ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สร้างโอกาสทางการศึกษาแก่พสกนิกร"
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
บรรทัดที่ 20: | บรรทัดที่ 20: | ||
พระมหากรุณาธิคุณด้านการศึกษาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังได้ปกแผ่ไปถึงบุตรธิดาของผู้ป่วยโรคเรื้อน ซึ่งเป็นโรคระบาดอย่างกว้างขวางในพุทธศักราช ๒๔๙๘ และแยกออกจากพ่อแม่ให้เข้าเรียนในโรงเรียน | พระมหากรุณาธิคุณด้านการศึกษาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังได้ปกแผ่ไปถึงบุตรธิดาของผู้ป่วยโรคเรื้อน ซึ่งเป็นโรคระบาดอย่างกว้างขวางในพุทธศักราช ๒๔๙๘ และแยกออกจากพ่อแม่ให้เข้าเรียนในโรงเรียน | ||
ทั่วไป ในพุทธศักราช ๒๕๐๖ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ตั้ง<span style="color:#2FA629">โรงเรียนราชประชาสมาสัย</span> อันมีความหมายว่า พระราชากับราษฎรอาศัยซึ่งกันและกันที่อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ เป็นสถานศึกษาอยู่ประจำสำหรับเยาวชนกลุ่มนี้ โดยเป็นการแยกเด็กออกจากผู้ปกครองเพื่อไม่ให้ได้รับการติดเชื้อ และสร้างโอกาสให้เด็กได้รับการศึกษาเช่นเดียวกับเยาวชนทั่วไป เสมือนเป็นแสงสว่างที่ส่องไปยังเยาวชนกลุ่มที่ไม่ได้รับการยอมรับจากสังคม ให้สามารถลบปมด้อยของตนเองและมีความหวังในชีวิต มีแนวทางที่จะพัฒนาตนเองสามารถเข้าเรียนต่อชั้นอุดมศึกษาและประกอบอาชีพเลี้ยงตนเองได้โดยไม่เป็นภาระแก่สังคม ปัจจุบันได้เปิดรับนักเรียนทั่วไปให้เข้ารับการศึกษาด้วยเช่นกัน | ทั่วไป ในพุทธศักราช ๒๕๐๖ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ตั้ง<span style="color:#2FA629">โรงเรียนราชประชาสมาสัย</span> อันมีความหมายว่า พระราชากับราษฎรอาศัยซึ่งกันและกันที่อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ เป็นสถานศึกษาอยู่ประจำสำหรับเยาวชนกลุ่มนี้ โดยเป็นการแยกเด็กออกจากผู้ปกครองเพื่อไม่ให้ได้รับการติดเชื้อ และสร้างโอกาสให้เด็กได้รับการศึกษาเช่นเดียวกับเยาวชนทั่วไป เสมือนเป็นแสงสว่างที่ส่องไปยังเยาวชนกลุ่มที่ไม่ได้รับการยอมรับจากสังคม ให้สามารถลบปมด้อยของตนเองและมีความหวังในชีวิต มีแนวทางที่จะพัฒนาตนเองสามารถเข้าเรียนต่อชั้นอุดมศึกษาและประกอบอาชีพเลี้ยงตนเองได้โดยไม่เป็นภาระแก่สังคม ปัจจุบันได้เปิดรับนักเรียนทั่วไปให้เข้ารับการศึกษาด้วยเช่นกัน | ||
[[ภาพ:โรงเรียนราชประชานุเคราะห์.jpg|center]] | |||
<center>พระราชทานสิ่งของแก่นักเรียนที่โรงเรียนราชประชานุเคราะห์</center> | |||
พระมหากรุณาธิคุณด้านการศึกษาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีต่อผู้ประสบภัยพิบัติอีกด้วยดังจะเห็นได้จากเมื่อเกิดวาตภัยโซนร้อน <span style="color:#2FA629">“แฮเรียต”</span> เข้ากระหน่ำใน ๑๒ จังหวัดภาคใต้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่แหลมตะลุมพุก จังหวัดนครศรีธรรมราช เมื่อปลายเดือนตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๐๕ ก่อให้เกิดความเสียหายอย่างหนัก มีการสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินจำนวนมาก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ก่อตั้งมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ที่จัดตั้งเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยในครั้งนี้และได้จัดการศึกษาแก่ลูกหลานผู้ประสบภัยด้วย