวาย และมหาวิทยาลัยฮาวายด้วย การขอพระราชทานทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายปริญญาดุษฏีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขามนุษยศาสตร์ แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นเครื่องแสดงว่ามหาวิทยาลัยฮาวายตระหนักถึงพระมหากรุณาธิคุณ และพระปรีชาสามารถนานัปการในสาขาวิทยาศาสตร์ สาธารณสุขศาสตร์ เกษตรศาสตร์ และการพัฒนามนุษย์สาขาอื่นๆ ทั้งยังเป็นเครื่องเตือนให้ระลึกถึงความสัมพันธ์พิเศษระหว่างสหรัฐอเมริกากับประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ระหว่างมหาวิทยาลัยฮาวายกับสถาบันการศึกษาต่างๆ ในประเทศไทย

ในนามของคณะกรรมการบริหารของมหาวิทยาลัยฮาวาย คณาจารย์ และประชาชนฮาวาย และท่ามกลางมหาสมาคมของผู้แทนในสาขาอาชีพสาธารณสุข มหาวิทยาลัยฮาวายซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงรับ การทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายปริญญาดุษฏีกิตติมศักดิ์ สาขามนุษยศาสตร์ ในวันที่ ๗ มกราคม ๒๕๒๙ ณ กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย




อธิการบดีมหาวิทยาลัยฮาวาย ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายครุยดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ ณ พระตำหนักจิตรลาดรโหฐาน พระราชวังดุสิต
อธิการบดีมหาวิทยาลัยฮาวาย ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายครุยดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ ณ พระตำหนักจิตรลาดรโหฐาน พระราชวังดุสิต
นายอัลเบิร์ต ซีโมน อธิการบดีมหาวิทยาลัยฮาวาย สหรัฐอเมริกา
ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายครุยดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์
ณ พระตำหนักจิตรลาดรโหฐาน พระราชวังดุสิต
วันอังคาร ที่ ๗ มกราคม พุทธศักราช ๒๕๒๙


ประธานกรรมการมหาวิทยาลัยฮาวาย ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายปริญญาบัตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขามนุษยศาสตร์
ประธานกรรมการมหาวิทยาลัยฮาวาย ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายปริญญาบัตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขามนุษยศาสตร์
นางแกลดิส เอ. บรันท์ ประธานกรรมการมหาวิทยาลัยฮาวาย
ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายปริญญาบัตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขามนุษยศาสตร์
ณ พระตำหนักจิตรลาดรโหฐาน พระราชวังดุสิต
วันอังคาร ที่ ๗ มกราคม พุทธศักราช ๒๕๒๙




หน้าแรกประมวลคำสดุดีพระเกียรติคุณฯ บัญชีปริญญาดุษฎีบัณฑิตฯ บัญชีตำแหน่งสมาชิกกิตติมศักดิ์ฯ บัญชีรางวัลฯ พระราชกรณียกิจ