ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สารฝนหลวง"
(New page: <div id="rain"> <center>'''สารฝนหลวง'''</center> '''สารฝนหลวงในการปฏิบัติการทำฝนในประเทศไท...) |
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
บรรทัดที่ 34: | บรรทัดที่ 34: | ||
[[Category: พระราชกรณียกิจ]] | [[Category: พระราชกรณียกิจ]] | ||
[[Category: ฝนหลวง]] | [[Category: ฝนหลวง]] | ||
[[Category: ความรู้ในการทำฝน]] | |||
รุ่นแก้ไขเมื่อ 04:13, 1 เมษายน 2551
สารฝนหลวงในการปฏิบัติการทำฝนในประเทศไทย
สารฝนหลวงที่ใช้ทำฝนหลวงในปัจจุบัน มีทั้งสิ้น 7 ชนิด บางชนิดมีคุณสมบัติดูดซับความชื้นได้ดี(hygroscopic substances) บางชนิดมีคุณมบัติเป็นแกนกลั่นตัว(CCN)ของความชื้นในบรรยากาศ บางชนิดสามารถคายความร้อนออกมาเพื่อกระตุ้น หรือ เสริมการก่อตัวและ เจริญเติบโตของเมฆ บางชนิดสามารถดูดดึงความร้อนทำให้อุณหภูมิของอากาศหรือเมฆเย็นตัวลง เร่งการกลั่นตัวของไอน้ำและเสริมความหนาแน่น ของเมฆจนเกิดเป็นฝน การเลือกใช้สารฝนหลวงแต่ละชนิด จึงพิจารณาคุณสมบัติที่กล่าวข้างต้นกับสภาวะของเมฆหรือบรรยากาศในแต่ละวันเป็นสำคัญ สารฝนหลวงที่ใช้แบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท คือ
สารฝนหลวงสูตรร้อน
สารฝนหลวงสูตรร้อนมีคุณสมบัติเมื่อดูดซับความชื้นในอากาศ หรือทำปฏิกิริยากับน้ำะทำใหอุณหภูมิสูงขึ้น ใช้ในสภาพผงละเอียด สารฝนหลวงสูตรร้อนที่ ใช้ในปัจจุบันมี 2 ชนิด คือ
- สูตร6 แคลเซียมคลอไรด์(Calcium Chloride)
- สูตร8 แคลเซียมอ๊อกไซด์(Calcium Oxide)
สารฝนหลวงสูตรเย็น
สารฝนหลวงสูตรเย็นมีคุณสมบัติเมื่อดูดซับความชื้นในอากาศ หรือทำปฏิกิริยากับน้ำ ทำให้อุณหภูมิลดลงหรือเย็นลง สารฝนหลวงสูตรเย็นที่ ใช้ในปัจจุบันมี 3 ชนิด คือ
- สูตร4 ยูเรีย (Urea)
- สูตร19 แอมโมเนียมไนเตรท (Ammonium Nitrate)
- สูตร 3 น้ำแข็งแห้ง (Dry Ice)
สารฝนหลวงสูตรสร้างแกนกลั่นตัวของอากาศ
สารฝนหลวงสูตรสร้างแกนกลั่นตัวของอากาศ มีคุณสมบัติเป็นแกนดูดซับความชื้นให้เข้ามาเกาะและกลั่นตัว กลายเป็นเม็ดน้ำจำนวนมาก สารฝนหลวงสูตรแกนกลั่นตัวที่ ใช้ในปัจจุบันมี 2 ชนิด คือ
- สูตร1 เกลือแป้ง (Sodium Chloride)
- สารฝนหลวง สูตรฝนหลวง ท1
ข้อมูลจาก สำนักฝนหลวงและการบินเกษตร
ห้ามนำข้อมูลของเว็บไซต์นี้ ไปเผยแพร่ต่อโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร