ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ปริญญาฯ-มหาวิทยาลัยนอตติงแฮม"

จาก WIKI84
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
 
บรรทัดที่ 1: บรรทัดที่ 1:
__NOTOC__
<div id="king">
<div id="king">
<center><h5>(คำแปลอย่างไม่เป็นทางการ)</h5><br>'''คำประกาศสดุดีพระเกียรติคุณพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช<br>ในโอกาสที่มหาวิทยาลัยนอตติงแฮม สหราชอาณาจักร'''<br>
<center><h5>(คำแปลอย่างไม่เป็นทางการ)</h5><br>'''คำประกาศสดุดีพระเกียรติคุณพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช<br>ในโอกาสที่มหาวิทยาลัยนอตติงแฮม สหราชอาณาจักร'''<br>

รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 04:36, 15 กรกฎาคม 2551

(คำแปลอย่างไม่เป็นทางการ)

คำประกาศสดุดีพระเกียรติคุณพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
ในโอกาสที่มหาวิทยาลัยนอตติงแฮม สหราชอาณาจักร

ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายปริญญานินิศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์
ณ พระตำหนักจิตรลาดรโหฐาน พระราชวังดุสิต
วันพฤหัสบดี ที่ ๑๕ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๔๐

ขอเดชะฝ่าละอองธุลีพระบาทปกเกล้าปกกระหม่อม

การเฉลิมพระเกียรติใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท เป็นการเฉลิมพระเกียรติพระมหากษัตริย์ผู้ทรงนำพาประเทศชาติให้อยู่รอดปลอดภัย ด้วยพระปรีชาสามารถตลอดระยะเวลา ๕๐ ปี แหงการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญที่สุดในประวัติศาสตร์ชาติไทย ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาททรงครองสิริราชสมบัติแห่งราชอาณาจักรที่ยังใหม่ต่อแนวคิด และการปฏิบัติตามระบอบการปกครองที่มีพระมหากษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญในประเทศที่มีระบบเศรษฐกิจขึ้นอยู่กับเกษตรกรรมเป็นส่วนใหญ่ บัดนี้ด้วยพระปรีชาสามารถที่โดดเด่นของใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท ประเทศของใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทเป็นประเทศที่มีประชาธิปไตยเข้มแข็งที่สุดประเทศหนึ่ง และมีระบบเศรษฐกิจที่เจริญเติบโตอย่างรวดเร็วที่สุดประเทศหนึ่งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทเสด็จพระบรมราชสมภพเมื่อพุทธศักราช ๒๔๗๐ ณ เมืองเคมบริดจ์ รัฐแมสซาชูเซตส์ สหรัฐอเมริกา ที่ซึ่งสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ทรงเป็นนักศึกษาแพทย์ และได้ทรงย้ายไปประทับในสวิตเซอร์แลนด์หลังจากสมเด็จพระบรมราชชนกเสด็จสวรรคต ณ ที่นั้นเอง ได้ทรงเจริญพระชันษาในวัยเยาว์ขณะประทับอยู่กับสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยานิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ สมเด็จพระเชษฐภคินี และพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร สมเด็จพระบรมเชษฐาธิราชซึ่งเสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อพระชนมายุเพียง ๑๐ พรรษา ตลอดระยะเวลาการศึกษาเมื่อครั้งทรงพระเยาว์ ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาททรงแสดงพระปรีชาสามารถด้านดนตรี และวิศวกรรมอย่างหาผู้ใดเสมอเหมือนมิได้และขณะที่ทรงศึกษาด้านวิทยาศาสตร์ ณ มหาวิทยาลัยโลซาน นั้นเอง ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทต้องทรงรับพระราชภาระในฐานะพระมหากษัตริย์อย่างไม่คาดฝัน หลังจากที่สมเด็จพระบรมเชษฐาธิราชเสด็จสวรรคตในพุทธศักราช ๒๔๘๙ และเสด็จขึ้นครองสิริราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์ รัชกาล ๙ แห่งพระบรมราชวงศ์จักรี เพื่อเป็นการเตรียมพระองค์สำหรับพระราชภาระใหม่นี้ ใต้ฝ่าละเองธุลีพระบาทได้ทรงเปลี่ยนสาขาการศึกษาในระดับมหาวิทยาลัย จากสาขาวิทยาศาสตร์เป็นสาขารัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ อย่างไรก็ตามเหตุการณ์ในเวลาต่อมาได้เป็นประจักษ์พยานว่า ความสนพระราชหฤทัยในด้านวิศวกรรมศาสตร์ และการที่ทรงศึกษาด้านวิทยาศาสตร์นั้นมีคุณค่าอย่างอเนกอนันต์ต่อประเทศของใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท

หลังจากทรงศึกษาในระดับมหาวิทยาลัย ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทเสด็จพระราชดำเนินกลับประเทศไทยเพื่อทรงอภิเษกสมรส และทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจ พระปฐมบรมราชโองการในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกเมื่อพุทธศักราช ๒๔๙๓ ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทได้พระราชทานพระราชปณิธานว่าจะทรง “ครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม” พระราชปณิธานนี้คือจุดเริ่มต้นของการอุทิศพระองค์อย่างเต็มที่ ตลอดระยะเวลาอันยาวนาน เพื่อประโยชน์สุขของประชาชน ทั้งนี้ ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาททรงได้รับการปลูกฝังจากสมเด็จพระบรมราชชนนี ผู้ทรงเป็นแบบอย่างของการอุทิศพระองค์อย่างมิทรงเห็นแก่ความเหน็ดเหนื่อยตลอดพระชนมชีพ ทั้งต่อพระราชโอรส พระราชธิดา และเพื่อยังประโยชน์แก่สาธารณชน

เมื่อทรงครองราชย์ไม่นานนัก ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาททรงริเริ่มพระราชกรณียกิจสำคัญเพื่อที่จะทรงพบกับพสกนิกร ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาททรงเป็นพระมหากษัตริย์ไทยพระองค์แรกที่เสด็จพระราชดำเนิน ไปทรงเยี่ยมพสกนิกรที่อยู่ห่างไกลในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของราชอาณาจักร พร้อมสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทุกหนทุกแห่งที่เสด็จพระราชดำเนินไปนั้น พสกนิกรต่างซาบซึ้งที่พระองค์สนพระราชหฤทัยในปัญหา และทรงห่วงใยสภาพความเป็นอยู่ของพวกเขาอย่างแท้จริง การเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยือนหัวเมืองในระยะแรก มีผลอย่างมากในการเสริมสร้างความรู้สึกเป็นหนึ่งเดียวที่มีจุดประสงค์ร่วมกันของคนในชาติ ซึ่งปรากฏต่อมาว่ามีคุณค่าอเนกอนันต์ ที่ช่วยให้ประเทศแข็งแกร่งขึ้นในการต่อต้านการแทรกซึมของลัทธิคอมมิวนิสต์ที่คุกคามชายแดนของประเทศ

การเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยือนภูมิภาคต่างๆ ในราชอาณาจักรอย่างสม่ำเสมอของใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทโดยมีพระบรมวงศานุวงศ์โดยเสด็จด้วยนั้น พิสูจน์ให้เห็นว่ามิใช่เพียงเพื่อทอดพระเนตรสภาพที่เป็นจริงด้วยพระองค์เอง และกระตุ้นจิตสำนึกของพสกนิกรเท่านั้น แต่ไม่ว่าจะเสด็จพระราชดำเนินไปที่ใด ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทจะทรงจดบันทึกอย่างละเอียด จากนั้นจะทรงงานร่วมกับหน่วยงานของรัฐบาลที่เกี่ยวข้องโดยตรง และทรงริเริ่มโครงการพัฒนาโดยทันทีเพื่อสนองความต้องการของประเทศ โครงการในลักษณะดังกล่าว กว่า ๒,๐๐๐ โครงการ ได้เริ่มดำเนินการ และหลายโครงการสะท้อนถึงความสนพระราชหฤทัยในด้ายวิทยาศาสตร์ และวิศวกรรมศาสตร์ตั้งแต่ครั้งทรงพระเยาว์ผู้ที่มีโอกาสสนองพระราชดำริ ในการดำเนินโครงการเหล่านี้ต่างพากันพิศวงในพระปรีชาสามารถในสาขาวิชาการต่างๆ อย่างละเอียดลึกซึ้งของใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท นับตั้งแต่วนศาสตร์ถึงชลประทาน เกษตรกรรมถึงการควบคุมอุทกภัย การดูแลสุขภาพถึงการพัฒนาเมือง ในศุภวาระที่ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาททรงเจริญพระชนมายุ ๔๔ พรรษา บทความในหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่งได้รายงานการสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่ในพระราชสำนักไว้ว่า “ผมต้องยอมรับว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นอัจฉริยะ ในแง่ที่ว่าพระองค์มิเพียงแต่สนพระราชหฤทัยในทุกสิ่งทุกอย่าง แต่ดูเหมือนว่าทรงมีความรู้อย่างสมบูรณ์ในทุกสิ่งที่สนพระราชหฤทัย”

