ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การพัฒนาทางการเกษตร"

จาก WIKI84
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
 
(ไม่แสดง 14 รุ่นระหว่างกลางโดยผู้ใช้คนเดียวกัน)
บรรทัดที่ 1: บรรทัดที่ 1:
<div style="color:brown">'''1. การพัฒนามนุษย์ คุณภาพชีวิต'''</div>
<div id="bg_g1t">&nbsp;</div>
<div id="bg_g1">
==='''การพัฒนาสังคมและการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของประชาชน'''===


*'''พุทธศักราช ๒๕๑๑''' -  '''ดอนขุนห้วย: เปลี่ยนดินรกร้างให้ชาวไร่'''
*'''พุทธศักราช ๒๕๑๑''' -  '''ดอนขุนห้วย: เปลี่ยนดินรกร้างให้ชาวไร่'''
บรรทัดที่ 13: บรรทัดที่ 15:
ดำเนินโครงการพัฒนาที่ดินตามพระราชประสงค์หนองพลับ อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี เนื้อที่ 65,000 ไร่ โดยส่งเสริมให้ราษฎรมีที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัย พร้อมทั้งพระราชทานคำแนะนำให้สร้างอ่างเก็บน้ำไว้ใช้เพื่อการเกษตร เมื่อฝนทิ้งช่วง
ดำเนินโครงการพัฒนาที่ดินตามพระราชประสงค์หนองพลับ อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี เนื้อที่ 65,000 ไร่ โดยส่งเสริมให้ราษฎรมีที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัย พร้อมทั้งพระราชทานคำแนะนำให้สร้างอ่างเก็บน้ำไว้ใช้เพื่อการเกษตร เมื่อฝนทิ้งช่วง


<div class="kindent">นอกเหนือไปจากการพัฒนาอาชีพเพื่อเพิ่มพูนรายได้ ซึ่งเป็นเรื่องเศรษฐกิจในครัวเรือนอันมีผลต่อเศรษฐกิจมหภาคแล้ว โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริทุกโครงการจะผนวกเรื่องของการพัฒนาสังคม และการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของประชาชนเข้าไว้ด้วยเป็นสำคัญ โดยถือหลักให้ประชาชนที่มีส่วนได้เสียในชุมชนนั่นเอง ได้เข้ามาร่วมมีส่วนในการตัดสินใจด้วยตนเอง (People Participation) ตั้งแต่เริ่มโครงการ วิธีการนี้เป็นที่รู้จักกันดีในหมู่นักพัฒนาตามโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ  เนื่องจากทรงเรียกกระบวนการนี้ว่าเป็นการ '''“ระเบิดจากข้างใน”''' คือประชาชนผู้มีส่วนได้เสียนั้นเองเป็นผู้กำหนดวิถีทางของตนเอง เพื่อเลือกแนวทางการพัฒนา และพร้อมที่จะรับกระแสของการพัฒนาจากข้างนอกที่จะมีเข้ามาในอนาคตหากวิเคราะห์ถึงการดำเนินงานในโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริอย่างเจาะลึกแล้ว จะเห็นได้ชัดว่าพระองค์ทรงใช้หลักของการประชาพิจารณ์ (Public Hearing) มานานนับเป็นเวลาหลายสิบปี ก่อนจะเป็นที่รู้จักกันแพร่หลาย และเริ่มกระทำกันอย่างกว้างขวางในขณะนี้ วิธีการทำประชาพิจารณ์ของพระองค์นั้น เป็นวิธีที่เรียบง่ายและตรงไปตรงมาโดยที่จะทรงอธิบายถึงวัตถุประสงค์และผลที่จะได้รับจากโครงการพัฒนากับพสกนิกรที่มาเฝ้าห้อมล้อมอยู่ หลังจากนั้นจะทรงถามถึงความสมัครใจ และกลุ่มที่จะต้องเสียสละในขณะนั้นเลย หลังจากได้มีการตกลงใจโดยเสียงเป็นเอกฉันท์แล้ว  ก็จะทรงเรียกผู้นำท้องถิ่น เช่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน จนกระทั่งถึงนายอำเภอ และผู้ว่าราชการจังหวัด ให้มารับทราบและดำเนินการในขั้นต้น เช่น การจัดการในปัญหาเรื่องกรรมสิทธิ์ในที่ดิน ก่อนที่จะพระราชทานให้หน่วยงานปฏิบัติที่เกี่ยวข้องดำเนินการในเชิงบริหาร และวิชาการต่อไปจนเสร็จสิ้นโครงการ


