ผลต่างระหว่างรุ่นของ "รางวัลฯ-คณะกรรมการตัดสินรางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน"
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
บรรทัดที่ 1: | บรรทัดที่ 1: | ||
<div id="king"> | <div id="king"> | ||
<center>(คำแปลอย่างไม่เป็นทางการ)< | <center><h5>(คำแปลอย่างไม่เป็นทางการ)</h5>'''คำประกาศสดุดีพระเกียรติคุณพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช<br>ในโอกาสที่คณะกรรมการตัดสินรางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน (รางวัลซีไรต์) ประเทศไทย'''<br> | ||
'''ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายรางวัลสดุดีพระเกียรติคุณด้านวรรณกรรม<br>ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต<br>วันอังคาร ที่ ๘ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๔๐'''</center> | '''ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายรางวัลสดุดีพระเกียรติคุณด้านวรรณกรรม<br>ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต<br>วันอังคาร ที่ ๘ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๔๐'''</center> | ||
</div> | </div> | ||
บรรทัดที่ 12: | บรรทัดที่ 12: | ||
ข้าพระพุทธเจ้าขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตอ่านบทพระราชนิพนธ์สองคาถา จากบทที่ ๒๐ และ ๒๑ ต่อเนื่องกัน อันเป็นถ้อยคำโต้ตอบกันระหว่างเทพธิดาชื่อมณีเมขลา ผู้ที่ท้าวจตุโลกบาลมอบหมายให้ "เป็นผู้ดูแลสัตว์ทั้งหลาย ผู้ประกอบด้วยคุณ มีบำรุงมารดาเป็นต้น เป็นผู้ไม่สมควรตายในมหาสมุทร" กับมหาชนกกุมาร ผู้ทรงกระโดดจากยอดเสากระโดงเรือที่จมลงกลางมหาสมุทร โดยเมื่อจะทดลองพระมหาสัตว์ นางมณีเมขลาได้กล่าวคาถาแรกว่า | ข้าพระพุทธเจ้าขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตอ่านบทพระราชนิพนธ์สองคาถา จากบทที่ ๒๐ และ ๒๑ ต่อเนื่องกัน อันเป็นถ้อยคำโต้ตอบกันระหว่างเทพธิดาชื่อมณีเมขลา ผู้ที่ท้าวจตุโลกบาลมอบหมายให้ "เป็นผู้ดูแลสัตว์ทั้งหลาย ผู้ประกอบด้วยคุณ มีบำรุงมารดาเป็นต้น เป็นผู้ไม่สมควรตายในมหาสมุทร" กับมหาชนกกุมาร ผู้ทรงกระโดดจากยอดเสากระโดงเรือที่จมลงกลางมหาสมุทร โดยเมื่อจะทดลองพระมหาสัตว์ นางมณีเมขลาได้กล่าวคาถาแรกว่า | ||
=== === | === === | ||
<div class="kindent"> | <div class="kindent"> | ||
บรรทัดที่ 52: | บรรทัดที่ 53: | ||
ประวัติอันยาวนานและความเกี่ยวพันกับนักประพันธ์เรืองนามของโลกหลายท่านเป็นแรงบันดาลใจให้คณะผู้บริหารโรงแรมโอเรียนเต็ลริเริ่มก่อตั้งรางวัลซีไรต์ โดยได้รับความร่วมมือจากบริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) และกลุ่มบริษัทเครืออิตัลไทย | ประวัติอันยาวนานและความเกี่ยวพันกับนักประพันธ์เรืองนามของโลกหลายท่านเป็นแรงบันดาลใจให้คณะผู้บริหารโรงแรมโอเรียนเต็ลริเริ่มก่อตั้งรางวัลซีไรต์ โดยได้รับความร่วมมือจากบริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) และกลุ่มบริษัทเครืออิตัลไทย | ||
