ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พลังงานทดแทน"
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
บรรทัดที่ 90: | บรรทัดที่ 90: | ||
{{ดูเพิ่มเติม[[พลังงานทดแทน]] / [[แก๊สชีวภาพ]] / [[แก๊สโซฮอล์]] / [[ดีโซฮอล์]] / [[เอทานอล]]}} | {{ดูเพิ่มเติม|[[พลังงานทดแทน]] / [[แก๊สชีวภาพ]] / [[แก๊สโซฮอล์]] / [[ดีโซฮอล์]] / [[เอทานอล]]}} | ||
</div> | </div> | ||
[[หมวดหมู่:พระราชกรณียกิจ]] | [[หมวดหมู่:พระราชกรณียกิจ]] |
รุ่นแก้ไขเมื่อ 10:58, 10 พฤศจิกายน 2551
พลังงานทดแทน
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงให้ความสนพระราชหฤทัยเกี่ยวกับพลังงานทดแทนอย่างต่อเนื่อง ด้วยในภาคการเกษตรมีการใช้พลังงานเพื่อดำเนินกิจกรรมต่างๆ อาทิ เครื่องไถนา เครื่องสูบน้ำ เครื่องกลเรือ ดังนั้นพระองค์ได้ทรงคิดค้นพลังงานด้านอื่นๆ นอกจากน้ำมันเพื่อช่วยให้เกษตรกรสามารถลดต้นทุนการผลิตและสามารถผลิตพลังงานขึ้นมาใช้เองได้ อีกทั้งยังมีพระราชดำริว่าในอนาคตพลังงานจะขาดแคลน ทั้งพลังงานจากธรรมชาติและผลิตภัณฑ์เชื้อเพลิง โครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดาเป็นสถานที่ริเริ่มโครงการผลิตพลังงานทดแทน หลายโครงการ เช่น
โครงการผลิตเชื้อเพลิงอัดแท่ง (แกลบอัดแท่ง)
โครงการเกี่ยวกับน้ำมันแก๊สโซฮอล์
ทั้งนี้การผลิตแอลกอฮอล์จากอ้อยตามพระราชดำริเริ่มดำเนินการในอาคารโครงการค้นคว้าน้ำมันเชื้อเพลิงที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดเมื่อวันที่ ๙ พฤษภาคม ๒๕๒๙ โดยสามารถผลิตเอทิลแอลกอฮอล์ความบริสุทธิ์ ๙๑% ได้ในอัตรา ๒.๘ ลิตรต่อชั่วโมง ต้นทุนการผลิต ๕๖.๒ บาทต่อลิตร ขณะที่เอทิลแอลกอฮอล์ความบริสุทธิ์ ๙๕% ซึ่งผลิตจากกากน้ำตาลของกรมสรรพสามิตจำหน่ายในราคาประมาณ ๒๔ บาทต่อลิตร
เมื่อวันที่ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๓๘ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดโรงงานผลิตเอทานอลเป็นเชื้อเพลิงที่บริษัทสุราทิพย์ จำกัด น้อมเกล้าฯ ถวายและดำเนินกลั่นตลอดมาจนถึงปัจจุบันกำลังผลิตหอกลั่น ๒๕ ลิตรต่อชั่วโมง จากนั้นเมื่อวันที่ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๓๙ การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยได้น้อมเกล้าฯ ถวายสถานีบริการแก๊สโซฮอล์เพื่อให้ความสะดวกกับรถยนต์ที่ใช้แก๊สโซฮอล์ในโครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา จนถึงวันที่ ๙ พฤษภาคม ๒๕๔๐ การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยและสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทยได้ร่วมกับโครงการส่วนพระองค์ฯ ดำเนินการปรับปรุงคุณภาพของแอลกอฮอล์ที่ใช้เติมรถยนต์ โดยให้โครงการฯ ส่งแอลกอฮอล์ ๙๕% ไปกลั่นซ้ำเป็นแอลกอฮอล์ ๙๙% ที่สถาบันวิจัยฯ แล้วนำกลับมาผสมกับเบนซินธรรมดาเป็นแก๊สโซฮอล์เติมให้กับรถยนต์ของโครงการฯ ที่ใช้เบนซินเป็นเชื้อเพลิง โดยสามารถเติมแก๊สโซฮอล์ได้จากสถานีบริการของการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย ที่ตั้งอยู่บริเวณโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา
ปัจจุบันโครงการแก๊สโซฮอล์ใช้แอลกอฮอล์ ๙๙% ผสมกับเบนซินธรรมดาในอัตราส่วน ๑:๙ และเติม corrosion inhibitor (สารเคมีประเภทอะมีนและกรดอินทรีย์ ๑๕ มิลลิกรัมต่อแก๊สโซฮอล์ ๑ ลิตร)
นอกจากนั้นในปี ๒๕๔๑ การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย ได้ร่วมกับโครงการส่วนพระองค์ฯ ดำเนินโครงการดีโซฮอล์ซึ่งนำไปใช้กับเครื่องยนต์ดีเซลด้วย
การนำอ้อยมาแปรรูปเป็นเอทานอลเพื่อใช้เป็นพลังงานทดแทนนับเป็นแนวทางหนึ่งที่จะช่วยแก้ปัญหาในภาวะน้ำมันขาดแคลนที่อาจจะเกิดขึ้น ในการนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานเงินทุนวิจัยในขั้นต้น เพื่อใช้ในการดำเนินงานในการจัดสร้างอาคารและอุปกรณ์ต่างๆ จำนวน ๙๒๕,๕๐๐ บาท ซึ่งต่อมาได้มีการพัฒนาเพื่อหาวิธีการที่จะนำพลังงานดังกล่าวไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อไป
โครงการเกี่ยวกับน้ำมันดีโซฮอล์
โครงการเกี่ยวกับน้ำมันปาล์มบริสุทธิ์
ต่อมา เมื่อปี ๒๕๔๓ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระราชกระแสรับสั่งให้กองงานส่วนพระองค์ดำเนินการวิจัยและพัฒนา เพื่อให้พร้อมในการดำเนินการทดลองน้ำมันปาล์มมาใช้กับเครื่องยนต์ดีเซลในช่วงเวลาที่มีผลผลิตปาล์มมากเกินความต้องการของตลาด ราคาน้ำมันปาล์มดิบมีราคาตกต่ำ เป็นผลให้เกษตรกรเดือดร้อน
น้ำมันปาล์มกลั่นบริสุทธิ์ (BBD palm olein) เป็นน้ำมันที่สกัดจากผลปาล์มตามกรรมวิธีสะอาด ใช้ปรุงอาหารรับประทานได้ด้วยคุณสมบัติพิเศษนี้จึงนำมาใช้กับเครื่องยนต์ดีเซลที่มี ระบบส่งน้ำมันเชื้อเพลิง และระบบฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีปั๊ม และหัวฉีดน้ำมันเชื้อเพิลงที่ผลิตมาด้วยงานละเอียดจากผลการทดลองพบว่า ไม่มีผลกระทบใดๆ ในทางลบกับเครื่องยนต์ดีเซล และน้ำมันปาล์มกลั่นบริสุทธิ์ร้อยละ ๑๐๐ โดยปริมาตรสามารถใช้เป็นน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับเครื่องยนต์ดีเซลโดยไม่ต้องผสมกับน้ำมันเชื้อเพลิงชนิดอื่น หรืออาจใช้ผสมกับน้ำมันดีเซลในสัดส่วนน้ำมันปาล์มต่อน้ำมันดีเซลน้อย ตั้งแต่ร้อยละ ๐.๐๑ ไปจนถึง ๙๙.๘๘ ได้เช่นกัน
การทดลองใช้น้ำมันปาล์มกลั่นบริสุทธิ์มาเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับเครื่องยนต์ดีเซล จึงเริ่มดำเนินการตามพระราชดำริตั้งแต่เดือนกันยายน ๒๕๔๓ โดยเริ่มทดลองใช้กับรถยนต์เครื่องยนต์ดีเซลของกองงานส่วนพระองค์ วังไกลกังวล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
โรงงานสกัดและแปรรูปน้ำมันปาล์มขนาดเล็ก
สรุปการทดสอบพลังงานทดแทน
- โครงการใช้น้ำมันปาล์มเพื่อเป็นเชื้อเพลิงสำหรับเครื่องจักรกลการเกษตร
- โครงการศึกษาการนำน้ำมันปาล์มมาทดแทนน้ำมันดีเซลเพื่อใช้ในเครื่องจักรกลการเกษตรที่ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกลมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โครงการนี้มีวัตถุประสงคืเพื่อทดสอบสมรรถนะและประสิทธิภาพการใช้งานเครื่องจักรกลการเกษตร เพื่อใช้น้ำมันปาล์มทดแทนน้ำมันดีเซลในสถานะต่างๆ