การเข้ามามีส่วนร่วมในทุกระดับของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องนั้น จะมีทั้งในส่วนของประชาชนและในภาครัฐ จะเห็นได้ชัดเจนในอีกตัวอย่างหนึ่งคือ โครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ซึ่งถือเสมือนเป็น '''“พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติที่มีชีวิต”''' ซึ่งมีอยู่ทั่วทุกภาคของประเทศไทย ศูนย์ศึกษาการพัฒนาฯ นั้น นับได้ว่าเป็นรูปแบบใหม่ของการบริหารจัดการในระบบราชการไทย ซึ่งเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์นั่นก็คือ การลดขั้นตอนของการประสานการจัดการที่เคยชินอยู่กับการดำเนินงานระบบ '''“เอกเทศ”''' มาเป็นการ่วมกันทำในคราวเดียวกันในทุกสาขา เพื่อให้บริการแก่ประชาชน ณ ที่แห่งเดียว เป็น '''“ศูนย์บริการเบ็ดเสร็จ”''' หรือ '''“one stop services”''' ที่หน่วยราชการหลายหน่วยร่วมกันทำงาน โดยมีศูนย์ เป็นศูนย์รวม ทั้งนี้เพื่อมิให้ผู้ที่ต้องการความรู้และความช่วยเหลือต้องเสียเวลามากในการไปรับบริการในแต่ละองค์กร ซึ่งแยกย้ายกันอยู่ดังที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน


<div style="color:brown">'''2. การพัฒนาการเกษตร'''</div>
กล่าวสำหรับโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ โดยทั่วไปแล้ว บ่อยครั้งที่เห็นได้ชัดว่าในแต่ละโครงการนั้นได้ผสานวัตถุประสงค์หลากหลายเข้าไว้ด้วยกัน กล่าวคือ นอกจากเรื่องทางเศรษฐกิจและการยกระดับรายได้ของพสกนิกรแล้วยังปรากฎเรื่องของการพัฒนาสังคม การสร้างความเข้มแข็งมั่นคงให้กับชุมชน  การเสริมสร้างคุณภาพชีวิตในแง่ขององค์รวม ตลอดจนเรื่องของสังคมจิตวิทยา วิถีชีวิตไทยและวัฒนธรรมอีกด้วย ในพื้นที่พัฒนาบริเวณวัดมงคลชัยพัฒนา อำเภอเมืองจังหวัดสระบุรีนั้น นอกไปจากการนำทฤษฎีใหม่ตามที่ได้กล่าวไว้เบื้องต้นไปศึกษา ทดลองเพื่อเป็นต้นแบบแล้วยังผนวกรวมถึงเรื่องการนำวิถีชีวิตไทยที่ดีงามในอดีตรื้อฟื้นขึ้นมาใหม่ด้วย โดยได้พระราชทานพระราชดำริให้จัดสร้างศาลาอเนกประสงค์เพื่อให้พระสงฆ์ ชาวบ้านและส่วนราชการได้พบปะแลกเปลี่ยนความรู้และแก้ปัญหาของชุมชนร่วมกันไม่ว่าจะเป็นปัญหาด้านการทำมาหากินและปัญหาในชีวิตอื่นๆ ในลักษณะของสามประสาน หรือ '''บ-ว-ร บ้าน วัด และราชการ''' อีกด้วย ซึ่งวิถีชีวิตไทยในลักษณะนี้น่าจะคงและรักษาไว้ให้ดำรงอยู่ต่อไปในสังคมไทย แนวความคิดเหล่านี้ได้สะท้อนให้เห็นพระวิสัยทัศน์และพระสติปัญญาที่ลึกซึ้งกว้างไกลยิ่งนัก
*พุทธศักราช ๒๕๒๐ เกษตรขั้นบันได : บ้านผาปู่จอม จังหวัดเชียงใหม่


