ผลต่างระหว่างรุ่นของ "03.ความเป็นมา-หญ้าแฝกดอยตุง"

จาก WIKI84
(สร้างหน้าใหม่: {{สารบัญหญ้าแฝกดอยตุง}} '''ความเป็นมาของการปลูกหญ้าแฝกในพ...)
 
ไม่มีความย่อการแก้ไข
 
(ไม่แสดง 3 รุ่นระหว่างกลางโดยผู้ใช้คนเดียวกัน)
บรรทัดที่ 25: บรรทัดที่ 25:
</div>
</div>


<gallery>
Image:หญ้าแฝก-01.jpg|บริเวณขอบถนนด้านดินถมและดินตัด กม.18 ทางหลวงสายสันกอง-พระธาตุดอยตุง ในภาพแสดงว่า หญ้าแฝกอายุประมาณ 14 เดือน ที่ปลูกไว้ในดินที่มีหินปะปน รากหญ้แฝกสามารถแทรกผ่านมวลดินลูกรังที่อัดแน่นและรอยร้าวในก้อนหินเกาะตัวแน่นบนผิวดินที่ติดอยู่เป็นชั้นบางๆ บนก้อนหิน
Image:หญ้าแฝก-02.jpg|แสดงการปลูกพืชระหว่างแถวหญ้าแฝกบนพื้นที่ลาดชัน แถวหญ้าแฝกที่ปลูกกำกับแปลงพืช ช่วยเก็บความชื้นและอาหารพืช ทำให้พืชทุกชนิดเจริญงอกงามมีใบเขียวสด
Image:หญ้าแฝก-03.jpg|(บน) แสดงการปลูกหญ้าแฝกเป็นแถวขวางทางน้ำไหล ทำให้ตะกอนดินที่ไหลมากับน้ำทับถมอยู่บริเวณด้านหน้าของแถวหญ้าแฝก<br />(ล่าง)แสดงการปลูกหญ้าแฝกตามแนวขอบรางระบายน้ำเพื่อป้องกันดินไหลลงในราง
Image:หญ้าแฝก-04.jpg|แสดงการปลูกหญ้าแฝกล้อมขอบสระน้ำเพื่อป้องกันตลิ่งพัง และกันตะกอนดินไหลลงสระ
Image:หญ้าแฝก-05.jpg|แสดงการปลูกหญ้าแฝกล้อมต้นไม้ เพื่อกักเก็บความชื้นและธาตุอาหาร สำหรับต้นไม้ที่ถูกแถวแฝกล้อม
Image:หญ้าแฝก-06.jpg|แสดงการใช้หญ้าแฝกเย็บเป็นไพแฝกเพื่อนำไปมุงหลังคา
Image:หญ้าแฝก-07.jpg|ขอบถนนด้านดินตัดและดินถมบริเวณ กม.18 ทางหลวงสายบ้านสันกอง-พระธาตุดอยตุงพังทลาย
Image:หญ้าแฝก-08.jpg|ขอบถนนด้านดินตัดบริเวณ กม.13 ทางหลวงสายบ้านสันกอง-พระธาตุดอยตุง ก่อนการฉีดพ่นด้วยซีเมนต์
Image:หญ้าแฝก-09.jpg|การใช้ซีเมนต์ฉีดพ่นลงบนลวดตาข่ายที่ดาดผิวดินตัดบริเวณ กม.13 ทางหลวงสายบ้านสันกอง-พระธาตุดอยตุง สามารถป้องกันการพังทลายของดินได้ แต่ทำให้ดูไม่เป็นธรรมชาติและค่าใช้จ่ายสูง
Image:หญ้าแฝก-10.jpg|สามารถป้องกันการพังทลายของดินได้ แต่ทำให้ดูไม่เป็นธรรมชาติและค่าใช้จ่ายสูง
Image:หญ้าแฝก-11.jpg|การฉีดเมล็ดพืชผสมกาวธรรมชาติ ปุ๋ยและเยื่อกระดาษลงบนขอบถนนด้านดินถมบริเวณทางขึ้นพระธาตุดอยตุง เส้นที่ยกเลิกเนื่องจากถูกน้ำชะล้างทำให้ตะกอนดินไหลลงสู่ฝายที่ 1 และ 2
Image:หญ้าแฝก-12.jpg|สามารถป้องกันการพังทลายของดินได้ระดับหนึ่ง แม้ดูเป็นธรรมชาติ แต่ก็กินเวลานานและมีค่าใช้จ่ายสูง
Image:หญ้าแฝก-13.jpg|บริเวณ กม.16 ทางหลวงสายบ้านสันกอง-พระธาตุดอยตุง แสดงวิธีป้องกันดินขอบถนนด้านดินถมพังทลาย โดยใช้กระสอบบรรจุทราย (4 ส่วน) และดิน (1 ส่วน) ทำเป็นกำแพงดิน
Image:หญ้าแฝก-14.jpg|ส่วนที่เป็นดินอยู๋ด้านนอกปลูกพืชคลุม สามารถกันดินพังทลายได้ แลดูสวยงามเป็นธรรมชาติ แต่ค่าใช้จ่ายสูงมาก
</gallery>


