ผลต่างระหว่างรุ่นของ "หน้าหลัก"

จาก WIKI84
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัดที่ 5: บรรทัดที่ 5:
{| style="width:100%; margin-top:50"
{| style="width:100%; margin-top:50"
|-
|-
| valign="top"|{{พระราชกรณียกิจ2}}  
| valign="top"|{{พระราชกรณียกิจ2}}<br />{{รางวัลผู้นำโลกด้านทรัพย์สินทางปัญญา}}
| width="10" |
| width="10" |
| valign="top" |{{พระราชพิธีตามเดือน2}}<br />{{แนวพระราชดำริ}}
| valign="top" |{{พระราชพิธีตามเดือน2}}<br />{{แนวพระราชดำริ}}

รุ่นแก้ไขเมื่อ 09:55, 6 กุมภาพันธ์ 2552

พระราชประวัติ
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชสมภพ ณ โรงพยาบาลเมาท์ออเบอร์น (Mount Auburn) เมืองเคมบริดจ์ (Cambridge) รัฐแมสซาชูเซตส์ (Massachusetts) สหรัฐอเมริกา เมื่อวันจันทร์ เดือนอ้าย ขึ้น ๑๒ ค่ำ ปีเถาะ นพศก จุลศักราช ๑๒๘๙ ตรงกับวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๔๗๐ ทรงเป็นพระโอรสองค์ที่ ๓ ในสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก และสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี มีพระนามเดิมว่า พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภูมิพลอดุลเดช
ในหลวงกับพระบรมราชมารดา พระเชษฐภคินีและพระเชษฐา
ในหลวงกับพระบรมราชมารดา พระเชษฐภคินีและพระเชษฐา
พระเชษฐภคินีและสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช คือ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ประสูติเมื่อวันอาทิตย์ที่ ๖ พฤษภาคม ๒๔๖๖ ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ และพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันอาทิตย์ที่ ๒๐ กันยายน ๒๔๖๘ ณ เมืองไฮเดลเบอร์ก ประเทศเยอรมนี
อ่านต่อ...


พระราชกรณียกิจ
ในหลวงกับพระราชกรณียกิจ
ในหลวงกับพระราชกรณียกิจ
จากพระปฐมบรมราชโองการ "เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม" จนถึงปัจจุบัน เป็นเวลากว่า ๖๐ ปี ที่แสดงให้เห็นถึงพระราชปณิธานที่ทรงมุ่งมั่นจะสร้างความสุข บรรเทาความทุกข์ให้กับประชาชนบนแผ่นดินไทย โดยจะเห็นได้จากการที่เสด็จฯ ไปทรงเยี่ยมราษฎรที่อาศัยพระบรมโพธิสมภารไปทั่วผืนแผ่นดินไทย ทรงทราบถึงชีวิตความเป็นอยู่ของราษฎรในแต่ละภูมิภาค และปัญหาที่พวกเขาเหล่านั้นได้รับ จึงได้พระราชทานพระราชดำริให้หน่วยงานต่างๆ ได้เข้าไปดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาเหล่านั้นได้อย่างทันท่วงที และมีประสิทธิภาพโดยจะเห็นได้จากโครงการตามพระราชดำริ และโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริที่ได้กระจายอยู่ทั่วผืนแผ่นดินไทย กว่า ๓,๐๐๐ โครงการ
ข้อมูลพระราชกรณียกิจ...


ดร.ฟรานซิส เกอร์รี่ ผู้อำนวยการใหญ่องค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก (ไวโป) ซึ่งสำนักงานอยู่ที่นครเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ทูลเกล้าฯ ถวายรางวัลผู้นำโลกด้านทรัพย์สินทางปัญญา (Wipo Global Leaders Award) แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในฐานะที่ทรงมีพระราชกรณียกิจเป็นที่ประจักษ์ ในการส่งเสริมทรัพย์สินทางปัญญาเพื่อการพัฒนาประเทศไทย เมื่อวันที่ 14 มกราคม 2552

พระราชพิธี
พฤศจิกายน
  • พระราชพิธีเปลี่ยนเครื่องทรงฤดูฝนเป็นฤดูหนาว ถวายพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร
  • พระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลคล้ายวันสวรรคต พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว วันที่ ๒๕ พฤศจิกายน