การจัดทำการเกษตรตามความลาดชันของไหล่เขา บ้านผาปู่จอม ตำบลแม่กืดช้าง อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ เสด็จพระราชดำเนิน เมื่อวันที่ ๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๒๐
'''สรุป แนวคิดและทฤษฎีการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวนั้น''' มีอยู่กว้างขวางและหลากหลายครอบคลุมและกี่ยวพันกับกระบวนการพัฒนาหลายสาขา แม้กระนั้นก็ดี แต่ละแนวคิดและทฤษฎีที่ได้พระราชทานไว้นั้น ได้ก่อคุณูปการอันยิ่งใหญ่แก่การสงเคราะห์ช่วยเหลือ และยกระดับคุณภาพชีวิตของพสกนิกรเป็นอเนกอนันต์ มาโดยตลอดระยะเวลา 50 ปี ที่ทรงครองสิริราชสมบัติ แนวคิดและทฤษฎีที่ทรงคิดค้นขึ้นเอง ด้วยพระอัจฉริยภาพและพระปรีชาสามารถที่ล้ำลึกนั้น ไม่จำกัดลงเฉพาะเรื่องของการเกษตรกรรม เช่น น้ำ ดิน อากาศ และการเพาะปลูกเท่านั้น หากแต่ยังมีเรื่งของการบริหารจัดการ เรื่องของการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตลอดจนด้านการพัฒนาสังคมและการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของประชาชนอีกด้วย การสงเคราะห์ช่วยเหลือพสกนิกรโดยเฉพาะผู้ยากไร้ในถิ่นทุรกันดารนั้น ได้เสริมสร้างความมั่นคงทั้งในด้านเศรษฐกิจและสังคมแก่ประเทศชาติเป็นส่วนรวม เป็นการแบ่งเบาภาระ อุดช่องว่าง และเสริมงานด้านการพัฒนาประเทศของรัฐบาลอย่างประสานสอดคล้องกัน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงงานหนักตรากตรำมาจนถึงบัดนี้ นับเป็น 50 ปี จวบจนกระทั่งเวลาถึงพระราชพิธีกาญจนาภิเษก อันเป็นที่ปลื้มปิติแก่พสกนิกรทั้งปวง ดังนั้น เพื่อจดบันทึกไว้เป็นเอกสารประวัติศาสตร์ แนวคิดและทฤษฏีการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริในพระองค์ จึงสมควรที่จะได้รับการศึกษาวิเคราะห์และรวบรวมไว้เป็นครั้งแรกด้วยความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอันล้นพ้นหาที่สุดมิได้ และเพื่อถวายเป็นพระราชสักการะเนื่องในมหาวโรกาสที่ยิ่งใหญ่นี้
</div>


[[ภาพ:ขั้นบันได.jpg]]


==='''การพัฒนาการเกษตร'''===
*พุทธศักราช ๒๕๒๐ เกษตรขั้นบันได : บ้านผาปู่จอม จังหวัดเชียงใหม่


การจัดทำการเกษตรตามความลาดชันของไหล่เขา บ้านผาปู่จอม ตำบลแม่กืดช้าง อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ เสด็จพระราชดำเนิน เมื่อวันที่ ๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๒๐


<div style="color:brown">'''3. ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ'''</div>
[[ภาพ:ขั้นบันได.jpg|center|frame|วันที่ ๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๐ เสด็จพระราชดำเนินไปยังพื้นที่เกษตรขั้นบันได บ้านผาปู่จอม จังหวัดเชียงใหม่]]




สืบเนื่องจากพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงมุ่งหวังพัฒนาความเป็นอยู่ของราษฎรให้สามารถช่วยเหลือพึ่งตนเองได้ โดยวิธีการหนึ่งที่ทรงเห็นว่าการได้เรียนรู้ และพบเห็นด้วยประสบการณ์ของตนเองนั้น เป็นการสร้างการเรียนรู้ในการพัฒนาชนบท ด้วยเหตุนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงพระราชทานพระราชดำริให้มี ศูนย์ศึกษาการพัฒนา อันเนื่องมาจากพระราชดำริ โดยทำหน้าที่เสมือน “พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติที่มีชีวิต” เพื่อเป็นศูนย์รวมของการศึกษา ค้นคว้าทดลอง วิจัย และแสวงหาแนวทางและวิธีการพัฒนาด้านต่างๆ ที่เหมาะสมสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมและการประกอบอาชีพของราษฎร ที่อาศัยอยู่ในภูมิประเทศนั้นๆ โดยเป็นแหล่งรวบรวมสรรพวิชาการ การค้นคว้า ทดลองและสาธิตทางด้านเกษตรกรรม เป็นระบบบริการเบ็ดเสร็จที่จุดเดียว (one stop services ) มีกิจกรรมด้านการศึกษาพัฒนาที่ต่อเนื่องและขยายผลที่เป็นความสำเร็จสู่เกษตรกร และชุมชนในภูมิภาคนั้นอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา และยิ่งไปกว่านั้น ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ยังเป็น “ต้นแบบ” ของการบริหารที่เป็นการรวมศูนย์ โดยนำเอาส่วนราชการที่เกี่ยวข้องหลากหลายหน่วยงาน มารวมไว้ ณ ที่แห่งเดียวและร่วมกันดำเนินงาน โดยมิได้มีหน่วยงานใดเป็นเจ้าของ เพื่อเป็นจุดบริการเบ็ดเสร็จให้แก่เกษตรกร ในการที่เกษตรกรจะนำไปเป็นต้นแบบ และเป็นแนวทางในการประกอบอาชีพที่เหมาะสม เพื่อชีวิตความเป็นอยู่ และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ดังที่ได้มีพระราชดำรัสในเรื่องนี้ว่า
==='''[[แนวคิดการพัฒนาเพื่อพึ่งตนเอง]]ของเกษตรกรอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (Self Reliance)'''===


