ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ปริญญาฯ-มหาวิทยาลัยเมลเบิร์น"
จาก WIKI84
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
ล (Wikipedia python library) |
||
บรรทัดที่ 16: | บรรทัดที่ 16: | ||
<div style="text-indent: 30px; padding-top:10px">อีกวิถีหลายสายเพื่อรองบาทบทจรแห่งปราชญ์และบุรุษเกรียงไกร" | <div style="text-indent: 30px; padding-top:10px">อีกวิถีหลายสายเพื่อรองบาทบทจรแห่งปราชญ์และบุรุษเกรียงไกร" | ||
</div> | </div> | ||
<div style="text-indent: 30px; padding-top:15px"> | <div style="text-indent: 30px; padding-top:15px">การอุปถัมภ์[[การศึกษา]]ในประเทศไทยเป็นโบราณราชประเพณีเช่นเดียวกับในประเทศอังกฤษ ในคริสต์ศตวรรษที่ ๑๓ พ่อขุนราคำแหงมหาราชทรงสถาปนาศูนย์กลางแห่งการเรียนรู้ ส่วนในสมัยใหม่ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระบรมอัยกาธิราช ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ตั้งโรงเรียมากมาย ซึ่งหนึ่งในจำนวนนั้นได้กลายเป็น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในปัจจุบัน สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรมพระบรมราชนก สมเด็จพระราชบิดาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งทรงศึกษา วิชา[[การแพทย์]] ณ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ทรงมีส่วนสำคัญในการก่อตั้งคณะแพทย์แห่งโรงพยาบาลศิริราช อีกทั้งได้ทรงพระกรุณาส่งนักศึกษาแพทย์ไทย ไปศึกษา ยังต่างประเทศด้วยพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ | ||
</div> | </div> | ||
<div style="text-indent: 30px; padding-top:15px">พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชสมภพ ณ เมืองเคมบริดจ์ ซึ่งมิใช่เมืองเคมบริดจ์เก่าแก่ ที่เกี่ยวข้องกับราชสำนัก แต่เป็นเมืองเคมบริดจ์ใหม่ในรัฐแมสซาชูเซตส์แห่งสหรัฐอเมริกา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงศึกษา ณ มหาวิทยาลัยโลซาน | <div style="text-indent: 30px; padding-top:15px">พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชสมภพ ณ เมืองเคมบริดจ์ ซึ่งมิใช่เมืองเคมบริดจ์เก่าแก่ ที่เกี่ยวข้องกับราชสำนัก แต่เป็นเมืองเคมบริดจ์ใหม่ในรัฐแมสซาชูเซตส์แห่งสหรัฐอเมริกา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงศึกษา ณ มหาวิทยาลัยโลซาน แม้จะสนพระราชหฤทัยในสาขา[[วิทยาศาสตร์]]แต่ได้ทรงเปลี่ยนไปศึกษา[[กฎหมาย]]และรัฐประศาสนศาสตร์ ในฐานะพระมหากษัตริย์ ทรงอุปถัมภ์สยามสมาคม และองค์กรทาง[[การศึกษา]]และอาชีพมากมาย ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ก่อตั้งทุนภูมิพลเพื่อพระราชทานแก่นิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และทุนมูลนิธิ อานันทมหิดลเพื่อพระราชทานแก่บัณฑิตไทยที่มีผล[[การศึกษา]]ยอดเยี่ยมเพื่อไปศึกษาต่อต่างประเทศ ในสาขาแพทยศาสตร์ และเมื่อไม่นานมานี้ได้รวมถึง สาขา[[วิทยาศาสตร์]] และเกษตรศาสตร์ด้วย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวสนพระราชหฤทัยใน[[การศึกษา]]ระดับมหาวิทยาลัย และได้เสด็จพระราชดำเนินไปพระราชทาน ปริญญาบัตร แก่ผู้สำเร็จ[[การศึกษา]]ด้วยพระองค์เอง | ||
</div> | </div> | ||
<div style="text-indent: 30px; padding-top:15px"> | <div style="text-indent: 30px; padding-top:15px">พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวสนพระราชหฤทัยในด้านการสาธารณสุขไม่ยิ่งหย่อนไปกว่า[[การศึกษา]] ทรงรณรงค์เพื่อต่อสู้กับอหิวาตกโรค เพื่อควบคุมโรคเรื้อน และเพื่อบำบัดฟื้นฟูผู้ป่วยโรคโปลิโอ ทรงพระกรุณาพระราชทานความช่วยเหลือสนับสนุนกิจการเหล่านี้ ด้วยทรงปฏิบัติพระองค์เป็นแบบอย่าง พระราชทานทุนทรัพย์และสิ่งของตลอดจนหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ และเรือสำหรับสภากาชาดไทยซึ่งสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถทรงเป็นสภานายิกา | ||