----
----


[[หมวดหมู่:โครงการพัฒนาหญ้าแฝก(ดอยตุง)]]
[[หมวดหมู่:โครงการพัฒนาหญ้าแฝก(ดอยตุง)|13]]

รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 08:02, 3 กันยายน 2551

สารบัญ

ความเป็นมาของการปลูกหญ้าแฝกในพื้นที่โรงการฯ

ในเดือนมกราคม พ.ศ.2535 ในช่วงเวลาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินมาเฝ้าฯ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ณ วังสระปทุม โดยสม่ำเสมอนั้น ได้ทรงทราบปัญหาการพังทลายของดินบริเวณที่มีการตัดถนนสายใหม่จากบ้านสันกองขึ้นไปยังพระธาตุดอยตุง วันหนึ่งพระองค์ได้ทรงนำแผ่นพับเกี่ยวกับเรื่องหญ้าแฝกมาถวาย สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีทอดพระเนตร และทรงมีพระราชดำรัสถึงคุณสมบัติพิเศษของหญ้าแฝกในการป้องกันการชะล้างพังทลายตลอดจนการเสื่อมสลายของผิวดิน อันเนื่องมาจากฝนตกชะล้าง และจากสาเหตุอื่นๆ

ค่ำวันต่อมา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินมาเฝ้าฯ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีอีกครั้งหนึ่ง ครั้งนี้ได้ทรงน้ำหนังสือเกี่ยวกับเรื่องหญ้าแฝกมาถวายเพิ่มเติม เมื่อสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีได้ทอดพระเนตรหนังสือต่างๆ เหล่านั้น ประกอบพระบรมราชาธิบายแล้วจึงทรงมีพระราชดำริ ที่จะนำหญ้าแฝกมาทดลองแก้ไขปัญหาการชะล้างพังทลายของดินในโครงการพัฒนาดอยตุง

การที่สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีได้ทรงมีพระราชดำริให้ทดลองปลูกหญ้าแฝก ทั้งนี้เพราะหญ้าแฝกมีรากที่แข็งแรงยาวและหยั่งลึก แผ่นกระจายเป็นลักษณะตาข่ายลงในพื้นดิน สามารถยึดเกาะดินไม่ให้เลื่อนไหล นอกจากนี้เมื่อน้ำไหลผ่านจากที่สูงลงต่ำ โดยไม่จำกัดความลาดเทของพื้นดิน ลำต้นหรือกอของหญ้าแฝกจะกรองตะกอนดินที่น้ำกัดเซาะพามา และลดอัตราเร็วของการไหล ทำให้น้ำซึมลงสู่พื้นดินได้ดีขึ้น และยังแก้ปัญหาการสูญเสียหน้าดินเนื่องจากการกัดเซาะของน้ำด้วย

สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีได้มีพระราชกระแสรับสั่งกับหม่อมราชวงศ์ดิศนัดดา ดิศกุล ราชเลขานุการในพระองค์ฯ ให้พิจารณาดำเนินการปลูกหญ้าแฝกตามที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานแนวทางดำเนินการ คือ พิจารณาลักษณะแตกต่างกันของพันธุ์หญ้าแฝก ลักษณะภูมิประเทศที่จะปลูก พร้อมทั้งศึกษาทดลองและจัดเก็บข้อมูลให้ทราบถึงการเจริญเติบโตของหญ้าแฝกแต่ละพันธุ์ ตลอดไปถึงการศึกษาความสามารถ ในการป้องกันการชะล้างพังทลายของดิน การรักษาความชุ่มชื้นในดิน ซึ่งหากดำเนินการได้ผลดี จะเป็นแหล่งที่ให้ความรู้ให้การศึกษากับโครงการพัฒนาอื่นๆ และนานาประเทศได้

ราชเลขานุการในพระองค์ฯ ได้นำพระราชดำริ มาจัดตั้งเป็นโครงการศึกษาพัฒนาหญ้าแฝกในโครงการพัฒนาดอยตุงทันที มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงและหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง อาทิ กรมทางหลวง กรมวิชาการเกษตร กรมป่าไม้ กรมส่งเสริมการเกษตร กรมชลประทาน กรมพัฒนาที่ดินและประชาชนในพื้นที่ได้ร่วมกันดำเนินการสนองพระราชดำริในการแก้ปัญหาเรื่องดินพังทลาย โดยมีแผนงานในขั้นต้นดังนี้

