ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ค-โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา"

จาก WIKI84
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัดที่ 17: บรรทัดที่ 17:


<h4>พันธุ์พืชพระราชทาน</h4>
<h4>พันธุ์พืชพระราชทาน</h4>
[[ภาพ:พระราชกรณียกิจ-290909-06.jpg|center|ควายเหล็ก]]
<div class="kindent">พุทธศักราช ๒๕๐๓ - ๒๕๐๔ ขณะพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินโดยรถยนต์พระที่นั่งผ่านจังหวัดนครปฐม ราชบุรี และเพชรบุรี ได้ทอดพระเนตรต้นยางนาขนาดใหญ่เรียงรายอยู่สองข้างทางเสด็จพระราชดำเนิน มีพระราชดำริให้สงวนป่ายางนานี้ไว้เป็นสวนสาธารณะ แต่ไม่อาจดำเนินการได้เนื่องจากราษฎรจำนวนมากได้ใช้เป็นที่ทำมาหากิน นำไปสู่พระราชดำริทดลองปลูกต้นยางนาด้วยพระองค์เอง โดยทรงเพาะเมล็ดยางนาในกระถางบนพระตำหนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวลและนำไปปลูกในบริเวณแปลงทดลองในสวนจิตรลดาจำนวน ๑,๒๕๐ ต้น ในพุทธศักราช ๒๕๐๔ และทรงให้นำพันธุ์ไม้นานาชนิดจากภูมิภาคต่างๆ ของประเทศมาปลูกไว้ในสวนจิตรลดา อันเป็นแนวทางหนึ่งของพระราชดำริฟื้นฟูแหล่งน้ำของประเทศ ปัจจุบันสำนักพระราชวังได้ประสานกับกรมทางหลวงสนองแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ด้วยการอนุรักษ์ต้นยางนาที่พระองค์มีพระราชดำริไว้บริเวณถนนเพชรเกษม (ทางหลวงหมายเลข ๔) ช่วงอำเภอท่ายาง - อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี โดยเป็นต้นยางนาอายุประมาณ ๒๐๐ ปี
<div class="kindent">พุทธศักราช ๒๕๐๓ - ๒๕๐๔ ขณะพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินโดยรถยนต์พระที่นั่งผ่านจังหวัดนครปฐม ราชบุรี และเพชรบุรี ได้ทอดพระเนตรต้นยางนาขนาดใหญ่เรียงรายอยู่สองข้างทางเสด็จพระราชดำเนิน มีพระราชดำริให้สงวนป่ายางนานี้ไว้เป็นสวนสาธารณะ แต่ไม่อาจดำเนินการได้เนื่องจากราษฎรจำนวนมากได้ใช้เป็นที่ทำมาหากิน นำไปสู่พระราชดำริทดลองปลูกต้นยางนาด้วยพระองค์เอง โดยทรงเพาะเมล็ดยางนาในกระถางบนพระตำหนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวลและนำไปปลูกในบริเวณแปลงทดลองในสวนจิตรลดาจำนวน ๑,๒๕๐ ต้น ในพุทธศักราช ๒๕๐๔ และทรงให้นำพันธุ์ไม้นานาชนิดจากภูมิภาคต่างๆ ของประเทศมาปลูกไว้ในสวนจิตรลดา อันเป็นแนวทางหนึ่งของพระราชดำริฟื้นฟูแหล่งน้ำของประเทศ ปัจจุบันสำนักพระราชวังได้ประสานกับกรมทางหลวงสนองแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ด้วยการอนุรักษ์ต้นยางนาที่พระองค์มีพระราชดำริไว้บริเวณถนนเพชรเกษม (ทางหลวงหมายเลข ๔) ช่วงอำเภอท่ายาง - อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี โดยเป็นต้นยางนาอายุประมาณ ๒๐๐ ปี
</div>
</div>

