หน้าหลัก3

จาก WIKI84
พระราชประวัติ
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชสมภพ ณ โรงพยาบาลเมาท์ออเบอร์น (Mount Auburn) เมืองเคมบริดจ์ (Cambridge) รัฐแมสซาชูเซตส์ (Massachusetts) สหรัฐอเมริกา เมื่อวันจันทร์ เดือนอ้าย ขึ้น ๑๒ ค่ำ ปีเถาะ นพศก จุลศักราช ๑๒๘๙ ตรงกับวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๔๗๐ ทรงเป็นพระโอรสองค์ที่ ๓ ในสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก และสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี มีพระนามเดิมว่า พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภูมิพลอดุลเดช
ในหลวงกับพระบรมราชมารดา พระเชษฐภคินีและพระเชษฐา
ในหลวงกับพระบรมราชมารดา พระเชษฐภคินีและพระเชษฐา
พระเชษฐภคินีและสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช คือ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ประสูติเมื่อวันอาทิตย์ที่ ๖ พฤษภาคม ๒๔๖๖ ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ และพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันอาทิตย์ที่ ๒๐ กันยายน ๒๔๖๘ ณ เมืองไฮเดลเบอร์ก ประเทศเยอรมนี
อ่านต่อ...


พระราชกรณียกิจ
ในหลวงกับพระราชกรณียกิจ
ในหลวงกับพระราชกรณียกิจ
จากพระปฐมบรมราชโองการ "เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม" จนถึงปัจจุบัน เป็นเวลากว่า ๖๐ ปี ที่แสดงให้เห็นถึงพระราชปณิธานที่ทรงมุ่งมั่นจะสร้างความสุข บรรเทาความทุกข์ให้กับประชาชนบนแผ่นดินไทย โดยจะเห็นได้จากการที่เสด็จฯ ไปทรงเยี่ยมราษฎรที่อาศัยพระบรมโพธิสมภารไปทั่วผืนแผ่นดินไทย ทรงทราบถึงชีวิตความเป็นอยู่ของราษฎรในแต่ละภูมิภาค และปัญหาที่พวกเขาเหล่านั้นได้รับ จึงได้พระราชทานพระราชดำริให้หน่วยงานต่างๆ ได้เข้าไปดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาเหล่านั้นได้อย่างทันท่วงที และมีประสิทธิภาพโดยจะเห็นได้จากโครงการตามพระราชดำริ และโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริที่ได้กระจายอยู่ทั่วผืนแผ่นดินไทย กว่า ๓,๐๐๐ โครงการ
ข้อมูลพระราชกรณียกิจ...
พระราชพิธี
พฤศจิกายน
  • พระราชพิธีเปลี่ยนเครื่องทรงฤดูฝนเป็นฤดูหนาว ถวายพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร
  • พระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลคล้ายวันสวรรคต พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว วันที่ ๒๕ พฤศจิกายน

ทฤษฎีใหม่ หรือเกษตรทฤษฎีใหม่ คือหลักการจัดการ เกษตรที่คิดค้นขึ้นเพื่อเป็นทางเลือกสำหรับเกษตรกรได้พึ่งพาตนเองอย่างเข้มแข็ง มี ๓ ระดับได้แก่ ขั้นต้น ครอบครัวเกษตรรายย่อยจัดสรรที่ดินและน้ำเพื่อเพาะ ปลูกเลี้ยงชีพได้พอเพียง ขั้นกลาง รวมเป็นกลุ่มหรือสหกรณ์ ร่วมเพิ่มผลผลิตและจำหน่วยอย่างมีพลังต่อรอง ขั้นก้าวหน้า สร้างเครือข่ายนอกชุมชนเพื่อหา แหล่งทุน >>>

เศรษฐกิจพอเพียง (sufficiency economy) เป็นแนวคิดที่แสดงถึงวิถีการดำเนินชีวิตและการปฏิบัติตนตั้งแต่ระดับบุคคล ชุมชน และประเทศชาติ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานแก่ชาวไทย และเป็นส่วนสำคัญในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๙ (พ.ศ.๒๕๔๕-๒๕๔๙) และฉบับที่ ๑๐ (พ.ศ.๒๕๕๐-๒๕๕๔) >>>


โครงการพระราชดำริ
ศูนย์ศึกษาการพัฒนาต่างๆ