<div style="color:darkgreen"> “...เป็นศูนย์ฯ หรือเป็นที่แห่งหนึ่งที่รวมการศึกษา เพื่อดูว่าทำอย่างไร จะพัฒนาได้ผล...”</div>
แนวพระราชดำริเกี่ยวกับการส่งเสริมชุมชนหรือการพัฒนาชนบทที่สำคัญๆ คือ การที่ทรงมุ่งช่วยเหลือพัฒนา คือ การที่ทรงมุ่งช่วยเหลือพัฒนาให้เกิดการพึ่งตนเองได้ของคนในชนบทเป็นหลัก กิจกรรมและโครงการตามแนวพระราชดำริที่ดำเนินการอยู่หลายพื้นที่ทั่วประเทศในปัจจุบันนั้นล้วนแล้วแต่มีเป้าหมายสุดท้ายอยู่ที่การพึ่งตนเองได้ของราษฎรทั้งสิ้น
 
 
 
<div style="color:darkgreen"> “...ศูนย์ศึกษาฯนี้เป็นคล้ายๆ พิพิธภัณฑธรรมชาติที่มีชีวิต ที่ใครๆ
จะมาดูว่าทำอะไรกัน...”</div>
 
 
 
<div style="color:darkgreen"> “...ศูนย์ศึกษาการพัฒนาฯ เป็นศูนย์ที่รวบรวมกำลังทั้งหมดของเจ้าหน้าที่ทุกกรมกอง ทั้งในด้านการเกษตรหรือในด้านสังคม ทั้งในด้านหางานการส่งเสริมการศึกษามาอยู่ด้วยกัน ก็หมายความว่าประชาชนซึ่งจะต้องการทั้งหลายก็สามารถที่จะมาดู ส่วนเจ้าหน้าที่จะให้ความอนุเคราะห์แก่ประชาชนก็มาอยู่พร้อมกันในที่เดียวกัน ซึ่งเป็นสองด้าน ก็หมายความถึงว่าสำคัญปลายทางคือ ประชาชนจะได้รับประโยชน์...”</div>


ในการพัฒนาทั้งด้านอาชีพและส่งเสริมการเกษตร ให้เกษตรกรสามารดำรงชีพอยู่ได้อย่างมั่นคงเป็นปึกแผ่นนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงดำเนินการแนะนำสาธิตให้ประชาชนดำเนินรอยตามเบื้องพระยุคลบาทเป็นไปตามหลักการพัฒนาสังคมชุมชนอย่างแท้จริง กล่าวคือ ทรงมุ่งช่วยเหลือพัฒนาให้เกิดการพึ่งตนเองได้ของคนในชนบทเป็นหลัก


ดังนั้น การที่ราษฎรในชนบทสามารถพึ่งตนเองได้มากยิ่งขึ้นนั้น สืบเนื่องจากแนวพระราชดำริด้านการพัฒนาที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานแก่เกษตรกรทั้งหลายประการ




บรรทัดที่ 47: บรรทัดที่ 46:
<nowiki>**</nowiki>{{แม่แบบ:สำนักงาน กปร.}}
<nowiki>**</nowiki>{{แม่แบบ:สำนักงาน กปร.}}