- โครงการปรับปรุงโรงงานต้นแบบสกัดน้ำมันปาล์มที่นิคมสหกรณ์อ่าวลึก โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อขยายกำลังการผลิตของโรงงานและบริหารงานในเชิงธุรกิจให้สามารถเลี้ยงตัวเองได้ รวมทั้งสามารถผลิตน้ำมันปาล์มเพื่อนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงแทนน้ำมันดีเซล ซึ่งสามารถผลิตน้ำมันปาล์มเกรด A ได้วันละ ๖-๘ ตัน และสามารถผลิตน้ำมันปาล์มดิบเกรด B จากเมล็ดและเส้นใยปาล์มได้วันละ ๑-๑.๕ ตัน
- โครงการวิจัยการผลิตเมทิลเอสเตอร์จากไขน้ำมันในระบบบำบัดน้ำเสียของโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วัตถุประสงค์ของโครงการนี้เพื่อผลิตเมทิลเอสเตอร์ โดยการนำไขน้ำมันปาล์มที่เกิดขึ้นตามบ่อบำบัดน้ำเสีย (waste) ของโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มขนาดใหญ่ (โรงงานที่ใช้วิธีอบไอน้ำในการสกัดน้ำมันปาล์ม) ซึ่งเป็นปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมมาทำเป็นน้ำมันเมทิลเอสเตอร์ เพื่อทดแทนน้ำมันดีเซล ซึ่งมีราคาแพง
- น้ำมันปาล์มดิบ จากการทดสอบเครื่องยนต์โดยใช้น้ำมันปาล์มดิบ เครื่องยนต์สามารถใช้งานได้อย่างต่อเนื่อง ๕๐๐ ชั่วโมง จะเกิดการสึกหรอของแหวนอัดของลูกสูบ และเครื่องยนต์หมดกำลัง โดยมีต้นทุนวัตถุดิบน้ำมันปาล์มดิบอยู่ที่ ๑๐-๒๐ บาท ต่อลิตร (ขึ้นกับฤดูกาลและราคาน้ำมันของท้องตลาด)
- น้ำมันปาล์มโอลิอิน (น้ำมันปาล์มบริสุทธิ์) จากการทดสอบเครื่องยนต์ โดยใช้น้ำมันปาล์มโอลิอินสามารถใช้งานได้อย่างต่อเนื่อง ๒,๐๐๐ ชั่วโมง จึงจะเกิดการสึกหรอของแหวนอัดรองลูกสูบ และเครื่องยนต์หมดกำลัง โดยมีต้นทุนวัตถุดิบน้ำมันปาล์มโอลิอิน ราคา ๑๐ บาทต่อลิตร
- เมทิลเอสเตอร์ ไบโอดีเซลประเภทหนึ่งที่ได้จากการทำปฏิกริยาระหว่างน้ำมันจากพืชและหรือไขมันสัตว์กับเมทิลแอลกอฮอล์ (เมทานอล) จากการทดสอบเครื่องยนต์โดยใช้เมทิลเอสเตอร์ เครื่องยนต์สามารถใช้งานได้อย่างต่อเนื่องถึง ๓,๐๐๐ ชั่วโมง จะเกิดการสึกหรอของแหวนอัดของลูกสูบ และเครื่องยนต์หมดกำลัง โดยต้นทุนการผลิตขึ้นอยู่กับราคาน้ำมันปาล์มดิบ ๑๐-๒๐ บาทต่อลิตร และค่าแอลกอฮอล์ ๔ บาทต่อลิตร
- น้ำมันปาล์มดิบที่ลดความหนืด (de-gum และ de-acid) จากการทดสอบเครื่องยนต์ โดยใช้น้ำมันปาล์มดิบที่ de-gum และ de-acid เครื่องยนต์สามารถใช้งานได้อย่างต่อเนื่อง ๑,๒๐๐ ชั่วโมง และจะเกิดปัญหาอย่างเดียวกันคือการสึกหรอของแหวนอัดของลูกสูบและเครื่องยนต์หมดกำลัง โดยต้นทุนการผลิตขึ้นอยู่กับน้ำมันปาล์มดิบ ๑๐-๒๐ บาทต่อลิตรและกรรมวิธีการ de-gum และ de-acid ราคา ๓ บาทต่อลิตร
สำหรับประโยชน์ในการใช้น้ำมันปาล์มกลั่นบริสุทธิ์นั้นจะช่วยเพิ่มกำลังแรงบิดให้กับเครื่องยนต์ เพิ่มการหล่อลื่น ทำให้เครื่องยนต์มีอายุการใช้งานได้นานทั้งยังช่วยลดมลพิษไอเสียของเครื่องยนต์ ประการสำคัญได้ช่วยประหยัดเงินตราในการนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงดีเซลบางส่วนด้วย
ขณะเดียวกันเป็นการช่วยเหลือเกษตรกรไปพร้อมกันด้วย นอกจากนี้ยังเป็นทางเลือกใหม่ในการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง เพราะต้นปาล์มสามารถปลูกทดแทนได้ เป็นพลังงานหมุนเวีย แต่น้ำมันเชื้อเพลิงเป็นหลังงานสิ้นเปลือง
ข้อมูลจาก หนังสือ ๘๐ พรรษา ปวงประชาสุขศานต์ จัดทำโดยสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
ดูเพิ่มเติม | พลังงานทดแทน / แก๊สชีวภาพ / แก๊สโซฮอล์ / ดีโซฮอล์ / เอทานอล |
---|