ทศวรรษที่5

จาก WIKI84


ทศวรรษที่๑
(พ.ศ.๒๔๗๐ - ๒๔๗๙)

ทศวรรษที่ ๒
(พ.ศ.๒๔๘๐ - ๒๔๘๙)

ทศวรรษที่ ๓
(พ.ศ.๒๔๙๐ - ๒๔๙๙)

ทศวรรษที่ ๔
(พ.ศ.๒๕๐๐ - ๒๕๐๙)

ทศวรรษที่ ๕
(พ.ศ.๒๕๑๐ - ๒๕๑๙)

ทศวรรษที่ ๖
(พ.ศ.๒๕๒๐ - ๒๕๒๙)

ทศวรรษที่ ๗
(พ.ศ.๒๕๓๐ - ๒๕๓๙)

ทศวรรษที่ ๘
(พ.ศ.๒๕๔๐ - ๒๕๕๐)

ทศวรรษที่ ๕ กษัตริย์ผู้ทรงงานหนักในการสร้างรากฐานการพัฒนา "คน" (พ.ศ. ๒๕๑๐ - ๒๕๑๙)

...การปิดทองหลังพระนั้น เมื่อถึงคราวจำเป็นก็ต้องปิด
ว่าที่จริงแล้วคนโดยมากไม่ค่อยชอบปิดทองหลังพระกันนัก เพราะนึกว่าไม่มีใครเห็น
แต่ถ้าทุกคนพากันปิดทองแต่ข้างหน้า ไม่มีใครปิดทองหลังพระเลย พระจะเป็นพระที่งามบริบูรณ์ไม่ได้...

พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่นิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เมื่อวันที่ ๒๕ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๐๖


พระมหากษัตริย์ "นักกีฬา"
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นตัวแทน
ประเทศไทย ลงแข่งขันเรือใบในกีฬาแหลมทองครั้งที่ ๔
ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ พระองค์ทรงชนะเลิศเหรียญ
ทองการแข่งขันเรือใบประเภทโอเค
สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทูลเกล้าฯ
ถวายเหรียญทอง แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และ
สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าอุบลรัตนราชกัญญา ในการแข่ง
เรือใบ ประเภทเรือโอเค เมื่อวันที่ ๑๖ ธันวาคม ๒๕๑๐
ณ สนามกีฬาแห่งชาติ

จุดกำเนิดโรงเรียนร่มเกล้า
เมื่อเดือนมีนาคม ๒๕๑๕ ได้เสด็จฯ ไปทรงเยี่ยม
หน่วยทหารที่ปฏิบัติการอยู่ ณ ภูพานน้อย อำเภอนาแก
จังหวัดนครพนม และมีพระราชประสงค์จะให้หน่วยทหาร
กองทัพภาคที่ ๒ ได้มีโอกาสช่วยเหลือประชาชนในด้านการ
ศึกษาตามโอกาสอันควร โดยเป็นผู้ก่อสร้างโรงเรียนขึ้น
โดยที่พระองค์จะทรงสนับสนุนวัสดุในการก่อสร้างให้เป็น
บางส่วนซึ่งเป็น "จุดกำเนิดของโรงเรียนร่มเกล้า"
ทรงริเริ่มโรงเรียนร่มเกล้าแห่งแรกที่บ้านหนอง
แคน ตำบลดงหลวง จังหวัดนครพนม ซึ่งเป็นพื้นที่สีแดง
เข้มที่มีผู้มีอุดมการณ์ทางการเมืองที่แตกต่างกับรัฐบาลมา
รวมกลุ่มกันในขณะนั้น (เป็นทางผ่านของผู้ก่อการร้าย
คอมมิวนิสต์ใช้ขึ้นลงจากเทือกเขาภูพาน)
โดยได้พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพรองค์ ก่อสร้าง
อาคารเรียนถาวรหลังแรก


ข้อมูลจาก หนังสือ ประมวลภาพการทรงงาน "๘๐ พรรษา ปวงประชาเป็นสุขศานต์"

จัดทำโดยสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