นั่นคือ ตั้ง<span style="color:#2FA629">โรงเรียนราชประชานุเคราะห์</span>ขึ้นในพุทธศักราช ๒๕๐๖ รุ่นแรกจำนวน ๑๒ แห่งด้วยกัน ปัจจุบันมีทั้งหมด ๔๑ แห่ง นอกจากนี้ ยังจัดตั้งโรงเรียนประชาสงเคราะห์ในพื้นที่ที่ประสบภัยพิบัติรวมถึงภัยจากโรคเอดส์อีกหลายจังหวัด อันเป็นการสร้างขวัญกำลังใจให้แก่ผู้ประสบภัยพิบัติทั้งหลาย | พระมหากรุณาธิคุณด้านการศึกษาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีต่อผู้ประสบภัยพิบัติอีกด้วยดังจะเห็นได้จากเมื่อเกิดวาตภัยโซนร้อน <span style="color:#2FA629">“แฮเรียต”</span> เข้ากระหน่ำใน ๑๒ จังหวัดภาคใต้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่แหลมตะลุมพุก จังหวัดนครศรีธรรมราช เมื่อปลายเดือนตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๐๕ ก่อให้เกิดความเสียหายอย่างหนัก มีการสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินจำนวนมาก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ก่อตั้งมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ที่จัดตั้งเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยในครั้งนี้และได้จัดการศึกษาแก่ลูกหลานผู้ประสบภัยด้วย นั่นคือ ตั้ง<span style="color:#2FA629">โรงเรียนราชประชานุเคราะห์</span>ขึ้นในพุทธศักราช ๒๕๐๖ รุ่นแรกจำนวน ๑๒ แห่งด้วยกัน ปัจจุบันมีทั้งหมด ๔๑ แห่ง นอกจากนี้ ยังจัดตั้งโรงเรียนประชาสงเคราะห์ในพื้นที่ที่ประสบภัยพิบัติรวมถึงภัยจากโรคเอดส์อีกหลายจังหวัด อันเป็นการสร้างขวัญกำลังใจให้แก่ผู้ประสบภัยพิบัติทั้งหลาย |
รุ่นแก้ไขเมื่อ 09:53, 2 ตุลาคม 2552
โรงเรียนวังไกลกังวล เป็นสถานศึกษาในพระบรมราชูปถัมภ์ จัดตั้งขึ้นเมื่อพุทธศักราช ๒๔๘๑ ตามพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร เพื่อให้การศึกษาแก่บุตรหลานของเจ้าหน้าที่ผู้รักษาวังไกลกังวล มีฐานะเป็นโรงเรียนราษฎร์ ทรงอุปถัมภ์ค่าใช้จ่ายจากเงินพระราชกุศลเป็นรายปี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณา โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้พัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนมาเป็นลำดับตั้งแต่พุทธศักราช ๒๔๙๗ ปัจจุบันสามารถเปิดสอนนักเรียนตั้งแต่ชั้นเด็กเล็กขึ้นไปจนถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ และเปิดสอนหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้น เพิ่มเติมด้วย รวมทั้งยังเป็นศูนย์กลางการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ซึ่งเผยแพร่การสอนไปทั้งในประเทศและต่างประเทศ
สร้างโอกาสแก่พสกนิกรที่ห่างไกลและยากไร้อย่างทั่วถึง
ในพื้นที่ห่างไกลในชนบท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเล็งเห็นว่าประชาชนมีการดำรงชีวิตต่ำกว่าระดับมาตรฐาน ขาดโอกาสที่จะพัฒนาคุณภาพชีวิตของตนเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขาดโอกาสทางการศึกษา ทั้งสถานศึกษา บุคลากรด้านการศึกษา และทุนทรัพย์ จึงพระราชทานความช่วยเหลือและแนวทางในการพัฒนาด้านการศึกษาไปยังบุคคลด้อยโอกาสเหล่านี้ เพื่อให้การศึกษาสามารถแผ่ขยายไปยังท้องถิ่นทุรกันดารได้อย่างทั่วถึง