ในฐานะที่ทรงอุทิศพระองค์แก่การศึกษาตลอดพระชนมชีพ ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาททรงตระหนักถึงความสำคัญของการศึกษาที่มีต่อการพัฒนาประเทศ ทรงสนับสนุนการจัดตั้งโครงการด้านการศึกษามากมาย ทั้งเพื่อยกมาตรฐานการรู้หนังสือในชนบท และเพื่อสนับสนุนการนำพัฒนาการใหม่ล่าสุดทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาใช้ โดยทรงดำเนินตามแนวทางของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระบรมอัยกาธิราช ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาททรงสนับสนุนให้ชาวไทยรุ่นหนุ่มสาวไปศึกษาต่อในต่างประเทศ และได้พระราชทานทุนการศึกษาแก่พวกเขาเหล่านั้น ความสัมพันธ์ด้านการศึกษาระหว่างประเทศไทยกับสหราชอาราณาจักรนับย้อนหลังได้เกือบศตวรรษ มหาวิทยาลัยนอตติงแฮมมีความยินดีที่มีโอกาสต้อนรับนักวิชาการไทยผู้ปราดเปรื่องตลอดรัชสมัยของใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท และมีส่วนสำคัญในการพัฒนาความสัมพันธ์ด้านการศึกษาระหว่างประเทศของเราทั้งสองในปัจจุบันนี้

ในฐานะที่ทรงเป็นรัฐบุรุษ ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาททรงมีบทบาทสำคัญยิ่งในการธำรงรักษาสัมพันธไมตรีกับต่างประเทศ และในการเสริมสร้างภาพลักษณ์อันดีของประเทศไทยในประชาคมนานาชาติ ในฐานะที่เป็นประเทศที่มุ่งมั่นในอันที่จะรักษาระบอบประชาธิปไตย และสนับสนุนการพัฒนาด้านเศรษฐกิจและสังคม ระหว่างพุทธศักราช ๒๕๐๑ – ๒๕๑๐ ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยือนประเทศต่างๆ อย่างเป็นทางการกว่า ๒๓ ประเทศ และเสด็จออกทรงรับพระราชอาคันตุกะผู้เป็นประมุขของประเทศมาตลอดรัชสมัยของพระองค์ การแลกเปลี่ยนการเยือนดังกล่าวหลายรายมีผลสืบเนื่องเป็นมิตรภาพอันยืนยาว ประชาชนต่างสังเกตเห็นความเบิกบานและสำราญพระราชหฤทัยที่ปรากฏชัดเจนเมื่อสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ ๒ แห่งสหราชอาณาจักรและเจ้าชายฟิลิปเสด็จพระราชดำเนินมาทรงเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการเมื่อปีที่แล้ว รวมทั้งความอบอุ่นอย่างแท้จริงที่ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท พระบรมวงศานุวงศ์ และพสกนิกร ร่วมรับเสด็จทั้งสองพระองค์