 
</div>
[[หมวดหมู่:พระราชกรณียกิจ]]
[[หมวดหมู่:พระราชกรณียกิจ]]
[[หมวดหมู่:การเกษตร]]
[[หมวดหมู่:การเกษตร]]

รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 09:50, 7 พฤศจิกายน 2551

 

การพัฒนาสังคมและการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของประชาชน

  • พุทธศักราช ๒๕๑๑ - ดอนขุนห้วย: เปลี่ยนดินรกร้างให้ชาวไร่

มีพระราชกระแสรับสั่งให้จัดหาที่ดินรกร้างว่างเปล่าเนื้อที่ 2,540 ไร่ ให้กลุ่มชาวไร่จากนิคมสร้างตนเองเขื่อนเพชรบุรี เข้าประกอบอาชีพภายใต้ โครงการพระราชประสงค์ ดอนขุนห้วย อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี

  • พุธทศักราช ๒๕๑๒ - "ช่วยชาวเขา ช่วยชาวเรา ช่วยชาวไทย"

ทรงตั้ง "โครงการหลวง" เพื่อแก้ปัญหาปลูกฝิ่นและการทำไร่เลื่อนลอยของชาวเขาซึ่งมีพฤติกรรม "ถางและเผา" โดยส่งเสริมให้มีความเป็นอยู่ที่ดีและถาวร โดยการปลูกพืชผักและไม้ดอกเมืองหนาวแทน (การแก้ปัญหายาเสพติด)

  • พุทธศักราช ๒๕๑๓ - หนองพลับ: พลิกฟื้นปฐพีสู่วิถีเกษตรกรรม

ดำเนินโครงการพัฒนาที่ดินตามพระราชประสงค์หนองพลับ อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี เนื้อที่ 65,000 ไร่ โดยส่งเสริมให้ราษฎรมีที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัย พร้อมทั้งพระราชทานคำแนะนำให้สร้างอ่างเก็บน้ำไว้ใช้เพื่อการเกษตร เมื่อฝนทิ้งช่วง

นอกเหนือไปจากการพัฒนาอาชีพเพื่อเพิ่มพูนรายได้ ซึ่งเป็นเรื่องเศรษฐกิจในครัวเรือนอันมีผลต่อเศรษฐกิจมหภาคแล้ว โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริทุกโครงการจะผนวกเรื่องของการพัฒนาสังคม และการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของประชาชนเข้าไว้ด้วยเป็นสำคัญ โดยถือหลักให้ประชาชนที่มีส่วนได้เสียในชุมชนนั่นเอง ได้เข้ามาร่วมมีส่วนในการตัดสินใจด้วยตนเอง (People Participation) ตั้งแต่เริ่มโครงการ วิธีการนี้เป็นที่รู้จักกันดีในหมู่นักพัฒนาตามโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เนื่องจากทรงเรียกกระบวนการนี้ว่าเป็นการ “ระเบิดจากข้างใน” คือประชาชนผู้มีส่วนได้เสียนั้นเองเป็นผู้กำหนดวิถีทางของตนเอง เพื่อเลือกแนวทางการพัฒนา และพร้อมที่จะรับกระแสของการพัฒนาจากข้างนอกที่จะมีเข้ามาในอนาคตหากวิเคราะห์ถึงการดำเนินงานในโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริอย่างเจาะลึกแล้ว จะเห็นได้ชัดว่าพระองค์ทรงใช้หลักของการประชาพิจารณ์ (Public Hearing) มานานนับเป็นเวลาหลายสิบปี ก่อนจะเป็นที่รู้จักกันแพร่หลาย และเริ่มกระทำกันอย่างกว้างขวางในขณะนี้ วิธีการทำประชาพิจารณ์ของพระองค์นั้น เป็นวิธีที่เรียบง่ายและตรงไปตรงมาโดยที่จะทรงอธิบายถึงวัตถุประสงค์และผลที่จะได้รับจากโครงการพัฒนากับพสกนิกรที่มาเฝ้าห้อมล้อมอยู่ หลังจากนั้นจะทรงถามถึงความสมัครใจ และกลุ่มที่จะต้องเสียสละในขณะนั้นเลย หลังจากได้มีการตกลงใจโดยเสียงเป็นเอกฉันท์แล้ว ก็จะทรงเรียกผู้นำท้องถิ่น เช่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน จนกระทั่งถึงนายอำเภอ และผู้ว่าราชการจังหวัด ให้มารับทราบและดำเนินการในขั้นต้น เช่น การจัดการในปัญหาเรื่องกรรมสิทธิ์ในที่ดิน ก่อนที่จะพระราชทานให้หน่วยงานปฏิบัติที่เกี่ยวข้องดำเนินการในเชิงบริหาร และวิชาการต่อไปจนเสร็จสิ้นโครงการ