=== === | === === | ||
เจมส์ เอ มิชเชอเนอร์ ได้รับเชิญเป็นองค์ปาฐกคนแรกเมื่อพุทธศักราช ๒๕๒๓ ต่อจากนั้น ในทศวรรษเดียวกันนักเขียนท่านอื่น ที่ได้รับเชิญเป็นองค์ปกฐก ได้แก่ แพทย์หญิงฮัน ซู หยิน กอร์ วิดัล หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช วิลเลียม โกลดิง พอล เธอรูส์ มอร์ริส เวสต์ เซอร์ปีเตอร์ อุสตินอฟ และวิลเบอร์ สมิธ | เจมส์ เอ มิชเชอเนอร์ ได้รับเชิญเป็นองค์ปาฐกคนแรกเมื่อพุทธศักราช ๒๕๒๓ ต่อจากนั้น ในทศวรรษเดียวกันนักเขียนท่านอื่น ที่ได้รับเชิญเป็นองค์ปกฐก ได้แก่ แพทย์หญิงฮัน ซู หยิน กอร์ วิดัล หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช วิลเลียม โกลดิง พอล เธอรูส์ มอร์ริส เวสต์ เซอร์ปีเตอร์ อุสตินอฟ และวิลเบอร์ สมิธ | ||
บรรทัดที่ 69: | บรรทัดที่ 71: | ||
[[ภาพ:รางวัลซีไรต์.jpg | center]] | [[ภาพ:รางวัลซีไรต์.jpg|ประธานคณะกรรมการตัดสินทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายรางวัลสดุดีพระเกียรติคุณด้านวรรณกรรม|center]] | ||
<center>ศาสตราจารย์ หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล ประธานคณะกรรมการตัดสิน[http://www.seawrite.com/ รางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน (รางวัลซีไรต์)]<br> | <center>ศาสตราจารย์ หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล ประธานคณะกรรมการตัดสิน[http://www.seawrite.com/ รางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน (รางวัลซีไรต์)]<br> | ||
ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายรางวัลสดุดีพระเกียรติคุณด้านวรรณกรรม<br>ณ พระตำหนักจิตรลาดรโหฐาน พระราชวังดุสิต เมื่อวันอังคาร ที่ ๘ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๔๐</center> | ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายรางวัลสดุดีพระเกียรติคุณด้านวรรณกรรม<br>ณ พระตำหนักจิตรลาดรโหฐาน พระราชวังดุสิต เมื่อวันอังคาร ที่ ๘ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๔๐</center> | ||
[[ภาพ:รางวัลซีไรต์2.jpg | center]] | [[ภาพ:รางวัลซีไรต์2.jpg|รางวัลสดุดีพระเกียรติคุณด้านวรรณกรรม|center]] | ||
<center>"รางวัลสดุดีพระเกียรติคุณด้านวรรณกรรม" ที่คณะกรรมการตัดสินรางวัล[[วรรณกรรม]]สร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน (รางวัลซีไรต์)<br>ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย เนื่องจากตระหนักถึงพระปรีชาสามารถด้านวรรณกรรมที่ได้ทรงพระราชนิพนธ์หนังสือ<br>เรื่อง "นายอินทร์ ผู้ปิดทองหลังพระ" "ติโต" และ "พระมหาชนก"</center> | <center>"รางวัลสดุดีพระเกียรติคุณด้านวรรณกรรม" ที่คณะกรรมการตัดสินรางวัล[[วรรณกรรม]]สร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน (รางวัลซีไรต์)<br>ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย เนื่องจากตระหนักถึงพระปรีชาสามารถด้านวรรณกรรมที่ได้ทรงพระราชนิพนธ์หนังสือ<br>เรื่อง "นายอินทร์ ผู้ปิดทองหลังพระ" "ติโต" และ "พระมหาชนก"</center> | ||
