ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ภูมิสังคมกับการพัฒนา"

จาก WIKI84
(สร้างหน้าใหม่: ระหว่างดำเนินการ หมวดหมู่:พระราชกรณียกิจ)
 
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัดที่ 1: บรรทัดที่ 1:
ระหว่างดำเนินการ
<div class="kindent">หากมองมาที่การพัฒนาตามแนวพระราชดำริทั้งหลายจะเห็นว่าโครงการต่างๆ ที่เกิดขึ้นมากมายนั้น กว่าจะพระราชทานพระราชดำริให้ดำเนินการอย่างไรจะต้องเป็นเรื่องที่สอดคล้องกับสังคมของคนกลุ่มนั้นและตามสภาพท้องถิ่น เมื่อประชากรในชนบทส่วนใหญ่ทำการเกษตรซึ่งมีความจำเป็นต้องใช้น้ำเพื่อการเกษตร และอุปโภค-บริโภค และต้องอาศัยน้ำตามธรรมชาติ หากปีไหนขาดฝนผลผลิตก็จะได้น้อย โครงการพัฒนาแหล่งน้ำอันเนื่องมาจากพระราชดำริจึงเกิดขึ้นตั้งแต่ ปี ๒๔๙๖ และเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องจนกระทั่งปัจจุบัน และมากกว่าโครงการประเภทใดๆ เพราะพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงให้ความสำคัญกับน้ำในลักษณะ '''"น้ำคือชีวิต"''' ซึ่งการพัฒนาแหล่งน้ำนั้นจะมีพระราชดำริให้ดำเนินการประเภทใดต้องขึ้นกับสภาพภูมิศาสตร์บริเวณนั้นๆ ด้วย เช่นโครงการเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ฯ สร้างขึ้นเพื่อให้มีน้ำใช้ในฤดูแล้ง เพื่อป้องกันและบรรเทาน้ำท่วมบริเวณลุ่มน้ำป่าสักและลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่างในฤดูน้ำหลาก
 
โครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระราชดำริครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๓ กันยายน ๒๕๒๑ และมีพระราชดำริอย่างต่อเนื่องอีกหลายครั้ง โดยสรุปให้สร้างประตูระบายน้ำพร้อมอาคารควบคุมตามลำน้ำสาขาต่างๆ ขุดลอกขยายคลองระบายน้ำ ทั้งนี้เพื่อแก้ปัญหาขาดแคลนน้ำจืดสำหรับการเกษตร การอุปโภค-บริโภค และแก้ปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่ทำกินของราษฎร ตลอดจนการกำหนดแนวเขตที่เหมาะสมในการแยกน้ำจืด น้ำเค็มออกจากกันให้ชัดเจน
 
จากสภาพลุ่มน้ำก่ำที่คดเคี้ยวจากเทือกเขาภูพานทอดยาวผ่านหลายอำเภอ จะไปบรรจบแม่น้ำโขงเป็นระยะทาง ๑๒๓ กิโลเมตร ซึ่งลำน้ำนี้หล่อเลี้ยงชีวิตประชาชนที่อาศัยอยู่ตามริมฝั่งน้ำ แต่ในช่วงฤดูฝนน้ำจะหลากท่วมพื้นที่ทำกินทั้งสองฝั่ง แต่ถ้าเป็นหน้าแล้งราษฎรจะขาดแคลนน้ำสำหรับการเพาะปลูก ด้วยสภาพภูมิศาสตร์สังคมที่ทรงทราบจากการเสด็จฯ ไปทรงเยี่ยมประชาชนในพื้นที่จึงทรงร่างภาพ "โครงการพัฒนาลุ่มน้ำก่ำ" ให้เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องนำไปดำเนินการสร้างประตูระบายน้ำในลำน้ำก่ำเป็นระยๆ เพื่อเก็บกักน้ำไว้ในลำน้ำให้เกษตรกรได้มีน้ำใช้ตลอดปีและเพียงพอสำหรับการเพาะปลูก
 