การเข้ามามีส่วนร่วมในทุกระดับของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องนั้น จะมีทั้งในส่วนของประชาชนและในภาครัฐ จะเห็นได้ชัดเจนในอีกตัวอย่างหนึ่งคือ โครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ซึ่งถือเสมือนเป็น “พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติที่มีชีวิต” ซึ่งมีอยู่ทั่วทุกภาคของประเทศไทย ศูนย์ศึกษาการพัฒนาฯ นั้น นับได้ว่าเป็นรูปแบบใหม่ของการบริหารจัดการในระบบราชการไทย ซึ่งเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์นั่นก็คือ การลดขั้นตอนของการประสานการจัดการที่เคยชินอยู่กับการดำเนินงานระบบ “เอกเทศ” มาเป็นการ่วมกันทำในคราวเดียวกันในทุกสาขา เพื่อให้บริการแก่ประชาชน ณ ที่แห่งเดียว เป็น “ศูนย์บริการเบ็ดเสร็จ” หรือ “one stop services” ที่หน่วยราชการหลายหน่วยร่วมกันทำงาน โดยมีศูนย์ เป็นศูนย์รวม ทั้งนี้เพื่อมิให้ผู้ที่ต้องการความรู้และความช่วยเหลือต้องเสียเวลามากในการไปรับบริการในแต่ละองค์กร ซึ่งแยกย้ายกันอยู่ดังที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

กล่าวสำหรับโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ โดยทั่วไปแล้ว บ่อยครั้งที่เห็นได้ชัดว่าในแต่ละโครงการนั้นได้ผสานวัตถุประสงค์หลากหลายเข้าไว้ด้วยกัน กล่าวคือ นอกจากเรื่องทางเศรษฐกิจและการยกระดับรายได้ของพสกนิกรแล้วยังปรากฎเรื่องของการพัฒนาสังคม การสร้างความเข้มแข็งมั่นคงให้กับชุมชน การเสริมสร้างคุณภาพชีวิตในแง่ขององค์รวม ตลอดจนเรื่องของสังคมจิตวิทยา วิถีชีวิตไทยและวัฒนธรรมอีกด้วย ในพื้นที่พัฒนาบริเวณวัดมงคลชัยพัฒนา อำเภอเมืองจังหวัดสระบุรีนั้น นอกไปจากการนำทฤษฎีใหม่ตามที่ได้กล่าวไว้เบื้องต้นไปศึกษา ทดลองเพื่อเป็นต้นแบบแล้วยังผนวกรวมถึงเรื่องการนำวิถีชีวิตไทยที่ดีงามในอดีตรื้อฟื้นขึ้นมาใหม่ด้วย โดยได้พระราชทานพระราชดำริให้จัดสร้างศาลาอเนกประสงค์เพื่อให้พระสงฆ์ ชาวบ้านและส่วนราชการได้พบปะแลกเปลี่ยนความรู้และแก้ปัญหาของชุมชนร่วมกันไม่ว่าจะเป็นปัญหาด้านการทำมาหากินและปัญหาในชีวิตอื่นๆ ในลักษณะของสามประสาน หรือ บ-ว-ร บ้าน วัด และราชการ อีกด้วย ซึ่งวิถีชีวิตไทยในลักษณะนี้น่าจะคงและรักษาไว้ให้ดำรงอยู่ต่อไปในสังคมไทย แนวความคิดเหล่านี้ได้สะท้อนให้เห็นพระวิสัยทัศน์และพระสติปัญญาที่ลึกซึ้งกว้างไกลยิ่งนัก

สรุป แนวคิดและทฤษฎีการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวนั้น มีอยู่กว้างขวางและหลากหลายครอบคลุมและกี่ยวพันกับกระบวนการพัฒนาหลายสาขา แม้กระนั้นก็ดี แต่ละแนวคิดและทฤษฎีที่ได้พระราชทานไว้นั้น ได้ก่อคุณูปการอันยิ่งใหญ่แก่การสงเคราะห์ช่วยเหลือ และยกระดับคุณภาพชีวิตของพสกนิกรเป็นอเนกอนันต์ มาโดยตลอดระยะเวลา 50 ปี ที่ทรงครองสิริราชสมบัติ แนวคิดและทฤษฎีที่ทรงคิดค้นขึ้นเอง ด้วยพระอัจฉริยภาพและพระปรีชาสามารถที่ล้ำลึกนั้น ไม่จำกัดลงเฉพาะเรื่องของการเกษตรกรรม เช่น น้ำ ดิน อากาศ และการเพาะปลูกเท่านั้น หากแต่ยังมีเรื่งของการบริหารจัดการ เรื่องของการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตลอดจนด้านการพัฒนาสังคมและการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของประชาชนอีกด้วย การสงเคราะห์ช่วยเหลือพสกนิกรโดยเฉพาะผู้ยากไร้ในถิ่นทุรกันดารนั้น ได้เสริมสร้างความมั่นคงทั้งในด้านเศรษฐกิจและสังคมแก่ประเทศชาติเป็นส่วนรวม เป็นการแบ่งเบาภาระ อุดช่องว่าง และเสริมงานด้านการพัฒนาประเทศของรัฐบาลอย่างประสานสอดคล้องกัน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงงานหนักตรากตรำมาจนถึงบัดนี้ นับเป็น 50 ปี จวบจนกระทั่งเวลาถึงพระราชพิธีกาญจนาภิเษก อันเป็นที่ปลื้มปิติแก่พสกนิกรทั้งปวง ดังนั้น เพื่อจดบันทึกไว้เป็นเอกสารประวัติศาสตร์ แนวคิดและทฤษฏีการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริในพระองค์ จึงสมควรที่จะได้รับการศึกษาวิเคราะห์และรวบรวมไว้เป็นครั้งแรกด้วยความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอันล้นพ้นหาที่สุดมิได้ และเพื่อถวายเป็นพระราชสักการะเนื่องในมหาวโรกาสที่ยิ่งใหญ่นี้


การพัฒนาการเกษตร

  • พุทธศักราช ๒๕๒๐ เกษตรขั้นบันได : บ้านผาปู่จอม จังหวัดเชียงใหม่

การจัดทำการเกษตรตามความลาดชันของไหล่เขา บ้านผาปู่จอม ตำบลแม่กืดช้าง อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ เสด็จพระราชดำเนิน เมื่อวันที่ ๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๒๐

วันที่ ๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๐ เสด็จพระราชดำเนินไปยังพื้นที่เกษตรขั้นบันได บ้านผาปู่จอม จังหวัดเชียงใหม่


แนวคิดการพัฒนาเพื่อพึ่งตนเองของเกษตรกรอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (Self Reliance)

แนวพระราชดำริเกี่ยวกับการส่งเสริมชุมชนหรือการพัฒนาชนบทที่สำคัญๆ คือ การที่ทรงมุ่งช่วยเหลือพัฒนา คือ การที่ทรงมุ่งช่วยเหลือพัฒนาให้เกิดการพึ่งตนเองได้ของคนในชนบทเป็นหลัก กิจกรรมและโครงการตามแนวพระราชดำริที่ดำเนินการอยู่หลายพื้นที่ทั่วประเทศในปัจจุบันนั้นล้วนแล้วแต่มีเป้าหมายสุดท้ายอยู่ที่การพึ่งตนเองได้ของราษฎรทั้งสิ้น

ในการพัฒนาทั้งด้านอาชีพและส่งเสริมการเกษตร ให้เกษตรกรสามารดำรงชีพอยู่ได้อย่างมั่นคงเป็นปึกแผ่นนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงดำเนินการแนะนำสาธิตให้ประชาชนดำเนินรอยตามเบื้องพระยุคลบาทเป็นไปตามหลักการพัฒนาสังคมชุมชนอย่างแท้จริง กล่าวคือ ทรงมุ่งช่วยเหลือพัฒนาให้เกิดการพึ่งตนเองได้ของคนในชนบทเป็นหลัก

ดังนั้น การที่ราษฎรในชนบทสามารถพึ่งตนเองได้มากยิ่งขึ้นนั้น สืบเนื่องจากแนวพระราชดำริด้านการพัฒนาที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานแก่เกษตรกรทั้งหลายประการ



**ข้อมูลจาก หนังสือ ๘๐ ทศวรรษแห่งการพัฒนา จัดทำโดยสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