ทศวรรษที่8

จาก WIKI84


ทศวรรษที่๑
(พ.ศ.๒๔๗๐ - ๒๔๗๙)

ทศวรรษที่ ๒
(พ.ศ.๒๔๘๐ - ๒๔๘๙)

ทศวรรษที่ ๓
(พ.ศ.๒๔๙๐ - ๒๔๙๙)

ทศวรรษที่ ๔
(พ.ศ.๒๕๐๐ - ๒๕๐๙)

ทศวรรษที่ ๕
(พ.ศ.๒๕๑๐ - ๒๕๑๙)

ทศวรรษที่ ๖
(พ.ศ.๒๕๒๐ - ๒๕๒๙)

ทศวรรษที่ ๗
(พ.ศ.๒๕๓๐ - ๒๕๓๙)

ทศวรรษที่ ๘
(พ.ศ.๒๕๔๐ - ๒๕๕๐)

ทศวรรษที่ ๘ ๘๐ พรรษา ปวงประชาเป็นสุขศานต์ (พ.ศ. ๒๕๔๐ - ๒๕๕๐)


...คนเราถ้าพอใจในความต้องการ ก็มีความโลภน้อย เมื่อมีความโลภน้อยก็เบียดเบียนคนอื่นน้อย
ถ้าทุกประเทศมีความคิด อันนี้ไม่ใช่เศรษฐกิจ มีความคิดว่าทำอะไรต้องพอเพียง
หมายความว่า พอประมาณไม่สุดโต่ง ไม่โลภอย่างมาก คนเราก็อยู่เป็นสุข...


พระราชดำรัสพระราชทานแก่คณะบุคคลต่าง ๆ ที่เข้าเฝ้าฯ เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา
เมื่อวันที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๑๘ ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา

เศรษฐกิจพอเพียง : ปรัชญาเพื่อการดำรงชีพของชาวไทย

...ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็น ที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควรต่อการมีผลกระทบใดๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน ทั้งจะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบและความระมัดระวังอย่างยิ่ง ในการนำวิชาต่างๆ มาใช้ในการ วางแผนและการดำเนินการทุกขั้นตอน และขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎีและนักธุรกิจในทุกระดับให้มีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต และให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติและความรอบคอบ เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวางทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี

...ถ้าสามารถที่จะเปลี่ยนไป ทำให้กลับเป็นเศรษฐกิจพอเพียง ไม่ต้องทั้งหมดแม้แต่ครึ่งก็ไม่ต้อง อาจจะสักเศษหนึ่งส่วนสี่ ก็สามารถอยู่ได้ การแก้ไข อาจต้องใช้เวลา ไม่ใช่ง่ายๆ โดยมากคนก็ใจร้อนเพราะเดือดร้อน แต่ถ้าทำตั้งแต่เดี๋ยวนี้ก็สามารถที่จะแก้ไขได้...


พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา พระราชวังดุสิตเมื่อวันที่ ๔ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๔๐

เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ : เพื่อบรรเทาอุทกภัยและภัยแล้ง

"...ที่ว่า ๕-๖ ปีนี้ ความจริงได้เริ่มโครงการนี้มากกว่า ๕-๖ ปี โครงการที่คิดจะทำนี้ บอกได้ ไม่กล้าพูดมาหลายปีแล้วเพราะเดี๋ยวจะมีการคัดค้านจากผู้เชี่ยวชาญ จากผู้ที่ต่อต้านการทำโครงการ แต่โครงการนี้เป็นโครงการที่อยู่ในวิสัยที่จะทำได้ แม้จะต้องเสียค่าใช้จ่ายไม่ใช่น้อย แต่ถ้าดำเนินไปเดี๋ยวนี้อีก ๕-๖ ปีข้างหน้าเราก็สบาย แต่ถ้าไม่ทำในอีก๕-๖ ปีข้างหน้าราคาค่าสร้าง ค่าดำเนินการก็จะขึ้นไป ๒ เท่า ๓ เท่า ลงท้ายก็จะต้องประวิงต่อไป และเมื่อประวิงต่อไปไม่ได้ทำ เราก็ต้องอดน้ำแน่ จะกลายเป็นทะเลทราย แล้วเราก็จะอพยพไปที่ไหนไม่ได้ โครงการนี้คือสร้างอ่างเก็บน้ำ ๒ แห่ง แห่งหนึ่งคือ แม่น้ำป่าสัก อีกแห่งคือแม่น้ำนครนายก สองแห่งรวมกันจะเก็บกักน้ำเหมาะพอเพียงสำหรับการบริโภค การใช้ในเขตกรุงเทพฯ และเขตใกล้เคียงที่ราบลุ่มของประเทศไทยนี้..."

พระราชดำริในการศึกษาความเหมาะสม
โครงการเขื่อนป่าสัก พระราชทานแก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เมื่อวันที่ ๑๘ มิถุนายนพ.ศ.๒๕๓๗

ข้าว อาหารหลักของคนไทย
"...ข้าวซ้อมมือหรือข้าวกล้อง เรากินทุกวัน เพราะว่ามีประโยชน์ ร่างกายแข็งแรง ข้าวขาวเอาของดีออกไปหมด ข้าวกล้องนี่ดี คนบอกว่าเป็นของคนจน เราก็เป็นคนจน..."
พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานในโอกาสเสด็จฯ ไปทรงเกี่ยวข้าวในพื้นที่โครงการพัฒนาส่วนพระองค์ตำบลบางแตน อำเภอบ้านสร้าง จังหวัดปราจีนบุรีเมื่อวันที่ ๑๕ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๔๒


ข้อมูลจาก หนังสือ ประมวลภาพการทรงงาน "๘๐ พรรษา ปวงประชาเป็นสุขศานต์"

จัดทำโดยสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