<div style="text-indent: 30px; padding-top:15px"> | <div style="text-indent: 30px; padding-top:15px">พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวใฝ่พระราชหฤทัยในการนำประโยชน์จากความรู้ด้าน[[วิทยาศาสตร์]] และ[[การแพทย์]]สมัยใหม่มาใช้ เพื่อประโยชน์สุขของพสกนิกร และก็ยังทรงสนพระราชหฤทัยอย่างลึกซึ้งในศิลปวัฒนธรรมไทยโบราณและ การศาสนาอีกด้วย ทรงเป็นอัครศาสนูปถัมภกของทุกศาสนาในประเทศไทย ทรงส่งเสริม[[ศิลปะ]]และ[[ดนตรี]]ประจำชาติ (ทั้งนี้มิใช่จะทรงละเว้นความสนพระราชหฤทัยใน[[ศิลปะ]] และ[[ดนตรี]]แขนงอื่นแต่อย่างใด) ทั้งยังทรงพระราชอุตสาหะในการธำรงรักษาความพิศุทธ์ของภาษาไทย | ||
<div style="text-indent: 30px; padding-top:15px">สุดท้ายนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินมา ณ มหาวิทาลัยเมลเบิร์น บ่ายวันนี้ในฐานะ พระประมุขของประเทศที่พวกเราทั้งหลายได้รู้จักพสกนิกรของพระองค์และเรียนรู้ที่จะชื่นชอบในช่วงเวลาหลายปีที่ผ่านมา ส่วนใหญ่เป็นนักศึกษาไทย ซึ่งเป็นอาคันตุกะของเรา ในรัฐวิกตอเรีย ในการประกาศสดุดีพระเกียรติคุณพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เราขอแสดงความชื่นชมนักศึกษาเหล่านั้น และประชาชนชาวไทยทั้งประเทศด้วย | <div style="text-indent: 30px; padding-top:15px">สุดท้ายนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินมา ณ มหาวิทาลัยเมลเบิร์น บ่ายวันนี้ในฐานะ พระประมุขของประเทศที่พวกเราทั้งหลายได้รู้จักพสกนิกรของพระองค์และเรียนรู้ที่จะชื่นชอบในช่วงเวลาหลายปีที่ผ่านมา ส่วนใหญ่เป็นนักศึกษาไทย ซึ่งเป็นอาคันตุกะของเรา ในรัฐวิกตอเรีย ในการประกาศสดุดีพระเกียรติคุณพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เราขอแสดงความชื่นชมนักศึกษาเหล่านั้น และประชาชนชาวไทยทั้งประเทศด้วย |
รุ่นแก้ไขเมื่อ 04:58, 24 มกราคม 2551
คำประกาศสดุดีพระเกียรติคุณพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
ในโอกาสที่มหาวิทยาลัยเมลเบิร์น เครือรัฐออสเตรเลีย
ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายปริญญานินิศาสตดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์
ณ มหาวิทยาลัยเมลเบิร์น
วันจันทร์ ที่ ๓ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๐๕
ขอเดชะฝ่าละอองธุลีพระบาทปกเกล้าปกกระหม่อม
วันนี้ นับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่พวกเราทั้งหลายได้มีโอกาสรับเสด็จพระมหากษัตริย์ผู้ยังทรงครองราชย์อยู่ในปัจจุบัน และทรงเป็นประมุข แห่งพระราชวงศ์ที่มิใช่พระราชวงศ์ในเครือจักรภพ
โอกาสอันดีเช่นนี้ น่าจะเตือนใจพวกเราให้สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระประมุข และพระราชวงศ์ผู้ทรงสถาปนา และอุปถัมภ์มหาวิทยาลัยต่างๆ ในหลายประเทศตั้งแต่ครั้งโบราณกาล ให้จดจำรำลึกถึง "นักบุญหลวง" ผู้ทรงสถาปนาโบสถ์ ประจำคิงส์คอลเลจ แห่งมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ซึ่งเป็นผลงานที่ยิ่งใหญ่และรุ่งโรจน์ในทางภูมิปัญญาอันล้ำลึก และหวนคำนึงถึงมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด ในข้อที่ว่า
"พระมหากษัตริย์ผู้ทรงพระคุณทรงรังสรรค์แต่ครั้งโบราณกาล
ทั้งหอคอยตระหง่าน สุสาน และอนุสาวรีย์ เรียงราย
อีกวิถีหลายสายเพื่อรองบาทบทจรแห่งปราชญ์และบุรุษเกรียงไกร"
การอุปถัมภ์การศึกษาในประเทศไทยเป็นโบราณราชประเพณีเช่นเดียวกับในประเทศอังกฤษ ในคริสต์ศตวรรษที่ ๑๓ พ่อขุนราคำแหงมหาราชทรงสถาปนาศูนย์กลางแห่งการเรียนรู้ ส่วนในสมัยใหม่ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระบรมอัยกาธิราช ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ตั้งโรงเรียมากมาย ซึ่งหนึ่งในจำนวนนั้นได้กลายเป็น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในปัจจุบัน สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรมพระบรมราชนก สมเด็จพระราชบิดาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งทรงศึกษา วิชาการแพทย์ ณ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ทรงมีส่วนสำคัญในการก่อตั้งคณะแพทย์แห่งโรงพยาบาลศิริราช อีกทั้งได้ทรงพระกรุณาส่งนักศึกษาแพทย์ไทย ไปศึกษา ยังต่างประเทศด้วยพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชสมภพ ณ เมืองเคมบริดจ์ ซึ่งมิใช่เมืองเคมบริดจ์เก่าแก่ ที่เกี่ยวข้องกับราชสำนัก แต่เป็นเมืองเคมบริดจ์ใหม่ในรัฐแมสซาชูเซตส์แห่งสหรัฐอเมริกา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงศึกษา ณ มหาวิทยาลัยโลซาน แม้จะสนพระราชหฤทัยในสาขาวิทยาศาสตร์แต่ได้ทรงเปลี่ยนไปศึกษากฎหมายและรัฐประศาสนศาสตร์ ในฐานะพระมหากษัตริย์ ทรงอุปถัมภ์สยามสมาคม และองค์กรทางการศึกษาและอาชีพมากมาย ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ก่อตั้งทุนภูมิพลเพื่อพระราชทานแก่นิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และทุนมูลนิธิ อานันทมหิดลเพื่อพระราชทานแก่บัณฑิตไทยที่มีผลการศึกษายอดเยี่ยมเพื่อไปศึกษาต่อต่างประเทศ ในสาขาแพทยศาสตร์ และเมื่อไม่นานมานี้ได้รวมถึง สาขาวิทยาศาสตร์ และเกษตรศาสตร์ด้วย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวสนพระราชหฤทัยในการศึกษาระดับมหาวิทยาลัย และได้เสด็จพระราชดำเนินไปพระราชทาน ปริญญาบัตร แก่ผู้สำเร็จการศึกษาด้วยพระองค์เอง
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวสนพระราชหฤทัยในด้านการสาธารณสุขไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าการศึกษา ทรงรณรงค์เพื่อต่อสู้กับอหิวาตกโรค เพื่อควบคุมโรคเรื้อน และเพื่อบำบัดฟื้นฟูผู้ป่วยโรคโปลิโอ ทรงพระกรุณาพระราชทานความช่วยเหลือสนับสนุนกิจการเหล่านี้ ด้วยทรงปฏิบัติพระองค์เป็นแบบอย่าง พระราชทานทุนทรัพย์และสิ่งของตลอดจนหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ และเรือสำหรับสภากาชาดไทยซึ่งสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถทรงเป็นสภานายิกา
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวใฝ่พระราชหฤทัยในการนำประโยชน์จากความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ และการแพทย์สมัยใหม่มาใช้ เพื่อประโยชน์สุขของพสกนิกร และก็ยังทรงสนพระราชหฤทัยอย่างลึกซึ้งในศิลปวัฒนธรรมไทยโบราณและ การศาสนาอีกด้วย ทรงเป็นอัครศาสนูปถัมภกของทุกศาสนาในประเทศไทย ทรงส่งเสริมศิลปะและดนตรีประจำชาติ (ทั้งนี้มิใช่จะทรงละเว้นความสนพระราชหฤทัยในศิลปะ และดนตรีแขนงอื่นแต่อย่างใด) ทั้งยังทรงพระราชอุตสาหะในการธำรงรักษาความพิศุทธ์ของภาษาไทย
สุดท้ายนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินมา ณ มหาวิทาลัยเมลเบิร์น บ่ายวันนี้ในฐานะ พระประมุขของประเทศที่พวกเราทั้งหลายได้รู้จักพสกนิกรของพระองค์และเรียนรู้ที่จะชื่นชอบในช่วงเวลาหลายปีที่ผ่านมา ส่วนใหญ่เป็นนักศึกษาไทย ซึ่งเป็นอาคันตุกะของเรา ในรัฐวิกตอเรีย ในการประกาศสดุดีพระเกียรติคุณพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เราขอแสดงความชื่นชมนักศึกษาเหล่านั้น และประชาชนชาวไทยทั้งประเทศด้วย
อธิการบดีมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น เครือรัฐออสเตรเลีย ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายปริญญาบัตรนิติศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ ณ มหาวิทยาลัยเมลเบิร์น นครเมลเบิร์น เครือรัฐออสเตรเลีย เมื่อวันจันทร์ ที่ ๓ กันยายน ๒๕๐๕
พระราชทานพระราชดำรัสในโอกาสทมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายปริญญาบัตรนิติศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์
ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ
หน้าแรกประมวลคำสดุดีพระเกียรติคุณฯ | บัญชีปริญญาดุษฎีบัณฑิตฯ | บัญชีตำแหน่งสมาชิกกิตติมศักดิ์ฯ | บัญชีรางวัลฯ | พระราชกรณียกิจ |