รุ่นแก้ไขเมื่อ 06:11, 15 กรกฎาคม 2551
(คำแปลอย่างไม่เป็นทางการ)
คำประกาศสดุดีพระเกียรติคุณพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชในโอกาสที่คณะกรรมการตัดสินรางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน (รางวัลซีไรต์) ประเทศไทย
ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายรางวัลสดุดีพระเกียรติคุณด้านวรรณกรรม
ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต
วันอังคาร ที่ ๘ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๔๐
ขอเดชะฝ่าละอองธุลีพระบาทปกเกล้าปกกระหม่อม
พระปรีชาสามารถของใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทได้เป็นที่ประจักษ์แก่ปวงพสกนิกรชาวไทยตลอดระยะเวลาอันยาวนาน พระราชนิพนธ์ฉบับล่าสุดเรื่อง พระมหาชนก ทรงดัดแปลงเนื้อเรื่องจากพระมหาชนกชาดกให้เหมาะสมกับสังคมปัจจุบัน โดยที่ทรงพระราชดำริว่าพระมหาชนกจะลรรลุโมกขธรรมได้ง่ายกว่า หากได้ทรงประกอบพระราชกรณียกิจในโลกให้ครบถ้วนก่อน ในโอกาสเฉลิมฉลองกาญจนาภิเษกแห่งรัชกาล ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้พิมพ์หนังสือเล่มนี้เป็นสองภาษา พร้อมรูปวาดประกอบที่มีสีสันงดงาม เพื่อที่เรื่องราวอันทรงคุณค่านี้จะได้เป็นประเด็นเพื่อการศึกษา ไต่รตรองในทางที่ชอบธรรมแก่ประชาชนผู้ฝักใฝ่ในคุณธรรม
ข้าพระพุทธเจ้าขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตอ่านบทพระราชนิพนธ์สองคาถา จากบทที่ ๒๐ และ ๒๑ ต่อเนื่องกัน อันเป็นถ้อยคำโต้ตอบกันระหว่างเทพธิดาชื่อมณีเมขลา ผู้ที่ท้าวจตุโลกบาลมอบหมายให้ "เป็นผู้ดูแลสัตว์ทั้งหลาย ผู้ประกอบด้วยคุณ มีบำรุงมารดาเป็นต้น เป็นผู้ไม่สมควรตายในมหาสมุทร" กับมหาชนกกุมาร ผู้ทรงกระโดดจากยอดเสากระโดงเรือที่จมลงกลางมหาสมุทร โดยเมื่อจะทดลองพระมหาสัตว์ นางมณีเมขลาได้กล่าวคาถาแรกว่า
"นี่ใคร เมื่อแลไม่เห็นฝั่ง ก็อุตสาหะพยายามว่ายอยู่ท่ามกลางมหาสมุทร ท่านรู้อำนาจประโยชน์อะไร จึงพยายามว่ายอยู่อย่างนี้นักหนา" จากนั้นพระมหาสัตว์จึงตรัสคาถาที่สองว่า
"ดูก่อนเทวดา เราไตร่ตรองเห็นปฏิปทาแห่งโลก และอานิสงส์แห่งความเพียร เพราะฉะนั้น ถึงจะมองไม่เห็นฝั่งเราก็ต้องพยายามว่ายอยู่ท่ามกลางมหาสมุทร"
นักรบใด ใจมั่น พลันเริงร่า ถ้วนทหาร ปรารถนา เป็นเช่นเขา
สู้สุดฤทธิ์ ในกิน ทั้งหนักเบา ยอมรับเอา ด้วนมโน อันโอฬาร
เป็นเกลอกับ ทุกข์กล้า แสนสาหัส อันตราย สารพัด ไม่หน่ายหน้า
ถึงขามจิต โลหิตซับ กับพสุธา ใจเย็นได้ ไม่ว้า หวั่นพะวง
แลเห็นความ สำคัญ เป็นประโยชน์ อันช่วงโชติ ชวลิต น่าพิศวง
ตั้งจิตไว้ ไม่พรั่น ด้วยมั่นคง และอาจอง ทะนงรัก ศักดิ์แห่งตน
ไม่ยอมลด กายใจ ให้ต่ำต้อย เพื่อจะคอย ตวงตัก แม้สักหน
ซึ่งยศศักดิ์ อัครฐาน ศฤงคารตน หมายเทิดผล คือความดี ที่ศรัทธา
กฎอันใด แม้วางไว้ ในยามสงบ ปองเคารพ ชูเชิด ให้เจิดจ้า
ดำเนินตาม ที่เห็นชัด ในหัทยา ว่าเป็นภา-ระเลิศ ประเสริฐจริง
วิลเลียม เวิร์ดส์เวอร์ธ