รุ่นแก้ไขเมื่อ 08:30, 29 กันยายน 2552

 
จากการเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฎรในจังหวัดต่างๆ ทำให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงประจักษ์ชัดถึงความเดือดร้อนของเกษตรกร ทรงมีความมุ่งมั่นที่จะแก้ปัญหาการเกษตรของไทยให้เกิดความเจริญก้าวหน้าอย่างยั่งยืน โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้จัดตั้ง ”โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา” ขึ้นโดยทรงใช้พื้นที่บางส่วนของสวนจิตรลดา พระราชวังดุสิตเป็นสถานที่ศึกษา ค้นคว้า ทดลอง หาวิธีแก้ไขปัญหาต่างๆ ให้ถูกต้องตรงจุดด้วยพระองค์เองเพื่อเป็นโครงการตัวอย่างเพื่อช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนของราษฎร พระมหากรุณาธิคุณแก่เกษตรกรทั้งหลายเหล่านี้ในเวลาต่อมาได้ขยายเป็นโครงการหลวงและโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริที่ทวีมากขึ้นตามกาลเวลา และล้วนแต่เอื้ออำนวยประโยชน์ให้แก่เกษตรกรในภูมิภาคต่างๆ ของประเทศ

พันธุ์ปลาพระราชทาน

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงศึกษา ทดลองเพื่อพัฒนาแหล่งอาหารปลาในชนบทตั้งแต่ระยะแรกๆ ที่เสด็จขึ้นครองราชสมบัติ เริ่มจากโครงการประมงพระราชทานในพุทธศักราช ๒๔๙๕ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้กรมประมงใช้บ่อน้ำในบริเวณสวนจิตรลดาเป็นที่เพาะเลี้ยงขยายพันธุ์ปลาพระราชทานแก่ประชาชน ทั้งปลาพันธุ์พื้นเมืองและพันธุ์จากต่างประเทศ ซึ่งเป็นพันธุ์ที่เลี้ยงง่าย ขยายพันธุ์ได้เร็วและสามารถเจริญเติบโตได้ดีในทุกภาคของประเทศเพื่อทดแทนกับปลาน้ำจืดตามธรรมชาติที่นับวันมีแต่จะลดลง

ปลาหมอเทศ

เป็นพันธุ์ปลาที่กรมประมงได้มาจากกรมประมงเมืองปีนัง ประเทศมาเลเซีย ต่อมาทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้กำนัน ผู้ใหญ่บ้านทั่วประเทศเข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทรับพระราชทานลูกปลาหมอเทศที่ทรงเพาะเลี้ยงขยายพันธุ์ไว้นำไปปล่อยในแหล่งน้ำตามธรรมชาติ ปลาหมอเทศจึงเป็นที่รู้จักกันดีของคนไทยในยุคหนึ่งว่าเป็นปลาพันธุ์พระราชทาน พุทธศักราช ๒๕๐๘ เจ้าฟ้าชายอากิฮิโต มกุฎราชกุมารแห่งประเทศญี่ปุ่นได้ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายลูกปลาตระกูลเดียวกับปลาหมอเทศแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจำนวน ๕๐ ตัว ซึ่งโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้เลี้ยงในบ่อปลาภายในสวนจิตรลดา โดยเป็นปลาที่เลี้ยงง่ายและขยายพันธุ์ได้เร็วเช่นเดียวกับปลาหมอเทศได้พระราชทานนามว่า “ปลานิล” ปีถัดมาได้พระราชทานพันธุ์ปลานิลจำนวน ๑๐,๐๐๐ ตัว แก่กรมประมงให้นำไปแจกจ่ายตามสถานีประมงจังหวัดต่างๆ เพื่อนำไปเลี้ยงและแจกจ่ายแก่ประชาชน

คราใดที่เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฎรในพื้นที่ต่างๆ จะทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจปล่อยพันธุ์ปลาในแหล่งน้ำธรรมชาติคราวละจำนวนมากๆ ทั้งปลานิลและปลาน้ำจืดอื่นๆ เพี่อให้เป็นปลาเศรษฐกิจที่มีคุณภาพและมูลค่า เป็นที่นิยมบริโภคของประชาชนทั่วไป สมดังพระราชประสงค์ที่ต้องการให้ประชาชนได้มีอาหารโปรตีนบริโภคกันอย่างทั่วถึง รวมทั้งก่อให้เกิดประโยชน์ต่ออาชีพประมงของประชาชนอย่างมหาศาลในปัจจุบัน