จากการพัฒนาแหล่งน้ำที่สอดคล้องกับสภาพภูมิศาสตร์แล้ว เมื่อพิจารณาโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริทางทางการเกษตรนั้น ทรงสนับสนุนให้ทำการเกษตรแบบสมัยที่บรรพบุรุษได้ทำมา และเป็นวิถีชีวิตของคนในชนบท นั่นคือ รอบๆ บริเวณบ้านจะมีทั้งพืชผักที่ใช้รับประทานเป็นประจำวัน เช่น พืชสมุนไพรสำหรับปรุงอาหาร เช่น ข่า ตะไคร้ โหระพา มะกรูด นอกจากนั้นยังมีไม้ผลหลายๆ ชนิด ชนิดละ ๒-๓ ต้น พร้อมๆ กับเลี้ยงไก่ สุกร โค กระบือ ซึ่งกินอาหารที่มีอยู่รอบๆ บ้าน ในนาก็มีปลา สิ่งเหล่านี้ทำให้ประชาชนในชนบทสามารถพึ่งพาตนเองได้ในด้านอาหาร ซึ่งเป็นลักษณะของโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ด้านการเกษตรผสมผสาน และการเกษตรยั่งยืน ที่สอดคล้องกับสภาพภูมิศาสตร์สังคม เป็นวิถีชีวิตที่สามารถอยู่ได้ด้วยการพึ่งตนเอง โดยเฉพาะในเรื่องอาหารเป็นเบื้องต้น
 
ในเรื่องของการอนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติ ที่พระราชทานพระราชดำริให้ดำเนินการใช้ทรัพยากรธรรมชาติในลักษณะยั่งยืน และการดำเนินการจะต้องเป็นไปตามสภาพภูมิประเทศ เช่น ในการดำเนินงานโครงการพัฒนาและรณรงค์การใช้หญ้าแฝกอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ได้พระราชทานพระราชดำริครั้งแรก เมื่อเดือนมิถุนายน ๒๕๓๕ มีใจความสรุปส่วนหนึ่งว่า '''การปลูกหญ้าแฝกให้พิจารณาลักษณะของภูมิประเทศ'''และยังมีพระราชดำรัสกับเจ้าหน้าที่ผู้ดำเนินงานการปลูกหญ้าแฝกเกี่ยวกับการปลูกที่จะต้องคำนึงถึงสภาพภูมิประเทศอีกหลายครั้ง แม้กระทั่งพระบรมราโชวาทที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เมื่อวันที่ ๒๕ กรกฎาคม ๒๕๔๐ ความตอนหนึ่งว่า
 
'''"...การปลูกหญ้าแฝกจะต้องปลูกให้ชิดติดกันเป็นแผง และวางแนวให้เหมาะสมกับลักษณะของภูมิประเทศ เป็นต้นว่า บนพื้นที่สูงจะต้องปลูกตามแนวขวางของความลาดชันและร่องน้ำ บนพื้นที่ราบจะต้องปลูกรอบแปลงหรือปลูกตามร่องสลับกับพืชไร่ ในพื้นที่เก็บกักน้ำจะต้องปลูกเป็นแนวเหนือแหล่งน้ำ"""
 
ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เป็นโครงการที่สำคัญอีกประเภทหนึ่งที่จัดตั้งขึ้นตามสภาพภูมิศาสตร์สังคม เพราะวัตถุประสงค์ที่สำคัญตามที่ได้พระราชทานพระราชดำรัสไว้เมื่อวันที่ ๑๑ กันยายน ๒๕๒๖ ความตอนหนึ่งว่า
 
'''"...ด้านหนึ่งก็เป็นจุดประสงค์ของศูนย์ศึกษาก็เป็นสถานที่สำหรับค้นคว้าวิจัยในท้องที่ เพราะว่าแต่ละท้องที่สภาพฝน ฟ้า อากาศ และประชาชนในท้องที่ต่างๆ กัน ก็มีลักษณะแตกต่างกันมากเหมือนกัน..."'''
</div>
 
 
'''ผลแห่งการพัฒนา'''
 
