ผลต่างระหว่างรุ่นของ "หน้าหลัก"
จาก WIKI84
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
บรรทัดที่ 7: | บรรทัดที่ 7: | ||
| valign="top"|{{พระราชกรณียกิจ2}} | | valign="top"|{{พระราชกรณียกิจ2}} | ||
| width="10" | | | width="10" | | ||
| valign="top" |{{พระราชพิธีตามเดือน2}}<br />{{ | | valign="top" |{{พระราชพิธีตามเดือน2}}<br />{{แนวพระราชดำริ}} | ||
|} | |} | ||
รุ่นแก้ไขเมื่อ 10:21, 14 พฤศจิกายน 2551
พระราชประวัติ |
---|
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชสมภพ ณ โรงพยาบาลเมาท์ออเบอร์น (Mount Auburn) เมืองเคมบริดจ์ (Cambridge) รัฐแมสซาชูเซตส์ (Massachusetts) สหรัฐอเมริกา เมื่อวันจันทร์ เดือนอ้าย ขึ้น ๑๒ ค่ำ ปีเถาะ นพศก จุลศักราช ๑๒๘๙ ตรงกับวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๔๗๐ ทรงเป็นพระโอรสองค์ที่ ๓ ในสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก และสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี มีพระนามเดิมว่า พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภูมิพลอดุลเดช
พระเชษฐภคินีและสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช คือ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ประสูติเมื่อวันอาทิตย์ที่ ๖ พฤษภาคม ๒๔๖๖ ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ และพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันอาทิตย์ที่ ๒๐ กันยายน ๒๔๖๘ ณ เมืองไฮเดลเบอร์ก ประเทศเยอรมนี
อ่านต่อ... |
|
|
โครงการพระราชดำริ |
---|
ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ : ความหมายและแนวพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ด้วยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงมุ่งหวังจะพัฒนาประชาชนในชนบทให้สามารถมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นในระดับ “พออยู่ พอกิน” เสียก่อน จากนั้นก็จะเพิ่มระดับการพึ่งตนเองได้เป็นลำดับ
แนวพระราชดำริเพื่อจัดตั้งศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริทั้งหลายนี้อาจกล่าวได้ว่าเพื่อสนองพระราโชบายในการเสริมสร้างการเรียนรู้แก่ประชาชนในชนบท เพื่อจักได้พึ่งตนเองได้โดยแท้ กล่าวคือ
1.1 ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับพระราชประสงค์ในการจัดตั้งนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชาธิบายว่า “ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ” มีลักษณะดังนี้
“...เป็นศูนย์ หรือเป็นที่แห่งหนึ่งที่รวมการศึกษาเพื่อดูว่า ทำอย่างไร จะพัฒนาได้ผล...”
นอกจากนี้ได้พระราชทานพระราชดำรัสเพิ่มเติมว่า “...ศูนย์ศึกษานี้เป็นคล้ายๆ พิพิธภัณฑ์ใหญ่ที่มีชีวิตที่ใครๆ จะมาดูว่าทำอะไรกัน...”
“...ลิงโดยทั่วไป ถ้าเราส่งกล้วยให้ ลิงก็จะรีบปลอกเปลือกแล้วเอา เข้าปากเคี้ยวๆ แล้วเอาไปเก็บที่แก้ม จะกินกล้วยเข้าไปไว้ที่กระพุ้ง แก้มได้เกือบทั้งหวี โดยเอาไปเก็บไว้ที่แก้มก่อนแล้วจะนำออกมา เคี้ยวและกลืนเข้าไปภายหลัง ด้วยพฤติกรรมการนำเอากล้วยหรือ อาหารมาสะสมไว้ที่กระพุ้งแก้มก่อนการกลืนนี้ จึงเป็นพฤติกรรม ตัวอย่างที่จะนำมาใช้ในการระบายน้ำท่วมออกจากพื้นที่น้ำท่วมขัง บริเวณทิศตะวันออกและตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา...”
|