พันธุ์พืชพระราชทาน

ควายเหล็ก
ควายเหล็ก
พุทธศักราช ๒๕๐๓ - ๒๕๐๔ ขณะพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินโดยรถยนต์พระที่นั่งผ่านจังหวัดนครปฐม ราชบุรี และเพชรบุรี ได้ทอดพระเนตรต้นยางนาขนาดใหญ่เรียงรายอยู่สองข้างทางเสด็จพระราชดำเนิน มีพระราชดำริให้สงวนป่ายางนานี้ไว้เป็นสวนสาธารณะ แต่ไม่อาจดำเนินการได้เนื่องจากราษฎรจำนวนมากได้ใช้เป็นที่ทำมาหากิน นำไปสู่พระราชดำริทดลองปลูกต้นยางนาด้วยพระองค์เอง โดยทรงเพาะเมล็ดยางนาในกระถางบนพระตำหนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวลและนำไปปลูกในบริเวณแปลงทดลองในสวนจิตรลดาจำนวน ๑,๒๕๐ ต้น ในพุทธศักราช ๒๕๐๔ และทรงให้นำพันธุ์ไม้นานาชนิดจากภูมิภาคต่างๆ ของประเทศมาปลูกไว้ในสวนจิตรลดา อันเป็นแนวทางหนึ่งของพระราชดำริฟื้นฟูแหล่งน้ำของประเทศ ปัจจุบันสำนักพระราชวังได้ประสานกับกรมทางหลวงสนองแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ด้วยการอนุรักษ์ต้นยางนาที่พระองค์มีพระราชดำริไว้บริเวณถนนเพชรเกษม (ทางหลวงหมายเลข ๔) ช่วงอำเภอท่ายาง - อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี โดยเป็นต้นยางนาอายุประมาณ ๒๐๐ ปี

พันธุ์ข้าวพระราชทาน

ตั้งแต่พุทธศักราช ๒๕๐๔ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้กรมการข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ส่งเจ้าหน้าที่ไปทดลองปลูกข้าวในแปลงนาสาธิตแปลงละประมาณ ๑,๐๐๐ ตารางเมตร จำนวน ๓ แปลง แทนการทำนาดำ นาหยอด และนาหว่าน โดยใช้รถไถหรือ “ควายเหล็ก” เครื่องทุ่นแรงทางการเกษตรที่ทันสมัยแห่งยุคในขณะนั้น ในการไถดินและหว่านเมล็ดพันธุ์ ทรงทดลองใช้ปุ๋ยประเภทต่างๆ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้นำดินจาก ๔ ภูมิภาคมาทดลองปลูกข้าวไร่ เพื่อหาวิธีปลูกข้าวให้ได้ผลดีในพื้นที่ที่ไม่เอื้อ เช่น ที่ดอน ที่เนินไหล่เขา เป็นต้น

จนในที่สุด ทรงพบวิธีการเลือกพันธุ์ข้าวและวิธีบำรุงรักษาที่ถูกต้อง หลังการเก็บเกี่ยวข้าวในแปลงนาสาธิตในสวนจิตรลดา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้นำไปพระราชทานเป็นข้าว พันธุ์ดีใช้ในพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ และพระราชทานเผยแพร่แก่เกษตรกรให้สามารถเพิ่มพูนผลผลิตและประกอบอาชีพเกษตรกรรมได้ผลดี ยิ่งกว่านั้นยังทรงตั้งโรงสีข้าวตัวอย่าง เพื่อศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการสีข้าวและดำเนินการในรูปแบบสหกรณ์ โดยพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์เบื้องต้นจำนวน ๑๐๐,๐๐๐ บาท ในการจัดซื้อข้าวเปลือกในราคาเป็นธรรมเพื่อกักตุนในพุทธศักราช ๒๕๑๔

พุทธศักราช ๒๕๑๙ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระราชดำริให้จัดตั้งธนาคารข้าว เมื่อครั้งเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมชาวเขาในอำเภอจอมทองจังหวัดเชียงใหม่ ทรงเล็งเห็นว่าชาวบ้านขาดแคลนข้าว จึงได้พระราชทานข้าวเปลือกจำนวนหนึ่งแก่ผู้ใหญ่บ้านหลายหมู่บ้าน เพื่อเป็นทุนเริ่มดำเนินการธนาคารข้าวโดยมีการจัดทำบัญชียืมข้าวมาบริโภคในยามจำเป็นและคืนข้าวเมื่อสามารถเก็บเกี่ยวได้แล้ว พร้อมดอกเบี้ยเล็กน้อย เพื่อนำมาเป็นข้าวส่วนกองกลาง กิจการธนาคารข้าวยังเป็นพื้นฐานสำคัญของการพัฒนาสร้างความสมานสามัคคีของชุมชนได้เป็นอย่างดี