สถานภาพแห่งพระมหากษัตริย์ไทยตามรัฐธรรมนูญได้เปลี่ยนแปลงไปเมื่อพุทธศักราช ๒๔๗๕ นับตั้งแต่นั้นมาใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทเป็นพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญพระองค์แรกที่ประทับอยู่ในประเทศไทยอย่างถาวร ด้วยไม่มีต้นแบบให้ทรงเจริญรอยตาม ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาททรงเริ่มต้นพระราชกรณียกิจที่ละเอียดอ่อนในการพัฒนาพระราชภาระหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับรัฐบาล และทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจเพื่อประโยชน์ของประเทศ และพสกนิกรโดยวิธีทางโน้มน้าวจูงใจแทนที่จะใช้พระราชอำนาจ คณะรัฐบาลชุดต่างๆ สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณเป็นที่สุดที่ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท ทรงเข้าพระราชหฤทัยในความต้องการของประเทศอย่างถ่องแท้ จึงพากันขอพระราชทานและ น้อมรับพระราชดำริจากใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทด้วยความกระตือรือร้น บางครั้งที่จำต้องทรงใช้พระราชอำนาจในฐานะพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ เพื่อแทรกแซงโดยตรงในกระบวนการทางการเมืองเพื่อหลีกเลี่ยงการนองเลือด และปกป้องผลประโยชน์ของประชาชน ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทก็มิได้ทรงหลีกเลี่ยงพระราชภาระนั้น ในพุทธศักราช ๒๕๑๖ เมื่อนิสิตนักศึกษาผู้ใฝ่อุดมการณ์ได้ท้าทายอำนาจรัฐ โดยการประท้วงเพื่อสนับสนุนเสรีภาพตามระบอบประชาธิปไตย (ดังที่นักศึกษาทั่วโลกกระทำกัน) ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทเข้าพระราฃหฤทัย และทรงรับฟังความเห็นของเขาเหล่านั้นในบริเวณสวนจิตรลดา กรุงเทพมหานคร และในพุทธศักราช ๒๕๓๕ ด้วยพระบรมราโชบายทางการฑูตอันเป็นแบบอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน สื่อมวลชนทั่วโลกเสนอภาพพระราชกรณียกิจ ขณะทรงพยายามสมานสามัคคีระหว่างบุคคลสำคัญที่มีความขัดแย้งกัน เพื่อให้หาทางออกใหม่อย่างสันติ นั่นคือ เหตุผลของประชาธิปไตย และคุณค่าของระบอบการปกครองที่มีพระมหากษัตริย์ทรงอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ ซึ่งได้รับการปกป้องด้วยพระปรีชาชาญ และความกล้าหาญในการปกครองอย่างหาผู้ใดเสมอมิได้ของใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท

หากแม้นว่าในคำประกาศสดุดีพระเกียรติคุณ ข้าพระพุทธเจ้าทำให้ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาททรงเคร่งขรึมเกินไปนั่นย่อมมิใช่ความจริง ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทยังทรงเป็นเลิศในด้านกีฬาและทรงรักในการดนตรี จะมีพระมหากษัตริย์สักกี่พระองค์ที่จะทรงมีบทเพลงพระราชนิพนธ์สำหรับการแสดงที่โรงละครบอร์ดเวย์ หรือจะได้ทรงดนตรีแจ๊สประชันกับนายเบนนี กู๊ดแมน ตลอดทั้งคืน หรือจะทรงมีแผ่นซีดีเพลงพระราชนิพนธ์อันไพเราะที่มีท่วงทำนองของบทเพลงเดิม

ด้วยเหตุดังกล่าว ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทผู้ทรงเป็นนักปรัชญาเมธีและรัฐบุรุษ นักวิทยาศาสตร์และวิศวกร นักกีฬา และนักดนตรี ข้าพระพุทธเจ้าซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงรับการเฉลิมพระเกียรติในครั้งนี้ และขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยนอตติงแฮม ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายปริญญาบัตรนิติศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ ดังที่ทรงคู่ควรทุกประการ



ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ




รองอธิการบดีมหาวิทยานอตติงแฮม ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายปริญญาบัตรนิติศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ ณ พระตำหนักจิตรลาดรโหฐาน พระราชวังดุสิต
รองอธิการบดีมหาวิทยานอตติงแฮม ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายปริญญาบัตรนิติศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ ณ พระตำหนักจิตรลาดรโหฐาน พระราชวังดุสิต
ศาสตราจารย์ เซอร์คอลิน แคมป์เบล รองอธิการบดีมหาวิทยานอตติงแฮม
ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายปริญญาบัตรนิติศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์
ณ พระตำหนักจิตรลาดรโหฐาน พระราชวังดุสิต
วันพฤหัสบดี ที่ ๑๕ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๔๐



หน้าแรกประมวลคำสดุดีพระเกียรติคุณฯ บัญชีปริญญาดุษฎีบัณฑิตฯ บัญชีตำแหน่งสมาชิกกิตติมศักดิ์ฯ บัญชีรางวัลฯ พระราชกรณียกิจ