ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ศ-เศรษฐกิจพอเพียง-ทางเลือกในการพัฒนา(2)"
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
บรรทัดที่ 78: | บรรทัดที่ 78: | ||
{{ดูเพิ่มเติม| [[ตัวอย่างความสำเร็จ]] / [[ทฤษฎีใหม่]] / [[ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อน]] | {{ดูเพิ่มเติม| [[ตัวอย่างความสำเร็จ]] / [[ทฤษฎีใหม่]] / [[ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อน|ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ]] / [[ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง|ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองอันเนื่องมาจากพระราชดำริ]] / [[ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน|ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ]] / [[ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพาน|ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ]] / [[ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้|ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้อันเนื่องมาจากพระราชดำริ]] / [[ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทราย|ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ]]}} | ||
รุ่นแก้ไขเมื่อ 05:10, 7 ตุลาคม 2552
"เศรษฐกิจพอเพียง: ทางเลือกในการพัฒนา (ต่อ)"
สิงหาคม 2547
เศรษฐกิจพอเพียงกับศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
เนื่องด้วยทรงตระหนักดีว่า ราษฎรในชนบทส่วนใหญ่ขาดความรู้ ขาดเครื่องมือหรือเทคโนโลยีในเรื่องการทำมาหากิน ประกอบกับภูมิภาคต่าง ๆ ของประเทศล้วนมาจากปัญหาเฉพาะที่แตกต่างกันไปตามสภาพทางภูมิศาสตร์ ดังนั้น การสร้าง “ตัวอย่างความสำเร็จ” ที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของปัจจัยทางกายภาพของแต่ละพื้นที่ จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งในอันที่จะส่งเสริมให้ราษฎรศึกษา และนำไปใช้เป็นแบบอย่างในการพัฒนาการเกษตรของตนเอง โดยการดำเนินงานของศูนย์ฯ เป็นการศึกษาสภาพปัญหาของแต่ละพื้นที่ ด้วยการจำลองสภาพโดยรวมทางกายภาพของภูมิภาค ดังที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระราชดำรัสเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งศูนย์ฯ ว่า
1. ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
2. ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
3. ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
4. ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
5. ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้อันเนื่องมาจากพระราชดำริ
6. ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
- ลักษณะสำคัญของศูนย์ศึกษาการพัฒนาฯ
1. “ตัวอย่างความสำเร็จ”
ในการจัดตั้งศูนย์ศึกษาการพัฒนาฯ จึงเป็นการดำเนินงานที่มุ่งศึกษา ทดลองหาแนวทางในการพัฒนาการเกษตรที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ ด้วยวิธีการที่เรียบง่าย และแสวงหาเทคโนโลยีที่เหมาะสม และประหยัด สำหรับผลการทดลองที่ประสบความสำเร็จ ก็จะกลายเป็น “ตัวอย่างแห่งความสำเร็จ” ที่เกษตรกรและประชาชนสามารถนำไปใช้ในการปฏิบัติให้เกิดประโยชน์ ส่วนผลการทดลองที่ไม่ประสบผลสำเร็จก็จะเป็นประโยชน์ ในแง่ที่เป็นข้อพึงระวังสำหรับการนำไปใช้ในการปฏิบัติ หรือปรับเปลี่ยนไปสู่แนวทางอื่นที่เหมาะสมต่อไป ตามที่ได้มีพระราชดำรัสตอนหนึ่งว่า
2. “พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติที่มีชีวิต”
3. “ระบบบริการเบ็ดเสร็จที่จุดเดียว”
4. “รูปแบบใหม่ของการบริหารจัดการ”
สรุป
ดังนั้น การปรับทิศทางและโครงสร้างทางเศรษฐกิจและสังคมของไทยที่เป็นอยู่เพียงให้มีเป็นเศษหนึ่งส่วนสี่หรือใกล้เคียง จึงเป็นเรื่องใหญ่โต มีความสลับซับซ้อนและผูกพันธ์กับการตัดสินใจไม่เฉพาะแต่ภาครัฐทั้งระบบ แต่ขยายไปถึงองค์กรเอกชนซึ่งเกือบทั้งหมดได้เข้าไปอยู่ในเศรษฐกิจที่เกินพอ เกินตัวมาโดยตลอด การที่จะให้เกิดความสมดุล โดยดำเนินอยู่ในทางสายกลางทั้งในภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจ โดยให้สอดคล้องไปทุกขั้นตอนของศักยภาพที่มีการผลิต ทั้งระบบเศรษฐกิจจึงต้องอาศัยเวลาและความเพียร ดังที่มีกระแสพระราชดำริข้างต้น
อย่างไรก็ดี นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงขยายความในส่วนเศรษฐกิจพอเพียงในรูปของทฤษฎีใหม่ และเศรษฐกิจพอเพียงแบบก้าวหน้า ได้ทำให้สังคมไทยมีหลักยึดให้เกิดการบริหารจัดการที่ดี (good governance) รวมถึงการวิเคราะห์ในทางเศรษฐศาสตร์ในระดับการผลิตและการจัดเครื่องมือป้องกันความเสี่ยงทางเศรษฐกิจครบวงจร (optimization through proper risk management) ได้ต่อไปในอนาคต
ในการนำเศรษฐกิจพอเพียงไปปฏิบัติในรูปของการเกษตรทฤษฎีใหม่ ดังที่ปรากฏผลสำเร็จในศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริทั้งหกศูนย์ ทฤษฎีใหม่จึงเป็นแนวปฏิบัติทางเกษตรกรรมที่ต้องปรับตามความเหมาะสมของพื้นที่และต้องอาศัยการบริหารจัดการทั้งในภาครัฐ และองค์กรพัฒนาต่างๆ ในการเสริมสร้างให้เกิดการขยายโครงข่ายของชุมชน นับจากต้นแบบโครงการนำร่องในการพัฒนาของวัดมงคลชัยพัฒนา และโครงการขุดสระเก็บกักน้ำ อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์ ซึ่งมีการสาธิตทฤษฎีใหม่ของบ้านแดนสามัคคี
ประการที่สำคัญ โครงการเกษตรทฤษฎีใหม่นี้ได้บรรจุเป็นแผนงานพัฒนาการเกษตรแบบยั่งยืนของชาติ ซึ่งอยู่ภายใต้การดูแลของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยมุ่งสร้างศูนย์สาธิตการเกษตรทฤษฎีใหม่มากถึง 8,000 ศูนย์ และยังได้รับการสนับสนุนจากสำนักนายกรัฐมนตรีภายใต้โครงการรวมน้ำ + ใจ ถวายในหลวงอีกด้วย ส่วนทางสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.) ยังได้สนับสนุนการประกวดคัดเลือกแปลงเกษตรทฤษฎีใหม่ดีเด่นเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษาหกรอบ ซึ่งที่ได้ประกาศผลไปแล้ว อาจกล่าวได้ว่าแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง และทฤษฎีใหม่ ถือได้ว่าเป็นเสมือน “National Agenda” ที่สำคัญยิ่งของชาติ ซึ่งควรจัดทำและยึดถือเป็นแนวปฏิบัติได้ตลอดไป