และเป็นการช่วยเสริมงานที่ภาครัฐยังเข้าไปไม่ถึง ทรงสนับสนุนให้ตำรวจตระเวนชายแดนจัดตั้งโรงเรียนสำหรับเยาวชนในท้องถิ่นที่ห่างไกลการคมนาคม จนเกิดเป็นโรงเรียนชาวเขาเยาวชนไกลคมนาคม ขึ้นในพุทธศักราช ๒๔๙๙ มีตำรวจตระเวนชายแดนที่ได้รับการฝึกอบรมด้านการสอนจากกระทรวงศึกษาธิการเป็นผู้ถ่ายทอดวิชาความรู้ และเป็นการเปิดโอกาสให้ชาวเขาและเยาวชนในพื้นถิ่นไกลคมนาคมได้เรียนรู้หนังสือไทย สามารถอ่านออกเขียนได้ มีความรู้เกี่ยวกับขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมไทยและมีสำนึกในความเป็นคนไทย
ต่อเนื่องมาถึงช่วงต้นพุทธศักราช ๒๕๐๖ ทรงสนับสนุนให้จัดตั้งโรงเรียนในถิ่นที่ห่างไกลทั้งบริเวณเขตชายแดนและพื้นที่ที่ไม่สงบจากภัยคุกคามของลัทธิคอมมิวนิสต์ซึ่งเรียกกันว่าเป็นพื้นที่สีแดงหรือพื้นที่สีชมพูตามความรุนแรง ได้แก่ โรงเรียนเจ้าพ่อหลวงอุปถัมภ์ในการดูแลของกองบังคับการตำรวจตระเวนชายแดน โดยเริ่มที่จังหวัดเชียงใหม่เป็นแห่งแรก ในระยะต่อมาได้เพิ่มจำนวนมากขึ้นกว่า ๒๐๐ โรงเรียน เนื่องจากสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ได้พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์และเงินที่มีผู้ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายโดยเสด็จพระราชกุศลร่วมสนับสนุนก่อสร้างโรงเรียนถือเป็นการแบ่งเบาพระราชภารกิจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอีกทางหนึ่ง
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้จัดตั้งโรงเรียนร่มเกล้าในความดูแลของกองทัพภาคที่ ๒ (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) โดยริเริ่มขึ้นสำหรับเยาวชนในท้องถิ่นชนบทห่างไกลที่มีความไม่สงบจากภัยต่างๆ รวมทั้งพื้นที่ชายแดนและพื้นที่สีชมพู อาทิ นครพนม สกลนคร ฯลฯ เป็นโรงเรียนระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา และได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดโรงเรียนร่มเกล้าด้วยพระองค์เอง ซึ่งต่อมาได้มีการขยายโครงการโรงเรียนร่มเกล้าไปยังภูมิภาคอื่นๆ ทั่วประเทศ ทั้งในภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้ ทั้งนี้เป็นการสร้างโอกาสทางการศึกษาแก่เด็กและเยาวชนในบริเวณดังกล่าว ช่วยสร้างความปลอดภัยด้านการเมืองบริเวณพื้นที่ชายขอบของประเทศ สร้างความสงบสันติ ป้องกันการเกิดปัญหาชนกลุ่มน้อย และเป็นวิธีการหนึ่งที่ทำให้รัฐบาลสามารถช่วงชิงพื้นที่สีแดงหรือสีชมพูจากอิทธิพลของลัทธิคอมมิวนิสต์ที่ครอบคลุมอยู่ได้สำเร็จ
พระมหากรุณาธิคุณด้านการศึกษาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังได้ปกแผ่ไปถึงบุตรธิดาของผู้ป่วยโรคเรื้อน ซึ่งเป็นโรคระบาดอย่างกว้างขวางในพุทธศักราช ๒๔๙๘ และแยกออกจากพ่อแม่ให้เข้าเรียนในโรงเรียน ทั่วไป ในพุทธศักราช ๒๕๐๖ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ตั้งโรงเรียนราชประชาสมาสัย อันมีความหมายว่า พระราชากับราษฎรอาศัยซึ่งกันและกันที่อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ เป็นสถานศึกษาอยู่ประจำสำหรับเยาวชนกลุ่มนี้ โดยเป็นการแยกเด็กออกจากผู้ปกครองเพื่อไม่ให้ได้รับการติดเชื้อ และสร้างโอกาสให้เด็กได้รับการศึกษาเช่นเดียวกับเยาวชนทั่วไป เสมือนเป็นแสงสว่างที่ส่องไปยังเยาวชนกลุ่มที่ไม่ได้รับการยอมรับจากสังคม ให้สามารถลบปมด้อยของตนเองและมีความหวังในชีวิต มีแนวทางที่จะพัฒนาตนเองสามารถเข้าเรียนต่อชั้นอุดมศึกษาและประกอบอาชีพเลี้ยงตนเองได้โดยไม่เป็นภาระแก่สังคม ปัจจุบันได้เปิดรับนักเรียนทั่วไปให้เข้ารับการศึกษาด้วยเช่นกัน