<div class="kindent">จากการดำเนินงานโคงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ที่เป็นไปตามสภาพภูมิศาสตร์และสภาพสังคมของแต่ละท้องถิ่นที่ได้กล่าวมาให้เห็นเป็นตัวอย่างบางโครงการนั้น คือ การดำเนินการโครงการใดๆ โดยเฉพาะการพัฒนาในชนบท ได้คำนึงถึงสภาพภูมิศาสตร์เป็นสำคัญว่า สภาพดิน น้ำ ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่เป็นอย่างไร จะเอื้อต่อกิจกรรมที่จะดำเนินการหรือไม่ เมื่อประชาชนมีความรู้ความเข้าใจ มีความพร้อมที่จะร่วมดำเนินการโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริจึงเกิดขึ้นมากมายหลายประเภท ซึ่งล้วนแล้วแต่สนับสนุนให้ประชาชนได้ประกอบอาชีพตามสภาพภูมิศาสตร์และสอดคล้องกับวัฒนธรรมท้องถิ่น และอยู่ได้ด้วยการพึ่งพาตนเองภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง กล่าวคือ มีแหล่งน้ำเพื่ออุปโภค-บริโภค และเพื่อการเกษตร มีแหล่งความรู้ที่มีเทคโนโลยีใหม่ๆ ประหยัด เกษตรกรสามารถนำไปปฏิบัติได้อยู่ในศูนย์ศึกษาฯ ซึ่งเกษตรกรเข้าไปศึกษาหาความรู้ได้ตลอดเวลา เพื่อเลือกว่าเรื่องใดที่เหมาะกับทรัพยากรที่มีอยู่และความพอใจของตนก็นำไปเป็นแนวทางในการประกอบอาชีพ ผลของการพัฒนาตามแนวพระราชดำริจึงทำให้ประชาชนที่อยู่ในเป้าหมายของโครงการมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นตามลำดับ แม้ว่าจะเป็นไปอย่างช้าๆ แต่สามารถพึ่งพาตนเองได้ มีทรัพยากรธรรมชาติที่จะได้ใช้อย่างยั่งยืน
 
ดังนั้นการพัฒนาชุมชนใดๆ ก็ตาม ตลอดจนถึงการพัฒนาในระดับกว้างถึงระดับประเทศ ถ้าการพัฒนาเป็นไปตามสภาพภูมิศาสตร์และภูมิสังคม โดยทำไปตามลำดับขั้นแล้วความสำเร็จย่อมมีมาก ปัญหาต่างๆ ก็จะน้อยลง ความก้าวหน้าของประเทศก็จะเดินไปด้วยความมั่นคง และอยู่ได้ด้วยการพึ่งพาตนเองทั้งเรื่องของเศรษฐกิจ เรื่องของทรัพยากรธรรมชาติ เทคโนโลยีที่เหมาะสมกับสภาพภูมิศาสตร์และประชากร และสังคมอยู่ร่วมกันด้วยความสามัคคี ประชาชนก็จะเป็นสุข
</div>




[[หมวดหมู่:พระราชกรณียกิจ]]
[[หมวดหมู่:พระราชกรณียกิจ]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 10:38, 8 พฤษภาคม 2551

หากมองมาที่การพัฒนาตามแนวพระราชดำริทั้งหลายจะเห็นว่าโครงการต่างๆ ที่เกิดขึ้นมากมายนั้น กว่าจะพระราชทานพระราชดำริให้ดำเนินการอย่างไรจะต้องเป็นเรื่องที่สอดคล้องกับสังคมของคนกลุ่มนั้นและตามสภาพท้องถิ่น เมื่อประชากรในชนบทส่วนใหญ่ทำการเกษตรซึ่งมีความจำเป็นต้องใช้น้ำเพื่อการเกษตร และอุปโภค-บริโภค และต้องอาศัยน้ำตามธรรมชาติ หากปีไหนขาดฝนผลผลิตก็จะได้น้อย โครงการพัฒนาแหล่งน้ำอันเนื่องมาจากพระราชดำริจึงเกิดขึ้นตั้งแต่ ปี ๒๔๙๖ และเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องจนกระทั่งปัจจุบัน และมากกว่าโครงการประเภทใดๆ เพราะพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงให้ความสำคัญกับน้ำในลักษณะ "น้ำคือชีวิต" ซึ่งการพัฒนาแหล่งน้ำนั้นจะมีพระราชดำริให้ดำเนินการประเภทใดต้องขึ้นกับสภาพภูมิศาสตร์บริเวณนั้นๆ ด้วย เช่นโครงการเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ฯ สร้างขึ้นเพื่อให้มีน้ำใช้ในฤดูแล้ง เพื่อป้องกันและบรรเทาน้ำท่วมบริเวณลุ่มน้ำป่าสักและลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่างในฤดูน้ำหลาก

โครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระราชดำริครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๓ กันยายน ๒๕๒๑ และมีพระราชดำริอย่างต่อเนื่องอีกหลายครั้ง โดยสรุปให้สร้างประตูระบายน้ำพร้อมอาคารควบคุมตามลำน้ำสาขาต่างๆ ขุดลอกขยายคลองระบายน้ำ ทั้งนี้เพื่อแก้ปัญหาขาดแคลนน้ำจืดสำหรับการเกษตร การอุปโภค-บริโภค และแก้ปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่ทำกินของราษฎร ตลอดจนการกำหนดแนวเขตที่เหมาะสมในการแยกน้ำจืด น้ำเค็มออกจากกันให้ชัดเจน

จากสภาพลุ่มน้ำก่ำที่คดเคี้ยวจากเทือกเขาภูพานทอดยาวผ่านหลายอำเภอ จะไปบรรจบแม่น้ำโขงเป็นระยะทาง ๑๒๓ กิโลเมตร ซึ่งลำน้ำนี้หล่อเลี้ยงชีวิตประชาชนที่อาศัยอยู่ตามริมฝั่งน้ำ แต่ในช่วงฤดูฝนน้ำจะหลากท่วมพื้นที่ทำกินทั้งสองฝั่ง แต่ถ้าเป็นหน้าแล้งราษฎรจะขาดแคลนน้ำสำหรับการเพาะปลูก ด้วยสภาพภูมิศาสตร์สังคมที่ทรงทราบจากการเสด็จฯ ไปทรงเยี่ยมประชาชนในพื้นที่จึงทรงร่างภาพ "โครงการพัฒนาลุ่มน้ำก่ำ" ให้เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องนำไปดำเนินการสร้างประตูระบายน้ำในลำน้ำก่ำเป็นระยๆ เพื่อเก็บกักน้ำไว้ในลำน้ำให้เกษตรกรได้มีน้ำใช้ตลอดปีและเพียงพอสำหรับการเพาะปลูก

จากการพัฒนาแหล่งน้ำที่สอดคล้องกับสภาพภูมิศาสตร์แล้ว เมื่อพิจารณาโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริทางทางการเกษตรนั้น ทรงสนับสนุนให้ทำการเกษตรแบบสมัยที่บรรพบุรุษได้ทำมา และเป็นวิถีชีวิตของคนในชนบท นั่นคือ รอบๆ บริเวณบ้านจะมีทั้งพืชผักที่ใช้รับประทานเป็นประจำวัน เช่น พืชสมุนไพรสำหรับปรุงอาหาร เช่น ข่า ตะไคร้ โหระพา มะกรูด นอกจากนั้นยังมีไม้ผลหลายๆ ชนิด ชนิดละ ๒-๓ ต้น พร้อมๆ กับเลี้ยงไก่ สุกร โค กระบือ ซึ่งกินอาหารที่มีอยู่รอบๆ บ้าน ในนาก็มีปลา สิ่งเหล่านี้ทำให้ประชาชนในชนบทสามารถพึ่งพาตนเองได้ในด้านอาหาร ซึ่งเป็นลักษณะของโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ด้านการเกษตรผสมผสาน และการเกษตรยั่งยืน ที่สอดคล้องกับสภาพภูมิศาสตร์สังคม เป็นวิถีชีวิตที่สามารถอยู่ได้ด้วยการพึ่งตนเอง โดยเฉพาะในเรื่องอาหารเป็นเบื้องต้น

ในเรื่องของการอนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติ ที่พระราชทานพระราชดำริให้ดำเนินการใช้ทรัพยากรธรรมชาติในลักษณะยั่งยืน และการดำเนินการจะต้องเป็นไปตามสภาพภูมิประเทศ เช่น ในการดำเนินงานโครงการพัฒนาและรณรงค์การใช้หญ้าแฝกอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ได้พระราชทานพระราชดำริครั้งแรก เมื่อเดือนมิถุนายน ๒๕๓๕ มีใจความสรุปส่วนหนึ่งว่า การปลูกหญ้าแฝกให้พิจารณาลักษณะของภูมิประเทศและยังมีพระราชดำรัสกับเจ้าหน้าที่ผู้ดำเนินงานการปลูกหญ้าแฝกเกี่ยวกับการปลูกที่จะต้องคำนึงถึงสภาพภูมิประเทศอีกหลายครั้ง แม้กระทั่งพระบรมราโชวาทที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เมื่อวันที่ ๒๕ กรกฎาคม ๒๕๔๐ ความตอนหนึ่งว่า

