09.การปลูกหญ้าแฝกเพื่อการอนุรักษ์-หญ้าแฝกดอยตุง

จาก WIKI84
สารบัญ


การปลูกหญ้าแฝกเพื่ออนุรักษ์ดินและน้ำในพื้นที่โครงการพัฒนาดอยตุง (พื้นที่ทรงงาน) อันเนื่องมาจากพระราชดำริ

จากพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี โครงการได้นำกล้าหญ้าแฝกจากแหล่งต่างๆ ที่ได้รับมาไปปลูกบริเวณ 2 ฟาก (ด้านดินตัดและดินถม) ถนนสายสันกอง-พระธาตุดอยตุง (สายใหม่) สายห้วยไคร้-พระธาตุดอยตุง (สายเก่า) ถนนสายบ้านผ่าบือ-บ้านป่าซางนาเงิน โดยเฉพาะบริเวณที่มีการขยายถนน บริเวณริมทางหลวงที่ผ่านพระตำหนัก อาคารประกอบ และบ้านรับรอง และถนนภายในขึ้นพระตำหนัก ถนนภายในเข้าแปลงเพาะชำของสวนแม่ฟ้าหลวง ถนนภายในเข้าบ้านรับรอง นอกจากนั้นยังได้นำหญ้าแฝกไปปลูกบริเวณรอบๆ อ่างเก็บน้ำแม่เปิน (ความจุ 450,000 ลบ.ม.) ซึ่งสร้างเสร็จเมื่อต้นปี พ.ศ.2536 เพื่อยึดบริเวณรอบๆ อ่างมิให้เลื่อนไหลลงอ่าง และยึดดินที่ตัวเขื่อนไม่ให้เลื่อนไหลเมื่อถูกน้ำฝนซะ

นับแต่วันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ.2535 ซึ่งเป็นวันเริ่มแรกที่มีการนำหญ้าแฝกจากแปลงขยายพันธุ์ตำบลห้วยไคร้ไปปลูกที่ กม.8 ของทางขึ้นพระธาตุดอยตุงสายใหม่ จนถึงปัจจุบันได้มีการปลูกหญ้าแฝกในพื้นที่ปัญหาอีกหลายแห่ง โดยใช้ระยะปลูกระหว่างต้นในแถว 10 ซม. ระยะระหว่างแถว ในแนวดิ่ง 1 หรือ 2 เมตร ส่วนจำนวนแถวขึ้นอยู่กับความลาดชันของดินตัดและดินถม นอกจากนั้นกรมวิชาการเกษตร กรมพัฒนาที่ดิน กรมส่งเสริมการเกษตร กรมป่าไม้ ศูนย์บำบัดและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้เสพติด บริษัททนาวุติ จำกัด และชาวบ้าน ยังได้ร่วมในกิจกรรมปลูกหญ้าแฝก สำหรับพื้นที่ระยะเวลาจำนวนและระยะทาง ที่มีการปลูกแฝกปรากฏอยู่ในตาราง

หญ้าแฝกที่ปลูกส่วนใหญ่เจริญงอกงามดี โดยเฉพาะพวกที่มีการให้น้ำเป็นครั้งคราว หรือที่ปลูกในช่วงมีฝน พวกที่การเจริญเติบโตชะงักงันมักเป็นพวกที่ปลูกไว้ตาม Back Slope สูงๆ หรือ Side Slope ที่มีความลาดชันมาก ทำให้ต้นกล้าหญ้าแฝกไม่ได้รับการรดน้ำเพียงพอในระยะหลังปลูกใหม่ๆ นอกจากนั้นดินบริเวณที่ปลูกยังเป็นดินเลวและมีหินปะปนอยู่มาก หญ้าแฝกที่ปลูกในบริเวณที่มีหญ้าคา ตองก๋งหรือวัชพืชอื่นขึ้นอยู่หนาแน่น หรือใต้ร่มเงาไม้ ไม่ไคร่เจริญเติบโตเนื่องจากถูกบังแสง สำหรับหญ้าแฝกที่ปลูกไว้ในบริเวณที่เป็นทางไหลของน้ำ น้ำจะชะหญ้าแฝกบางกอให้ไหลออกนอกแนว แต่ก็ไม่ถูกชะจนหลุดออกเพราะรากหญ้าแฝกซึ่งยาวมากเกาะดินไว้


การขยายพันธุ์หญ้าแฝกในโครงการ (ก.พ. 35 - 30 มิ.ย. 36)

วิธีขยายพันธุ์ สถานที่ขยายพันธุ์ ถุง (=4 ต้น) ต้น
1. ชำต้นในถุงบรรจุดิน (การแตกกอเกิดขึ้นประมาณเดือนละ 2 เท่า 1. ศูนย์ศึกษาพัฒนาหญ้าแฝก บ้านเชิงดอย ตำบลห้วยไคร้

2. ศูนย์บำบัดและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้เสพติด บ้านผาหมี

3. ปางป่าไม้ 7 ปาง (ปาง 1,2,3,7,8,9,10)

4. กรมวิชาการเกษตร (อ่างป่ากล้วย)

5. กรมพัฒนาที่ดิน (ศูนย์พัฒนาที่ดินเชียงราย)

6. กรมส่งเสริมการเกษตร (อ่างห้วยไร่)
3,192,000

207,000

523,000

200,000

350,000

200,000
12,768,000

828,000

2,092,000

800,000

1,400,000

800,000
  รวม    
2. ปักดำต้นลงแปลง (การแตกกอเกิดขึ้น 2 เท่า ทุก 2 เดือน) 1. ศูนย์ศึกษาพัฒนาหญ้าแฝก
2. ปางป่าไม้ 7 ปาง
5 ไร่
15 ไร่

ไร่ = 500,000 ต้น
500,000
1,500,000
  รวม 20 2,000,000
  รวมทั้งสิ้น   20,688,000