พระมหากรุณาธิคุณด้านการศึกษาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีต่อผู้ประสบภัยพิบัติอีกด้วยดังจะเห็นได้จากเมื่อเกิดวาตภัยโซนร้อน “แฮเรียต” เข้ากระหน่ำใน ๑๒ จังหวัดภาคใต้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่แหลมตะลุมพุก จังหวัดนครศรีธรรมราช เมื่อปลายเดือนตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๐๕ ก่อให้เกิดความเสียหายอย่างหนัก มีการสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินจำนวนมาก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ก่อตั้งมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ที่จัดตั้งเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยในครั้งนี้และได้จัดการศึกษาแก่ลูกหลานผู้ประสบภัยด้วย นั่นคือ ตั้งโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ขึ้นในพุทธศักราช ๒๕๐๖ รุ่นแรกจำนวน ๑๒ แห่งด้วยกัน ปัจจุบันมีทั้งหมด ๔๑ แห่ง นอกจากนี้ ยังจัดตั้งโรงเรียนประชาสงเคราะห์ในพื้นที่ที่ประสบภัยพิบัติรวมถึงภัยจากโรคเอดส์อีกหลายจังหวัด อันเป็นการสร้างขวัญกำลังใจให้แก่ผู้ประสบภัยพิบัติทั้งหลาย
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเปิดประตูแห่งโอกาสในการศึกษาให้กว้างขวางยิ่งขึ้น ด้วยการพระราชทานทุนการศึกษาในรูปแบบต่างๆ แก่ผู้ที่ยากไร้ได้แก่ การพระราชทานทุนการศึกษาและรางวัลต่างๆ แก่เยาวชน ได้แก่ กองทุนเลี้ยงดูเด็กนักเรียนโรงเรียนราชประชาสมาสัย นักเรียนโรงเรียนราชานุกูล ทุนมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ทุนการศึกษาแก่นักเรียนชาวเขาทั้งในระดับมัธยมศึกษาและอุดมศึกษา รางวัลแก่นักเรียนและโรงเรียนดีเด่นทั่วประเทศทั้งในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ซึ่งทรงเริ่มพระราชทานตั้งแต่ปีการศึกษา ๒๕๐๗ เป็นต้นมา
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงริเริ่มให้มีสถาบันพัฒนาการบริหารอันเป็นส่วนสำคัญของการพัฒนาประเทศ โดยในพุทธศักราช ๒๕๐๓ มีพระราชปรารภกับนายเดวิด ร็อกกี้เฟลเลอร์ ถึงการศึกษาค้นคว้างานด้านพัฒนาเศรษฐกิจและปรับปรุงการสถิติของชาติ โดยทรงเริ่มวางรากฐานที่คณะรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และได้โอนย้ายมาเป็นสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์หรือ NIDA เมื่อพุทธศักราช ๒๕๐๙
พระเมตตาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังแผ่ปกเกล้าปกกระหม่อมไปถึงครูอาจารย์ซึ่งเป็นบุคคลที่มีความสำคัญในการมอบความรู้แก่เด็กและเยาวชนโดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ตั้งมูลนิธิช่วยเหลือครูอาวุโสในพระบรมราชานุเคราะห์ พร้อมกับได้พระราชทานเงินจำนวน ๑๐๐,๐๐๐ บาท ให้แก่คุรุสภาเมื่อพุทธศักราช ๒๕๑๐ เป็นทุนประเดิมในการจัดตั้งมูลนิธิเพื่อช่วยเหลือครูอาวุโสที่ได้ปฏิบัติหน้าที่ด้วยดีมาจนครบเกษียณอายุทั้งในด้านการเงินและเครื่องหมายเชิดชูเกียรติเพื่อส่งเสริมให้ครูมีกำลังใจในการปฏิบัติหน้าที่สืบต่อไป