"...การปลูกหญ้าแฝกจะต้องปลูกให้ชิดติดกันเป็นแผง และวางแนวให้เหมาะสมกับลักษณะของภูมิประเทศ เป็นต้นว่า บนพื้นที่สูงจะต้องปลูกตามแนวขวางของความลาดชันและร่องน้ำ บนพื้นที่ราบจะต้องปลูกรอบแปลงหรือปลูกตามร่องสลับกับพืชไร่ ในพื้นที่เก็บกักน้ำจะต้องปลูกเป็นแนวเหนือแหล่งน้ำ"""

ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เป็นโครงการที่สำคัญอีกประเภทหนึ่งที่จัดตั้งขึ้นตามสภาพภูมิศาสตร์สังคม เพราะวัตถุประสงค์ที่สำคัญตามที่ได้พระราชทานพระราชดำรัสไว้เมื่อวันที่ ๑๑ กันยายน ๒๕๒๖ ความตอนหนึ่งว่า

"...ด้านหนึ่งก็เป็นจุดประสงค์ของศูนย์ศึกษาก็เป็นสถานที่สำหรับค้นคว้าวิจัยในท้องที่ เพราะว่าแต่ละท้องที่สภาพฝน ฟ้า อากาศ และประชาชนในท้องที่ต่างๆ กัน ก็มีลักษณะแตกต่างกันมากเหมือนกัน..."


ผลแห่งการพัฒนา

จากการดำเนินงานโคงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ที่เป็นไปตามสภาพภูมิศาสตร์และสภาพสังคมของแต่ละท้องถิ่นที่ได้กล่าวมาให้เห็นเป็นตัวอย่างบางโครงการนั้น คือ การดำเนินการโครงการใดๆ โดยเฉพาะการพัฒนาในชนบท ได้คำนึงถึงสภาพภูมิศาสตร์เป็นสำคัญว่า สภาพดิน น้ำ ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่เป็นอย่างไร จะเอื้อต่อกิจกรรมที่จะดำเนินการหรือไม่ เมื่อประชาชนมีความรู้ความเข้าใจ มีความพร้อมที่จะร่วมดำเนินการโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริจึงเกิดขึ้นมากมายหลายประเภท ซึ่งล้วนแล้วแต่สนับสนุนให้ประชาชนได้ประกอบอาชีพตามสภาพภูมิศาสตร์และสอดคล้องกับวัฒนธรรมท้องถิ่น และอยู่ได้ด้วยการพึ่งพาตนเองภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง กล่าวคือ มีแหล่งน้ำเพื่ออุปโภค-บริโภค และเพื่อการเกษตร มีแหล่งความรู้ที่มีเทคโนโลยีใหม่ๆ ประหยัด เกษตรกรสามารถนำไปปฏิบัติได้อยู่ในศูนย์ศึกษาฯ ซึ่งเกษตรกรเข้าไปศึกษาหาความรู้ได้ตลอดเวลา เพื่อเลือกว่าเรื่องใดที่เหมาะกับทรัพยากรที่มีอยู่และความพอใจของตนก็นำไปเป็นแนวทางในการประกอบอาชีพ ผลของการพัฒนาตามแนวพระราชดำริจึงทำให้ประชาชนที่อยู่ในเป้าหมายของโครงการมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นตามลำดับ แม้ว่าจะเป็นไปอย่างช้าๆ แต่สามารถพึ่งพาตนเองได้ มีทรัพยากรธรรมชาติที่จะได้ใช้อย่างยั่งยืน

ดังนั้นการพัฒนาชุมชนใดๆ ก็ตาม ตลอดจนถึงการพัฒนาในระดับกว้างถึงระดับประเทศ ถ้าการพัฒนาเป็นไปตามสภาพภูมิศาสตร์และภูมิสังคม โดยทำไปตามลำดับขั้นแล้วความสำเร็จย่อมมีมาก ปัญหาต่างๆ ก็จะน้อยลง ความก้าวหน้าของประเทศก็จะเดินไปด้วยความมั่นคง และอยู่ได้ด้วยการพึ่งพาตนเองทั้งเรื่องของเศรษฐกิจ เรื่องของทรัพยากรธรรมชาติ เทคโนโลยีที่เหมาะสมกับสภาพภูมิศาสตร์และประชากร และสังคมอยู่ร่วมกันด้วยความสามัคคี ประชาชนก็จะเป็นสุข