ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน"
(สร้างหน้าใหม่: <center>'''ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนอันเนื่องมาจากพร...) |
|||
บรรทัดที่ 18: | บรรทัดที่ 18: | ||
=='''พื้นที่ดำเนินการ'''== | =='''พื้นที่ดำเนินการ'''== | ||
[[ภาพ:พื้นที่อ่าวคุ้งกระเบน. | [[ภาพ:พื้นที่อ่าวคุ้งกระเบน.gif|left]]พื้นที่ดำเนินการและพื้นที่ขยายผลศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนฯ ครอบคลุม ๓๓ หมู่บ้าน ในตำบลคลองขุด, ตำบลรำพัน, ตำบลโขมง อำเภอท่าใหม่ และ ตำบลสนามไชย, ตำบลกระแจะ อำเภอนายายอาม จังหวัดจันทบุรี มีพื้นที่ประมาณ ๗๑,๐๒๕ ไร่ โดยมีรายละเอียดดังนี้ | ||
๑. พื้นที่ศูนย์กลาง | ๑. พื้นที่ศูนย์กลาง | ||
บรรทัดที่ 31: | บรรทัดที่ 31: | ||
ได้แก่ พื้นที่ ตำบลรำพัน ตำบลโขมง ตำบลเสม็ดโพธิ์ศรี อำเภอท่าใหม่ และพื้นที่ใกล้เคียงศูนย์ฯ มีพื้นที่ประมาณ ๑๐,๐๐๐ ไร่ เป็นการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพที่ประสบความสำเร็จ ในศูนย์ฯ สู่พื้นที่โดยรอบ | ได้แก่ พื้นที่ ตำบลรำพัน ตำบลโขมง ตำบลเสม็ดโพธิ์ศรี อำเภอท่าใหม่ และพื้นที่ใกล้เคียงศูนย์ฯ มีพื้นที่ประมาณ ๑๐,๐๐๐ ไร่ เป็นการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพที่ประสบความสำเร็จ ในศูนย์ฯ สู่พื้นที่โดยรอบ | ||
=='''หน่วยงานที่รับผิดชอบ'''== | =='''หน่วยงานที่รับผิดชอบ'''== |
รุ่นแก้ไขเมื่อ 05:02, 22 เมษายน 2551
พระราชดำริ
ต่อมาเมื่อวันที่ ๓๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๒๔ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้มีพระราชดำริเพิ่มเติม ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน สาระโดยสรุปว่า "ให้พิจารณาจัดหาพื้นที่ป่าสงวนเสื่อมโทรม หรือพื้นที่สาธารณประโยชน์เพื่อจัดตั้งศูนย์ศึกษาการพัฒนา เช่นเดียว กับศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อน ให้เป็นศูนย์ศึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาในเขตที่ดินชายทะเล"
จังหวัดจันทบุรีได้ร่วมหารือกับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องและพิจารณาความเหมาะสม จึงกำหนดพื้นที่ตำบลคลองขุด อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี เป็นพื้นที่จัดตั้งศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนฯ ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๒๕ ศูนย์ศึกษาดังกล่าวเป็นหน่วยงานที่ดำเนินการศึกษา สาธิตและการพัฒนาในเขตที่ดินชายทะเล โดยวิธีการผสมผสานความรู้อันหลากหลายของแต่ละหน่วยงาน เพื่อวางแผนพัฒนาการจัดการทรัพยากรที่มีอยู่ให้เหมาะสม และยั่งยืนตลอดไป
และเมื่อวันที่ ๒๖ สิงหาคม ๒๕๓๑ ได้มีพระราชดำริเกี่ยวกับศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนฯ ในโอกาสที่ประธานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ นำผู้เข้าร่วมสัมมนาและบุคคลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเฝ้าฯ เพื่อรับพระราชทานพระบรมราโชบายเกี่ยวกับการดำเนินงานในช่วงต่อไป ณ ศาลาดุสิดาลัย สาระโดยสรุป คุ้งกระเบนเป็นการศึกษาเกี่ยวกับชายทะเล ต้นไม้ต่าง ๆ ชายทะเล และปลา การประมง
ที่ตั้งโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ
พื้นที่ดำเนินการและพื้นที่ขยายผลศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนฯ ครอบคลุม ๓๓ หมู่บ้าน ในตำบลคลองขุด, ตำบลรำพัน, ตำบลโขมง อำเภอท่าใหม่ และ ตำบลสนามไชย, ตำบลกระแจะ อำเภอนายายอาม จังหวัดจันทบุรี มีพื้นที่ประมาณ ๗๑,๐๒๕ ไร่ โดยมีรายละเอียดดังนี้
๑. พื้นที่ศูนย์กลาง ได้แก่ บริเวณอ่าวคุ้งกระเบน และพื้นที่โดยรอบ ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ ประมาณ ๔,๐๐๐ ไร่ การดำเนินกิจกรรมจะเป็นการผสมผสานระหว่างป่าไม้และประมง
