ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ส-เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฎร"
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
บรรทัดที่ 46: | บรรทัดที่ 46: | ||
|align = "center"|พระตำหนัก<br>||align = "center"|ที่ตั้ง||align = "center"|สร้างขึ้นเมื่อ พุทธศักราช<br>||align = "center"|เนื้อที่<br>โดยประมาณ (ไร่)||align = "center"|หมายเหตุ<br> | |align = "center"|พระตำหนัก<br>||align = "center"|ที่ตั้ง||align = "center"|สร้างขึ้นเมื่อ พุทธศักราช<br>||align = "center"|เนื้อที่<br>โดยประมาณ (ไร่)||align = "center"|หมายเหตุ<br> | ||
|- | |- | ||
|ภูพิงคราชนิเวศน์||ดอยบวกห้า ตำบลสุเทพ อำเภอเมืองเชียงใหม่ <br>จังหวัดเชียงใหม่||align = "center"|๒๕๐๔||align = "center"|๔๐๐||สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก วัดบวรนิเวศวิหาร<br> | |ภูพิงคราชนิเวศน์||ดอยบวกห้า<br>ตำบลสุเทพ<br>อำเภอเมืองเชียงใหม่<br>จังหวัดเชียงใหม่||align = "center"|๒๕๐๔||align = "center"|๔๐๐||สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก วัดบวรนิเวศวิหาร<br>เมื่อครั้งทรงสมณศักดิ์เป็นพระศาสนโสภณ ดำริชื่อถวาย<br> | ||
|- | |- | ||
|ทักษิณราชนิเวศน์||เขาตันหยงมัส<br>ตำบลกะลุวอเหนือ<br>อำเภอเมืองนราธิวาส<br>จังหวัดนราธิวาส||align = "center"|๒๕๑๕||align = "center"|๓๐๐||<nowiki>-</nowiki> | |ทักษิณราชนิเวศน์||เขาตันหยงมัส<br>ตำบลกะลุวอเหนือ<br>อำเภอเมืองนราธิวาส<br>จังหวัดนราธิวาส||align = "center"|๒๕๑๕||align = "center"|๓๐๐||<nowiki>-</nowiki> |
รุ่นแก้ไขเมื่อ 10:49, 29 กันยายน 2552
พระราชกรณียกิจในการเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฎร
๑. เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฎรสมดังพระราชปณิธาน
การประกอบพระราชกรณียกิจในการเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฎรนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเคยทรงไว้เมื่อครั้งทรงดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอและโดยเสด็จพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร สมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช ไปทรงเยี่ยมราษฎรทั้งในกรุงเทพฯ และจังหวัดใกล้เคียง ทำให้ทรงมีประสบการณ์และทรงเล็งเห็นปัญหาของสภาพบ้านเมืองและของพสกนิกรอย่างถ่องแท้
เดือนพฤษภาคม พุทธศักราช ๒๔๙๕ การเสด็จพระราชดำเนินแปรพระราชฐานไปประทับแรม ณ พระตำหนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวล จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ได้นำมาซึ่งเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ของการพระราชทานความช่วยเหลือแก่ประชาชนเป็นครั้งแรก และต่อเนื่องยาวนานมาตลอดระยะเวลา ๖๐ ปีแห่งการครองราชย์ เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชประสงค์เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฎรในบริเวณพื้นที่ใกล้เคียงกับที่ตั้งของวังไกลกังวล รถยนต์พระที่นั่งเกิดตกหล่มที่บ้านห้วยมงคล ตำบลหินเหล็กไฟ อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มีชาวบ้านมาช่วยยกรถที่ตกหล่มจำนวนมาก หลังจากนั้น พระองค์มีพระราชปฏิสันถารกับชาวบ้านและทรงพบว่าความทุกข์ยากของราษฎรในพื้นที่นี้ คือ ความทุรกันดารของเส้นทาง จนทำให้ไม่สามารถนำผลผลิตทางการเกษตรออกสู่ตลาดได้ทันเวลา ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผลผลิตทางการเกษตร หรือแม้แต่นำคนไข้ไปพบแพทย์ได้อย่างทันการ ทั้งที่หมู่บ้านห่างจากอำเภอหัวหินเพียง ๒๐ กิโลเมตรเท่านั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงได้พระราชทานพระมหากรุณาให้ดำเนินการสร้างถนนห้วยมงคลให้แก่ราษฎร ซึ่งนับเป็นถนนแห่งพระเมตตาสายแรกที่ช่วยแก้ปัญหาความทุกข์ยากให้แก่ราษฎรตั้งแต่นั้นมา และนำมาซึ่งโครงการก่อสร้างถนนอันเนื่องมาจากพระราชดำริอีกมากมายหลายสายที่พระราชทานแก่พสกนิกรทั่วประเทศ
๒. เสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรปัญหาของพสกนิกรทั่วประเทศ
ตลอดเส้นทางเสด็จพระราชดำเนินไปจังหวัดต่างๆ มีราษฎรมาคอยเฝ้ารับเสด็จเรียงรายสองข้างทางอย่างเนืองแน่น บางกลุ่มเดินทางรอนแรมมาจากพื้นที่ห่างไกลด้วยความยากลำบากเพราะการคมนาคมยังไม่สะดวก แม้จะอยู่ท่ามกลางแสงแดดจัดเพียงใดก็ตาม แต่ก็อดทนรอเพื่อจะได้เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทด้วยความจงรักภักดีอย่างเปี่ยมล้น ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้รถยนต์พระที่นั่งหยุดรับของที่ราษฎรทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายเป็นระยะๆ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผลผลิตทางการเกษตร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานเงินก้นถุงแก่ราษฎรเหล่านั้นและมีพระราชปฏิสันถารไต่ถามทุกข์สุขของราษฎร การเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมพสกนิกรอย่างใกล้ชิด ทำให้ทรงมีโอกาสศึกษาข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับสภาพภูมิประเทศ บ้านเมือง ความเป็นอยู่ และการดำรงชีพของประชาชน ตลอดจนศิลปวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณีได้อย่างลึกซึ้ง หลังเสด็จพระราชดำเนินกลับจากการเยือนต่างประเทศ ทรงนำความรู้และประสบการณ์ใหม่ๆ จากประเทศที่มีความเจริญก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเหล่านั้นมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมของประเทศไทย ทรงเริ่มต้นจากการศึกษาค้นคว้า และวิจัยเป็นการส่วนพระองค์ คือ โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา และขยายออกไปยังพื้นที่ที่เสด็จพระราชดำเนินไปบ่อยครั้ง เช่น อำเภอหัวหิน จังหวัด ประจวบคีรีขันธ์ และจังหวัดใกล้เคียง เช่น เพชรบุรีและราชบุรี เป็นต้น โดยมีพระตำหนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวลเป็นศูนย์กลาง
๓. พระตำหนักประจำภูมิภาคต่างๆ ที่เป็นฐานการทรงงานและเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฎรอย่างทั่วถึง
เมื่อเสด็จพระราชดำเนินไปถึงหมู่บ้านหรือพื้นที่เป้าหมายของแต่ละวัน จะมีพระราชปฏิสันถารกับราษฎรในพื้นที่ โดยเฉพาะผู้รอบรู้เกี่ยวกับพื้นที่ในบริเวณดังกล่าว รวมทั้งเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น หากทรงพบปัญหาเกี่ยวกับการดำรงชีพของราษฎร หรือในบางกรณีเมื่อราษฎรทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายฎีกาก็จะเสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรพื้นที่ที่มีปัญหาด้วยพระองค์เอง แล้วจึงพระราชทานแนวพระราชดำริแก้ไขปัญหาแก่เจ้าหน้าที่ฝ่ายพัฒนาและฝ่ายรักษาความมั่นคงที่โดยเสด็จด้วย สำหรับฎีกาที่ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย จะทรงรับกลับมาและโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้หน่วยราชการที่เกี่ยวข้องไปพิจารณาศึกษาตามแนวพระราชดำริก่อนดำเนินการช่วยเหลือตามความเหมาะสม