  1. ปลูกหญ้าแฝกเพื่อป้องกันการเลื่อนไหลและพังทลายของดิน และกรองตะกอนดินที่ไหลมากับน้ำในบริเวณที่มีปัญหา เช่น บริเวณการสร้างทาง ทั้งด้านดินตัดและดินถม และบริเวณรอบอ่างกักเก็บน้ำที่มีทั้งการตัดและถมดิน เพื่อกันตะกอนดินไหลลงอ่าง
  2. ปลูกหญ้าแฝกกำกับพื้นที่เพาะปลูกพืชบนที่ลาดชัน เพื่อป้องกันการเลื่อนไหลสูญเสียของดินผิวหน้า และเพื่อให้ดินดูดซับน้ำได้ดีขึ้น อันเป็นผลดีต่อพืชที่ปลูก
  3. ปลูกหญ้าแฝกบริเวณริมรางและท่อระบายน้ำ เพื่อกันการพังทลายและกันดินไหลลงในรางและท่อระบายน้ำ
  4. ปลูกหญ้าแฝกล้อมรอบพืชยืนต้นอายุยืน เพื่อรักษาน้ำและสารอาหารไว้สำหรับพืชนั้นๆ โดยเฉพาะเมื่อปลูกอยู่ในพื้นที่ที่มีความลาดชันมาก
โครงการพัฒนาดอยตุงระยะที่ 1 (พ.ศ.2531-2535) เน้นหนักในโครงสร้างพื้นฐานอันเป็นสาธารณูปโภคที่สำคัญได้แก่ การสร้างทาง การจัดหาน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค และการเดินสายไฟให้ทั่งถึงทุกกลุ่มบ้าน พร้อมไปกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ ได้แก่ การศึกษา การสุขอนามัย และการเรียนรู้ภาษาไทยเป็นต้น การสร้างทางเป็นงานเร่งด่วนที่สุดเพื่อเปิดทางให้กับงานพัฒนาอื่นๆ ของโครงการฯ

การก่อสร้างทางในระยะนั้นเป็นงานดินตัดทั้งหมด โดยตัดไหล่เขาให้ส่วนที่เป็นถนนอยู่บนดินเดิมทั้งหมด แล้วดันดินส่วนที่ตัดออกทิ้งลงข้างทางโดยไม่ให้อัดดินไหล่ทาง ทำให้ไหล่ทางเป็นดินหลวมง่ายต่อการกัดเซาะของน้ำ เมื่อฝนตกดินจึงพังทลายลงสู่พื้นที่ตอนล่าง ไหล่ทางด้านดินตัด (Back slope) เองก็ถูกน้ำกัดเซาะพังทลายลงทับถนน และไหลข้ามตกลงมาทางด้านดินถม (Side slope)

กรมทางหลวงได้ดำเนินการแก้ไขโดยใช้ลวดตาข่ายดาดพร้อมกับทำท่อระบายน้ำบริเวณด้านดินตัดที่เกิดปัญหา แล้วฉีดพ่นซีเมนต์ลงบนตาข่าย สามารถหยุดยั้งการพังทลายของดินได้ระดับหนึ่ง แต่ก็ทำให้ทิวทัศน์บริเวณนั้นขาดความสวยงามตามธรรมชาติ แม้จะได้ปลูกพืชคลุมเพื่อให้ดูเป็นธรรมชาติ ก็ยังไม่สามารถบังกำแพงดินได้ทั้งหมด และวิธีนี้มีค่าใช้จ่ายสูงมาก ต่อมาได้มีการทดลองใช้วิธีฉีดเมล็ดพืชผสมกับปุ๋ยเยื่อกระดาษ และกาวธรรมชาติบนผิวดินและดินถม (Hydroseeding) เพื่อให้มีพืชชนิดต่างๆ เจริญปกคลุมทำให้บริเวณนั้นดูเป็นธรรมชาติมากกว่าและเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่า อย่างไรก็ตามวิธีการดังกล่าวคงแก้ปัญหาได้บางส่วนเท่านั้น นอกจากนั้นกรมทางหลวงได้ทดลองใช้ถุงทรายทำเป็นกำแพงดินขอบถนนด้านดินถม พร้อมกับปลูกพืชคลุมบริเวณด้านนอกถุงทราย เพื่อให้มีใบพืชที่เขียวปกคลุมซ่อนถุงทรายอยู่ด้านใน การสร้างกำแพงกันดินด้วยวิธีนี้ได้ผลดีแต่ค่าใช้จ่ายสูงมาก สูงกว่าการใช้ซีเมนต์ฉีดพ่นหลายเท่าตัวยังไม่เหมาะที่จะนำมาใช้