ทฤษฎีใหม่ หรือเกษตรทฤษฎีใหม่ คือหลักการจัดการ เกษตรที่คิดค้นขึ้นเพื่อเป็นทางเลือกสำหรับเกษตรกรได้พึ่งพาตนเองอย่างเข้มแข็ง มี ๓ ระดับได้แก่ ขั้นต้น ครอบครัวเกษตรรายย่อยจัดสรรที่ดินและน้ำเพื่อเพาะ ปลูกเลี้ยงชีพได้พอเพียง ขั้นกลาง รวมเป็นกลุ่มหรือสหกรณ์ ร่วมเพิ่มผลผลิตและจำหน่วยอย่างมีพลังต่อรอง ขั้นก้าวหน้า สร้างเครือข่ายนอกชุมชนเพื่อหา แหล่งทุน >>>

เศรษฐกิจพอเพียง (sufficiency economy) เป็นแนวคิดที่แสดงถึงวิถีการดำเนินชีวิตและการปฏิบัติตนตั้งแต่ระดับบุคคล ชุมชน และประเทศชาติ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานแก่ชาวไทย และเป็นส่วนสำคัญในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๙ (พ.ศ.๒๕๔๕-๒๕๔๙) และฉบับที่ ๑๐ (พ.ศ.๒๕๕๐-๒๕๕๔) >>>


เอกสารแนะนำ

พระบรมราโชวาท

1. ความเพียร

การสร้างสรรค์ตนเอง การสร้างบ้านเมืองก็ตาม มิใช่ว่าสร้างในวันเดียว ต้องใช้เวลา ต้องใช้ความเพียร ต้องใช้ความอดทน เสียสละ แต่สำคัญที่สุดคือความอดทนคือไม่ย่อท้อ ไม่ย่อท้อในสิ่งที่ดีงาม สิ่งที่ดีงามนั้นทำมันน่าเบื่อ บางทีเหมือนว่าไม่ได้ผล ไม่ดัง คือดูมันควรทำดีนี่ แต่ขอรับรองว่าการทำให้ดีควรต้องมีความอดทน เวลาข้างหน้าจะเห็นผลแน่นอนในความอดทนของตนเอง

พระบรมราโชวาท พระราชทานแก่นักเรียน นักศึกษา ครู และอาจารย์ในโอกาสเข้าเฝ้าฯวันที่27 ตุลาคม 2516

2. ความพอดี

ในการสร้างตัวสร้างฐานะนั้นจะต้องถือหลักค่อยเป็นค่อยไป ด้วยความรอบคอบ ระมัดระวังและความพอเหมาะพอดี ไม่ทำเกินฐานะและกำลัง หรือทำด้วยความเร่งรีบ เมื่อมีพื้นฐานแน่นหนารองรับพร้อมแล้ว จึงค่อยสร้างค่อยเสริมความเจริญก้าวหน้าในระดับสูงขึ้น ตามต่อกันไปเป็นลำดับผลที่เกิดขึ้นจึงจะแน่นอน มีหลักเกณฑ์ เป็นประโยชน์แท้และยั่งยืน

พระบรมราโชวาท ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยขอนแก่น วันที่ 18 ธันวาคม 2540
แก้มลิง
ภาพร่างฝีพระหัตถ์โครงการแก้มลิง
ภาพร่างฝีพระหัตถ์โครงการแก้มลิง
“...ลิงโดยทั่วไป ถ้าเราส่งกล้วยให้ ลิงก็จะรีบปลอกเปลือกแล้วเอา เข้าปากเคี้ยวๆ แล้วเอาไปเก็บที่แก้ม จะกินกล้วยเข้าไปไว้ที่กระพุ้ง แก้มได้เกือบทั้งหวี โดยเอาไปเก็บไว้ที่แก้มก่อนแล้วจะนำออกมา เคี้ยวและกลืนเข้าไปภายหลัง ด้วยพฤติกรรมการนำเอากล้วยหรือ อาหารมาสะสมไว้ที่กระพุ้งแก้มก่อนการกลืนนี้ จึงเป็นพฤติกรรม ตัวอย่างที่จะนำมาใช้ในการระบายน้ำท่วมออกจากพื้นที่น้ำท่วมขัง บริเวณทิศตะวันออกและตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา...”