๒. พื้นที่รอบนอก
ได้แก่พื้นที่ตำบลคลองขุด ตำบลรำพัน อำเภอท่าใหม่ และตำบลสนามไชย ตำบล กระแจะ อำเภอนายายอาม ซึ่งเป็นทั้งเขตเกษตรกรรม และเขตหมู่บ้านประมงตลอดแนวชายฝั่ง มีพื้นที่ประมาณ ๕๗,๐๒๕ ไร่ การดำเนินกิจกรรมมุ่งเน้นการส่งเสริมการเกษตรแบบบูรณาการ
๓. พื้นที่ขยายผล
ได้แก่ พื้นที่ ตำบลรำพัน ตำบลโขมง ตำบลเสม็ดโพธิ์ศรี อำเภอท่าใหม่ และพื้นที่ใกล้เคียงศูนย์ฯ มีพื้นที่ประมาณ ๑๐,๐๐๐ ไร่ เป็นการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพที่ประสบความสำเร็จ ในศูนย์ฯ สู่พื้นที่โดยรอบ
หน่วยงานที่รับผิดชอบ
วัตถุประสงค์ของศูนย์
๒. เพื่อเป็นศูนย์กลางในการอบรมและเผยแพร่ผลการศึกษาการจัดการทรัพยากรชายฝั่ง ให้แก่ส่วนราชการและภาคเอกชนทั่วไป
๓. เพื่อยกระดับฐานะความเป็นอยู่ อาชีพของราษฎรบริเวณรอบอ่าวคุ้งกระเบน และ พื้นที่ใกล้เคียง โดยมุ่งเน้นพัฒนาช่วยเหลือราษฎรที่มีฐานะยากจน
๔. เพื่อพัฒนาด้านการประมงและการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งเพื่อเป็นการเพิ่มผลผลิตของประเทศ และเป็นพื้นฐานของการพัฒนาด้านการประมง ตลอดจนพัฒนากิจกรรม ทางด้านอื่น ๆ ควบคู่ไปด้วย
๕. เพื่ออนุรักษ์สภาพแวดล้อมและดุลยภาพทางธรรมชาติให้คงลักษณะพิเศษของพื้นที่เอาไว้
การดำเนินงานภายในศูนย์
ส่วนที่ ๑ งานบริหารและจัดการ
ส่วนที่ ๒ งานการศึกษา ทดลอง และวิจัย
- ด้านการพัฒนาเกษตรกรรม (พืช)
- ด้านการพัฒนาประมง และเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง
- ด้านการพัฒนาป่าไม้
- ด้านการพัฒนาปรับปรุงบำรุงดิน
- ด้านการพัฒนาแหล่งน้ำ
ส่วนที่ ๓ งานบริการและถ่ายทอดเทคโนโลยี
- งานระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์
- งานส่งเสริมพัฒนาและฝึกอบรมด้านการประมง ป่าไม้ ดิน เกษตร ปศุสัตว์
- งานพัฒนาและศึกษาธรรมชาติป่าชายเลนและป่าบก
- งานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน
- งานฝึกอบรมและศึกษาสาธารณสุข
- งานฝึกอบรมเตรียมองค์กรประชาชน
ส่วนที่ ๔ งานขยายผลของศูนย์ศึกษาการพัฒนา'
- งานส่งเสริมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง
- งานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร
- งานส่งเสริมและพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
- งานพัฒนาแหล่งน้ำ
- ด้านการพัฒนาเศรษฐกิจสังคม
ส่วนที่ ๕ งานท่องเที่ยวเชิงพัฒนา
โดยมีผู้ใช้บริการเฉลี่ยไม่น้อยกว่า 180,000 ราย/ปี และมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นทุกปี ซึ่งทำให้เกิดการกระจายรายได้สู่ราษฎรในพื้นที่โครงการ
และจากการดำเนินการท่องเที่ยวเชิงพัฒนาของศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนฯ ซึ่งเป็นที่แพร่หลายและมีความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวสูงมาก ทำให้ศูนย์ฯ คุ้งกระเบน ได้รับรางวัลยอดเยี่ยม ครั้งที่ 3 “ กินรีทอง” ประจำปี พ.ศ.2543 และรางวัลดีเด่น ครั้งที่ 4 “ กินรีเงิน” ประจำปี พ.ศ.2545 จากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
ประโยชน์ที่ได้รับ
๒. ยกระดับฐานะความเป็นอยู่ ลดต้นทุนการผลิตในอาชีพด้านการประมงและการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง ทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการนำความรู้ที่ได้จากศูนย์ฯ มาประยุกต์ใช้กับการประกอบอาชีพ
๓. ทำให้การปฏิบัติงานของศูนย์ฯ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นไปตามแผนงาน/โครงการ นอกจากนี้ศูนย์ฯ ยังมีศักยภาพ โดยเป็นการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์จนเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นที่รู้จักมากขึ้น
ที่ตั้ง-ติดต่อ
เว็บไซต์ :: http://www.fisheries.go.th/cf-kung_krabaen/index_1.htm
ข้อมูลจากเว็บไซต์สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