ประวัติอันยาวนานและความเกี่ยวพันกับนักประพันธ์เรืองนามของโลกหลายท่านเป็นแรงบันดาลใจให้คณะผู้บริหารโรงแรมโอเรียนเต็ลริเริ่มก่อตั้งรางวัลซีไรต์ โดยได้รับความร่วมมือจากบริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) และกลุ่มบริษัทเครืออิตัลไทย
เจมส์ เอ มิชเชอเนอร์ ได้รับเชิญเป็นองค์ปาฐกคนแรกเมื่อพุทธศักราช ๒๕๒๓ ต่อจากนั้น ในทศวรรษเดียวกันนักเขียนท่านอื่น ที่ได้รับเชิญเป็นองค์ปกฐก ได้แก่ แพทย์หญิงฮัน ซู หยิน กอร์ วิดัล หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช วิลเลียม โกลดิง พอล เธอรูส์ มอร์ริส เวสต์ เซอร์ปีเตอร์ อุสตินอฟ และวิลเบอร์ สมิธ
คณะกรรมการตัดสินรางวัลซีไรต์ของประเทศไทย ประกอบขึ้นด้วย สมาชิกสมาคมภาษาและหนังสือแห่งประเทศไทย และสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย สลับกันไป ประเทศอื่นๆ ในกลุ่มประเทศอาเซียนก็ดำเนินการเช่นเดียวกัน วัตถุประสงค์ของรางวัลนี้ก็เพื่อที่จะให้เกิดความตระหนักถึงขุมทรัพย์ในวงวรรณกรรมที่มีอยู่ในประชาคมอาเซียนทั้งเจ็ดประเทศ โดยมีการเชิญนักเขียนและกวีที่เปี่ยมด้วยความสามารถมาชุมนุมกันในกรุงเทพมหานครปีละครั้ง เพื่อเข้าร่วมในพิธีพระราชทานรางวัลและประกาศเกียรติคุณผู้ที่ได้รับการตัดสินให้ได้รับรางวัล
ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ สยามมกุฎราชกุมาร และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ได้ทรงพระมหากรุณาเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเป็นประธานในพิธีพระราชทานรางวัลและงานเลี้ยงฉลอง ณ โรงแรมโอเรียนเต็ล สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ สยามมกุฎราชกุมารยังพระราชทานพระมหากรุณาอย่างต่อเนื่องในพิธีพระราชทานรางวัล ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายที่เกี่ยวข้องกับรางวัลซีไรต์จะมีบทบาทในการส่งเสริมกิจกรรมทางวรรณกรรมในประชาคมอาเซียนต่อไป ข้าพระพุทธเจ้าขอพระราชทานกราบบังคมทูลพระกรุณาในนามของกวีและนักเขียนในประชาคมอาเซียนว่า ปวงข้าพระพุทธเจ้าต่างซาบซึ้งในพระมหา กรุณาธิคุณที่ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาททรงรับการเฉลิมพระเกียรติในครั้งนี้ และขอพระราชทานถวายพระพรชัยมงคลให้ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน
ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ
ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายรางวัลสดุดีพระเกียรติคุณด้านวรรณกรรม
ณ พระตำหนักจิตรลาดรโหฐาน พระราชวังดุสิต เมื่อวันอังคาร ที่ ๘ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๔๐
ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย เนื่องจากตระหนักถึงพระปรีชาสามารถด้านวรรณกรรมที่ได้ทรงพระราชนิพนธ์หนังสือ
เรื่อง "นายอินทร์ ผู้ปิดทองหลังพระ" "ติโต" และ "พระมหาชนก"
หน้าแรกประมวลคำสดุดีพระเกียรติคุณฯ | บัญชีปริญญาดุษฎีบัณฑิตฯ | บัญชีตำแหน่งสมาชิกกิตติมศักดิ์ฯ | บัญชีรางวัลฯ | พระราชกรณียกิจ |