พระมหากรุณาธิคุณในด้านกสิกรรมนี้ เอื้ออำนวยประโยชน์แก่กสิกรในภูมิภาคต่างๆ ของประเทศไทยให้สามารถทำนาได้ปีละหลายครั้ง ได้ผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้นพร้อมทั้งน้อมนำพระราชดำริเป็นแนวทางในการดำเนินงาน โรงสีข้าวประจำชุมชน อันจะก่อให้เกิดประโยชน์แก่ส่วนรวม นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณล้นเกล้าล้นกระหม่อมอย่างหาที่สุดมิได้

โคนมพระราชทาน

การเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยือนประเทศเดนมาร์กในพุทธศักราช ๒๕๐๓ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรกิจการปศุสัตว์ การทำฟาร์มโคนม และกิจการผลิตอาหารจากนมเป็นพิเศษ ด้วยทรงตระหนักถึงคุณค่าของนมที่มีต่อความเจริญเติบโตของร่างกายมนุษย์ ทรงปรารถนาให้คนไทยมีร่างกายและสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์ เพื่อเป็นพลังในการพัฒนาประเทศ วิธีการหนึ่งก็คือการได้บริโภคนมอย่างเพียงพอ

พุทธศักราช ๒๕๐๔ ประเทศไทยได้เริ่มเปิดดำเนินกิจการฟาร์มโคนม สืบเนื่องจากรัฐบาลเดนมาร์กได้น้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายโครงการส่งเสริมการเลี้ยงโคนมในประเทศไทย โดยจัดตั้งฟาร์มโคนมไทย - เดนมาร์ก ที่อำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี และด้วยพระราชประสงค์เพื่อส่งเสริมอาชีพเลี้ยงโคนมแบบพื้นบ้านแก่เกษตรกรไทย พร้อมกับการส่งเสริมสุขภาพอนามัยของประชาชนชาวไทย และการสงวนเงินตราต่างประเทศในการสั่งซื้อผลิตภัณฑ์อาหารนมจากต่างประเทศ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงศึกษา ค้นคว้า วิชาการแผนใหม่เกี่ยวกับกิจการโคนม และทรงริเริ่มดำเนินโครงการโรงโคนมสวนจิตรลดาในพุทธศักราช ๒๕๐๕ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ปลูกหญ้าและพืชไว้เป็นอาหารเลี้ยงโค ซึ่งเป็นวิธีการเลี้ยงแบบประหยัดเหมาะสมกับเกษตรกรไทยในชนบท

กิจการต่างๆ ภายในโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดาภายในโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดามีการดำเนินงาน ๒ แบบ คือ
  • โครงการแบบไม่ใช่ธุรกิจ เป็นโครงการทดลองวิจัยเพื่อหาองค์ความรู้สำหรับนำมาพัฒนาด้านการเกษตร เช่น การเพาะพันธุ์ปลา การปลูกป่า นาข้าวทดลอง การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช ฯลฯ
  • โครงการกึ่งธุรกิจ เป็นโครงการทดลองแปรรูปผลิตผลทางการเกษตรเพื่อจำหน่ายและนำผลกำไรมาขยายงาน เป็นต้นแบบของการประกอบกิจการขนาดเล็ก มีการจัดการบริหารเป็นระบบ มีรายรับรายจ่ายชัดเจน ซึ่งมี ๒ กลุ่มด้วยกัน ประกอบด้วย กลุ่มอุตสาหกรรมนม และกลุ่มผลิตภัณฑ์เกษตรและเกษตรต่อเนื่อง
การดำเนินงานดังกล่าวนับเป็นโครงการต้นแบบที่ประสบความสำเร็จ สามารถเลี้ยงตัวเองได้ และนำผลกำไรที่ได้ไปพัฒนาปรับปรุงกิจการอื่นๆ สืบต่อมา เป็นตัวอย่างให้แก่เกษตรกรหรือผู้ประกอบการอุตสาหกรรมรายย่อยได้เป็นอย่างดี สมดังพระราชประสงค์ในการก่อตั้งโครงการ