ในขบวนเสด็จพระราชดำเนินของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะประกอบด้วยคณะแพทย์หลวงและคณะแพทย์อาสาผู้ชำนาญการหลายสาขาที่โดยเสด็จไปด้วยทุกแห่ง เมื่อขบวนเสด็จพระราชดำเนินไปหยุดที่ใดคณะแพทย์เหล่านี้จะรักษาราษฎรผู้เจ็บป่วยตามความเหมาะสม สำหรับรายที่มีอาการหนัก จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้รับไว้เป็นคนไข้ในพระบรมราชานุเคราะห์
ภาพที่ประชาชนเห็นจนชินตาคือ พระอิริยาบถของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ประทับพับเพียบหรือประทับราบลงกับพื้นดินและมีพระราชปฏิสันถารกับราษฎรอย่างไม่ถือพระองค์ ในพระหัตถ์ข้างขวามีดินสอและพระหัตถ์ข้างซ้ายมีสมุดจดบันทึกหรือแผนที่ ปรากฏรอยแย้มพระโอษฐ์ทุกครั้งที่แวดล้อมด้วยราษฎร ไม่ว่าราษฎรผู้นั้นจะเข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทในลักษณะใด ความไม่ถือพระองค์ยังเห็นได้จากราษฎรในพื้นที่ห่างไกลเหล่านั้นไม่คุ้นเคยกับการใช้คำราชาศัพท์ก็ไม่ทรงถือเป็นเรื่องใหญ่
กล่าวกันว่า ช่วงพุทธศักราช ๒๕๑๒ - ๒๕๒๐ ระยะทางที่เสด็จพระราชดำเนินยาวไกลกว่าหนึ่งแสนกิโลเมตรและหลังจากนั้นยังเสด็จพระราชดำเนินติดต่อกันอีกเกือบ ๑๐ ปี บ้างจึงว่าไกลกว่าระยะทางจากโลกถึงดวงจันทร์ ทั้งนี้เพื่อบำบัดทุกข์บำรุงสุขแก่ทวยราษฎร์ แม้จะยังไม่มีการถวายพระราชสมัญญาอย่างเป็นทางการในการเดินทาง แต่อาจกล่าวได้ว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่เดินทางยาวไกลที่สุดพระองค์หนึ่งของโลก
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นพระเจ้าแผ่นดินอย่างแท้จริง กล่าวได้ว่าแผ่นดินในสยามประเทศนี้ ไม่มีจังหวัดใด หรืออำเภอใดที่ไม่เคยเสด็จพระราชดำเนินไปเยี่ยมเยียนอาณาประชาราษฎร์ ทรงปฏิบัติพระราชภารกิจด้วยพระราชหฤทัยเพื่อบำบัดทุกข์บำรุงสุขแก่พสกนิกร อันนำไปสู่ความเจริญก้าวหน้าของประเทศชาติสืบต่อไป
ตาราง ก พระตำหนักที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้สร้างขึ้น เพื่อเป็นที่ประทับในโอกาสที่เสด็จพระราชดำเนินแปรพระราชฐานไปประทับแรมเพื่อทรงงานและเยี่ยมเยียนราษฎร
พระตำหนัก |
ที่ตั้ง | สร้างขึ้นเมื่อ พุทธศักราช |
เนื้อที่ โดยประมาณ (ไร่) |
หมายเหตุ |
ภูพิงคราชนิเวศน์ | ดอยบวกห้า ตำบลสุเทพ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ |
๒๕๐๔ | ๔๐๐ | สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก วัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อครั้งทรงสมณศักดิ์เป็นพระศาสนโสภณ ดำริชื่อถวาย |
ทักษิณราชนิเวศน์ | เขาตันหยงมัส ตำบลกะลุวอเหนือ อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส |
๒๕๑๕ | ๓๐๐ | - |
ภูพานราชนิเวศน์ | เทือกเขาภูพาน อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร |
๒๕๑๘ | ๙๔๐ | ต่อมาได้ขยายเขตพื้นที่เพื่อ จัดทำโครงการฟื้นฟูสภาพป่า คืนชีวิตสู่ธรรมชาติอีกประมาณ ๑,๐๑๐ ไร่ รวมเป็นพื้นที่ ๑,๙๕๐ ไร่ |
ตาราง ข ระยะทางการเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฎรในพื้นที่ต่างๆ
ช่วงเวลาที่เสด็จพระราชดำเนินไปยังพื้นที่ต่างๆ (เดือน/พุทธศักราช) รวม |
ระยะทางที่เสด็จพระราชดำเนิน(กิโลเมตร) ๑๓๖,๒๓๗.๒ |
ตุลาคม ๒๕๑๒ - กันยายน ๒๕๑๓ ตุลาคม ๒๕๑๓ - กันยายน ๒๕๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๔ - กันยายน ๒๕๑๕ ตุลาคม ๒๕๑๗ - กันยายน ๒๕๑๘ ตุลาคม ๒๕๑๙ - กันยายน ๒๕๒๐ |
๑๕,๔๗๓.๐ ๒๐,๗๘๗.๗ ๒๗,๒๒๙.๗ ๓๐,๘๖๗.๑ ๔๑,๘๗๙.๗ |